ชื่อเรื่อง การพัฒนาแผนการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน
สะกดคำไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นางสาวปทิตตา แดงนกขุ้ม
ปีการศึกษา 2558
สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านสระห้วยยางอุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ
เขต 2
บทคัดย่อ
ภาษาไทยนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนไทย การที่ผู้เรียนจะเรียนภาษาไทยให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องฝึกฝนทักษะต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน
ทักษะด้านการเขียนถือเป็นหัวใจสำคัญยิ่งในการรับรู้ข่าวสารต่างๆ การศึกษาค้นคว้า ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80 / 80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5/1 โรงเรียนบ้านสระห้วยยางอุปถัมภ์ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชัยภูมิ เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า มี 3 ประเภท คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 14 แผน แต่ละแผนใช้เวลา 1 ชั่วโมง รวม 14 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ใช้ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้
1.ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 86.18 /84.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ 80 /80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ เทคนิคTGT ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.6502 ซึ่งหมายถึงนักเรียน มีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 65.02
3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา ระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก
โดยสรุปแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นั้นทำให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานร่วมกันมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง ช่วยทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป