ผลงานที่ ๕. ชื่อผลงาน/ชื่อเรื่อง บุคลากรต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
ปีการศึกษา ๒๕๔๔
(เอกสารอ้างอิง หน้า )
หน่วยงานที่ให้รางวัล สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
ปี พ.ศ. ที่ได้รับรางวัล ๒๕๔๔
ลักษณะการจัดทำ  จัดทำแต่ผู้เดียว
จัดทำร่วมกับผู้อื่นในรูปคณะทำงานหรือกลุ่ม
ปริมาณที่มีส่วนร่วมคิดเป็นร้อยละ
ในปีการศึกษา ๒๕๔๒ ข้าพเจ้าย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวังทอง(เดิมชื่อ)โรงเรียนบ้านวังทอง เป็นโรงเรียนประถมศึกษาประจำตำบลวังทอง มีข้าราชการครู ๓๗ คน นักเรียน ๗๒๓ คน นักการภารโรง ๒ คน การดำเนินงานด้านการบริหารการศึกษา พบว่า ข้าราชการครูส่วนใหญ่ยังขาดการพัฒนาตนเอง ขาดขวัญกำลังใจที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เกิดประโยชน์แก่ศิษย์ ครูส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง ข้าพเจ้าในฐานะผู้บังคับบัญชา ได้ตั้งปณิธานว่าจะพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง อยู่เสมอ มีการใส่ใจศึกษา ค้นคว้า คิดริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ต่อวิชาชีพอยู่เสมอ ตลอดจนการวางแผนในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และนำแผนไปปฏิบัติร่วมกัน มีการตรวจสอบนิเทศ ติดตามการทำงาน และนำผลการตรวจสอบมาแก้ไขปรับปรุงให้งานดีขึ้น ผลจากการปฏิบัติตนตามแนวทางที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับคัดเลือกให้เป็น บุคลากรต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ประเภทผู้บริหารสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๔ จากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
๔.๑ สภาพปัญหา แนวคิด หรือแรงจูงใจในการจัดทำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์
ตามที่ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ ส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเร่งรัดให้มีการปฏิรูปการศึกษา ๕ ด้านด้วยกัน กล่าวคือปฏิรูประบบบริหารจัดการ ปฏิรูปการจัดการเรียนรู้ การปฏิรูปหลักสูตร การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา และปฏิรูปงบประมาณและทรัพยากร ซึ่งมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพสูงสุด สามารถพัฒนาคนไทยให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ เป็นคนดี คนเก่ง มีความรู้ ความสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งปัจจุบันการจัดการศึกษาในโรงเรียนของประเทศไทยมีคุณภาพไม่ทัดเทียมกัน ทำให้นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนขาดความเชื่อมั่น และศรัทธาในโรงเรียนชนบทที่อยู่ใกล้บ้าน จึงนิยมนำบุตรหลานไปเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงที่อยู่ในเมือง เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ข้าพเจ้าได้ให้ความสำคัญกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งในทางปฏิบัติเชื่อกันว่าผู้เรียน จะได้ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพทั้งทางร่างกาย และจิตใจ มีสมรรถนะในการสร้างสังคมให้เข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ โรงเรียนจึงมุ่งเน้นจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐานทางการศึกษาของชาติและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นเป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน มุ่งพัฒนาโรงเรียนทุกด้าน ทั้งด้านวิชาการ กระบวนการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และการนำเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ และการบริหารจัดการ โดยมุ่งหวังให้เด็กไทยเป็นคนดีมีคุณภาพมีอนาคตที่สดใสสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีระบบบริหารจัดการที่ดี คล่องตัวมีประสิทธิภาพส่งผลให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพ มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม มีการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ความสามารถ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีทักษะการดำรงชีวิตได้ตามศักยภาพ สร้างเสริมศักยภาพบุคลากรทุกระดับให้มีทักษะวิชาชีพ สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา เพิ่มสมรรถนะของโรงเรียนในการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ และการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน รวมทั้งการระดมสรรพกำลังสร้างระบบเครือข่ายอุปถัมภ์การศึกษาที่เข้มแข็ง อันเกิดจากพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กร ประชาสังคม ในรูปแบบของผู้อุปถัมภ์และผู้ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมพัฒนา
ข้าพเจ้า นายชาญ เพ็งภักดี เริ่มรับราชการครู มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ จนถึงปัจจุบัน รวมอายุราชการ ๓๗ ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวังทอง มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้บริหารโรงเรียนที่ดี พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนได้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมพัฒนา ร่วมสนับสนุนและร่วมรับผิดชอบ จากการได้ร่วมเป็นคณะทำงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับต่างๆ พบว่า การทำงานร่วมกับบุคคลในโรงเรียนในฐานะผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีหน้าที่ในการให้คำแนะนำ ตักเตือน ควบคุม กำกับ ดูแล บุคลากรในโรงเรียน ให้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้ผลดี โดย โรงเรียนชุมชนวังทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลวังทอง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบ้านดุง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เป็นโรงเรียนประจำตำบลวังทอง แต่ครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ยังไม่ยึดเด็กเป็นสำคัญ ชุมชนยังไม่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน นอกจากนี้จากการสำรวจ พบว่า ผู้ปกครองที่มีฐานะดี จะนิยมส่งบุตรหลานของตนเอง ไปเข้าเรียนที่โรงเรียนในอำเภอเป็นส่วนใหญ่ ทำให้การบริหารงานการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่ฐานะไม่ดี ขาดความพร้อม ครอบครัวแตกแยก และมีรายได้ต่ำ การพัฒนาเป็นไปค่อนข้างลำบาก
จากสภาพดังกล่าวข้างต้น ในฐานะผู้บริหารโรงเรียน จึงมีแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่เป็นที่ยอมรับ นับถือจากผู้ร่วมงาน และบุคคลทั่วไป ในด้านการบริหารจัดการปฏิรูปการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงานแก่ครูในสังกัด และบุคคลทั่วไป จึงได้กำหนดวิธีการที่จะนำมาใช้ในการกำหนดทิศทาง การพัฒนาตนเองและบุคลากรด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีรวมทั้งกำหนดแนวทางในการปฏิบัติตนด้วยความมุ่งมั่นและบริหารงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐาน ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้เรียนดีขึ้น
๑.๒ วิธีดำเนินการจัดทำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์
ในการรายงานการดำเนินงานบริหารโรงเรียน จนสามารถเป็นบุคลากรต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน ซึ่งผู้รายงาน ได้มีวิธีดำเนินการจัดพัฒนาผลงานการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ได้กำหนดเป้าหมายของงาน และวางแผนร่วมกับคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง นักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม (Participation) ในทุกขั้นตอน ในการดำเนินโครงการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบประเมินผล และร่วมปรับปรุงพัฒนา ตลอดจนร่วมรับผลที่เกิดขึ้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ระยะเวลา เดือนตุลาคม ๒๕๔๒ ถึงเดือนตุลาคม ๒๕๔๔ ซึ่งข้าพเจ้าได้ใช้หลักการ แนวคิดและทฤษฎี ในการบริหารงาน เพื่อไปสู่ความสำเร็จ ตามวงจรการพัฒนาของเดมิ่ง (Demings Cycle) ได้ดังภาพประกอบ ๑๐
ภาพประกอบ ๑๐ แสดงรูปแบบการบริหารจัดการ การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
จากแผนภูมิ ๑๐ ผู้รายงานได้ใช้หลักการ แนวคิดและทฤษฎี ในการบริหารงานเพื่อไปสู่
ความสำเร็จ ตามวงจรการพัฒนาของเดมิ่ง (Demings Cycle) ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ ขั้นวางแผน (Plan : P)
ในการดำเนินการพัฒนาการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โรงเรียนชุมชนวังทอง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโรงเรียนตามกรอบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ที่จะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน การจัดการเรียนรู้ของครู บริบทโรงเรียน และระบบบริหารจัดการของโรงเรียน รวมไปถึงผลกระทบ เชิงบวก ที่ผู้เกี่ยวข้องจะได้รับ ซึ่งมีวิธีดำเนินงาน ดังนี้
๑.๑ ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ของโรงเรียน เป็นการเตรียมการวางแผนเพื่อร่วมกับคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง นักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง แต่งตั้งคณะกรรมการสำรวจปัญหาของนักเรียน ปัญหาของโรงเรียน โดยออกแบบสอบถามครู ผู้เรียน และผู้ปกครอง คณะกรรมการศึกษา โดยอาศัยแนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา
๑.๒ สำรวจความต้องการ และกำหนดขอบข่ายกิจกรรมในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดความชัดเจนและสะดวกในการปฏิบัติ สำรวจสภาพข้อมูลที่เป็นอยู่ โดยใช้วิธีการสอบถาม สังเกต ตรวจสอบเอกสาร โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑.๓ นำผลการสำรวจมาจัดทำโครงการ โดยให้ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วม โดยประชุมบุคลากรของโรงเรียน สอบถามสภาพการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรคของการดำเนินงานที่ผ่านมา
๑.๔ สร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการระหว่างผู้บริหาร บุคลากรในโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงานการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และนำคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง นักเรียน ไปศึกษาดูงานโรงเรียนที่จัดกระบวนการเรียนรู้ ได้ประสบผลสำเร็จ เพื่อนำมาวางแผน กำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนา
๑.๕ ระดมทรัพยากรทุกประเภท ทั้งด้านบุคลากร เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคลากรในโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง เงิน วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อพัฒนาการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
๑.๖ สร้างและพัฒนาเครื่องมือสำหรับการดำเนินงานบริหารจัดการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
๑.๗ ประชาสัมพันธ์การบริหารโครงการ โดยการประชุมคณะครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้เกี่ยวข้องให้มีความเข้าใจตรงกัน จัดทำแผ่นพับเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ทำหนังสือแจ้ง และประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวของโรงเรียน ทางหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน จัดนิทรรศการแสดงผลงาน
๑.๘ กำหนดผู้รับผิดชอบและคณะทำงาน ในแต่ละประเด็นที่จะพัฒนาการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
๒. ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นลงมือปฏิบัติงาน (Do : D)
หลังจากได้มีการวางแผนร่วมกันแล้ว ได้นำแนวคิดมาปรับประยุกต์ใช้เพื่อการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคน คือ
๒.๑ จัดกิจกรรมพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อมของครู การมีส่วนร่วมของครูในการจัดทำหลักสูตร การวางแผนการดำเนินการใช้หลักสูตร การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร
๒.๒ กิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างเข้มข้น โดยเน้นกิจกรรม ดังนี้
๒.๒.๑ จัดการเรียนรู้ ให้เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเน้นการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะพื้นฐานของนักเรียนทุกคน
๒.๒.๒ จัดการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงและเน้นการคิดวิเคราะห์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-based learning) หรือ การเรียนโดยการแก้ปัญหา ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนรู้
๒.๒.๓ การส่งเสริมนักเรียน ให้มีการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ โดยเน้นกระบวนการหรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่เชื่อมโยงกับการให้บริการหรือการพัฒนาชุมชน เพื่อสร้างจิตสาธารณะ การเป็นสมาชิกของชุมชนที่มีคุณภาพ นำไปสู่การรักและพัฒนาถิ่นฐานของตน
๒.๒.๔ ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างนักเรียน และบุคลากรในสังกัด การพัฒนาทีมงานด้านการสอนของครู ประกอบด้วย การสร้างวินัย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในทีมงาน การกำหนดปัญหาและเป้าหมายการแก้ปัญหาร่วมกัน การวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหาของทีมงาน การสร้างแรงจูงใจ การเสริมแรงและสร้างขวัญกำลังใจ และการพัฒนาครูให้มีศักยภาพในการแสวงหาความรู้และประสบการณ์ ส่งผลสู่การพัฒนานักเรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ ให้ผู้เรียนมีความเป็นพลเมืองดี และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม มีโครงการหรือกิจกรรมที่โรงเรียนส่วนใหญ่จัดทำเพื่อเป้าหมายความสำเร็จ
๒.๓ พัฒนาปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ การพัฒนา จัดหาสื่อวัสดุ อุปกรณ์ และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ อาคารสถานที่สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย มีสีสันสวยงาม น่าอยู่น่าเรียน
๒.๔ บริหารจัดการครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้บริหารโรงเรียนการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายภาพความสำเร็จ ที่กำหนด ดังนี้
๒.๔.๑ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้บริหารโรงเรียน ด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ มีความมุ่งมั่นและศักยภาพอย่างสูง ในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย การสำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครู การพัฒนาครูด้านความรู้ในเนื้อหากลุ่มสาระต่าง ๆ การพัฒนาครูด้านเทคนิควิธีการสอนวิชาและกิจกรรมสัมมนาผลการพัฒนาวิชาชีพครู
๒.๔.๒ การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ครูต้องได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพตรงกับวิชาที่สอนอย่างน้อย 5 กลุ่มสาระวิชาหลัก และมีความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อการ (ICT) มาใช้ในการเรียนการสอน
๒.๔.๓ พัฒนาครู และบรรจุ แต่งตั้ง ข้าราชการครูคนใหม่
๒.๕ จัดเครือข่ายกับโรงเรียนอื่นๆ เพื่อความร่วมมือ และช่วยเหลือกันทางวิชาการเพื่อทำให้เกิดระบบการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้ได้มากที่สุด โดย
๒.๕.๑ บริการวิชาการสำหรับนักเรียนและครูจากโรงเรียนใกล้เคียง ตลอดจนโรงเรียนอื่นๆ ได้นำนักเรียนมาจัดกิจกรรมร่วมกัน ความร่วมมือกันในการพัฒนาครูและ วางแผนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียน เป็นต้น
๒.๕.๒ มีเครือข่ายความร่วมมือกับโรงเรียนอื่น เพื่อการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
๒.๖ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ในรูปแบบต่างๆ เพื่อระดมสรรพกำลัง เช่น การทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการสนับสนุนดูแลนักเรียน และการส่งเสริมความร่วมมือของเครือข่ายผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรภาครัฐ และเอกชน เช่น สถานประกอบการ มูลนิธิอื่น ๆ เป็นต้น
๒.๗ ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้เห็นถึงความก้าวหน้าของการพัฒนาสู่โรงเรียนปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดย
๒.๗.๑ โรงเรียนประเมินตนเอง
๒.๗.๒ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งสามารถดำเนินการได้คือ การกำหนดปัญหา การตั้งสมมติฐานการวิจัย การกำหนดวิธีวิจัย การศึกษา วิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปและเขียนรายงาน
๒.๗.๓ โรงเรียนกำหนดแผนปฏิบัติการรายปี และแผนพัฒนาระยะเวลา ๔ ปี เพื่อพัฒนาตนเองให้บรรลุเป้าหมายภาพความสำเร็จของการเป็นโรงเรียนดีศรีตำบล
๒.๗.๔ โรงเรียนรายงานผลการปฏิบัติต่อคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประจำทุกสิ้นปีการศึกษา
๓. การตรวจสอบและประเมินผล (Check : C) ในการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ได้มีการดำเนินการเป็น ๓ ระยะ ดังนี้
๓.๑ การตรวจสอบและประเมินผลระยะก่อนดำเนินการ ได้ตรวจสอบสภาพความเป็นไปได้ของการดำเนินงาน ความพร้อมของทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการ ว่ามีความพร้อมเพียงใด และยังขาดอะไรบ้าง ถ้าขาดความพร้อมจะได้ดำเนินการหาให้ครบพร้อมที่จะดำเนินการตามโครงการต่อไป
๓.๒ การตรวจสอบและประเมินผลระยะระหว่างดำเนินการ ได้ตรวจสอบ และติดตาม การดำเนินงานของแต่ละกิจกรรมที่ระบุไว้ในโครงการ และการใช้งบประมาณเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่กำหนด
๓.๓ การตรวจสอบและประเมินผล สิ้นสุดการดำเนินงานได้ตรวจสอบความสำเร็จ โดยภาพรวมของแต่ละกิจกรรม ว่าสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร
๔. การปรับปรุงแก้ไข (Act : A) เป็นขั้นตอนที่นำผลการดำเนินงานมาสรุปร่วมกันกับคณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง นักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อดี ข้อที่ควรพัฒนาของโครงการ แล้วนำผลการดำเนินงานมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น โดยมีขั้นตอน ดังนี้
๔.๑ นำผลที่ได้จากการตรวจสอบมาสรุปหาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา ในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยการประชุมคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน
๔.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการคัดกรองเรื่องที่เป็นปัญหา ตรงไหนที่เป็นจุดที่ควรพัฒนา ที่ควรแก้ไขปรับปรุง และตรงไหนเป็นจุดเด่น ที่ควรพัฒนาของการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ เพื่อหาทางแก้ไข และพัฒนาต่อไป
๔.๓ กำหนดกิจกรรมการพัฒนาตามข้อ ๔.๒ เพื่อวางแผนการพัฒนาต่อไป
การดำเนินการบริหารจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ตามขั้นตอนการดำเนินการทั้ง ๔ ขั้นตอน จนประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ คือได้รับการพิจารณาให้เป็นบุคลากรต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๔ ได้ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๔๔ จนถึงปัจจุบัน มีวิธีการดำเนินการจัดทำตามลำดับ โดยการประชุม คณะครู สร้างความตระหนักในความสำคัญของการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ได้วางเป้าหมายเพื่อการพัฒนาต่อยอดที่ยั่งยืน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ มอบหมายหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม เช่น กิจกรรมพัฒนาห้องปฏิบัติการพิเศษ กิจกรรมพัฒนาห้องสมุด กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามแนวทางและหลักเกณฑ์การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาครูให้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่ยั่งยืน ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ โดยมีการตรวจสอบ ติดตามประเมินผลทุกปีตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
๑.๓ ผลที่เกิดจากการนำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ไปใช้
จากการที่ข้าพเจ้าได้ประสบผลสำเร็จ ได้มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ เป็นบุคลากร
ต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้แล้ว ได้นำผลดังกล่าว ไปใช้จนเกิดผลต่อนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา ชุมชน ดังต่อไปนี้
๑.๓.๑ ผลที่เกิดแก่นักเรียน
๑) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
จนทำให้มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น ได้รับรางวัล ด้านคุณธรรม จริยธรรม ในการตอบปัญหาธรรมทางก้าวหน้าของชมรมพุทธศาสตร์สากล ระดับประเทศ หลายรายการ
๒) ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไป ตามเกณฑ์มาตรฐาน ผู้เรียนมีความร่าเริงแจ่มใส รักษาความสะอาดร่างกาย เครื่องแต่งกาย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษจากสิ่งเสพติด และสิ่งมอมเมา ไม่เสพสิ่งเสพติด ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด เป็นสมาชิกชมรม To be Number One
๓) ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและมีลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา ตามเกณฑ์ในมาตรฐานที่ ๒ ส่งผลให้ผู้เรียนได้ตั้งชมรมนาฏศิลป์พื้นบ้าน ทั้งระดับประถมและมัธยม มีนักเรียนเป็นกรรมการบริหารชมรม มีผู้เรียนเข้าร่วมทุกคน มีการรำนาฏศิลป์พื้นบ้านและการแสดงนาฏลีลา ตำนานคำชะโนด แสดงในพิธีเปิดกีฬานักเรียนของโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน ทุกปีการศึกษา นำนักเรียนไปแสดงในงานของชุมชน เช่น การประกวดหมู่บ้าน การแห่ผ้าป่า กฐินสามัคคี รำบวงสรวงเจ้าปู่ศรีสุทโธ รำบายศรี รำเชิญขวัญ งานมงคลสมรส และนักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อยู่หลายรายการ
๔) นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะ จนได้รับรางวัลในระดับต่าง ๆ ดังนี้
๔.๑ ระดับประเทศ และระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือนักกีฬา ๓๐ คน ได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา สพฐ. ร่วมกับ เอพี ฮอนด้า วิ่ง ๓๑ ขา ได้ลำดับที่ ๑๑ ระดับประเทศนักกีฬา ๗ คน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ กีฬาไทย (ตะกร้อลอดห่วงชาย) รุ่นอายุไม่เกิน ๑๒ ปี ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,และรองชนะเลิศอันดับ ๒ ระดับประเทศ ถึง ๓ ปีซ้อน, ได้รับรางวัลเหรียญทองการพูดภาษาจีน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑๓ และรางวัลเหรียญทองการพูดภาษาญี่ปุ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๔.๒ รางวัลระดับจังหวัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดังต่อไปนี้
๔.๒.๑ รางวัลจากการแข่งขันกีฬานักเรียน ได้แก่ นักกีฬา ๓๐ คน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การแข่งขันกีฬา สพฐ. ร่วมกับ เอพี ฮอนด้า วิ่ง ๓๑ ขา นักกีฬา ๗ คน ได้รับรางวัลชนะเลิศ กีฬาไทย (ตะกร้อลอดห่วงชาย) รุ่นอายุไม่เกิน ๑๒ ปี ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และรองชนะเลิศอันดับ ระดับจังหวัด (สพม.๒๐) ถึง ๓ ปีซ้อน, นักกีฬาโรงเรียนชุมชนวังทอง จำนวน ๑๘ คน ได้รับรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันกีฬาฟุตบอล ระดับประถมศึกษาหญิงและรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ฟุตบอลระดับมัธยมศึกษาตอนต้นชาย, นักกีฬา ๑๒ คน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศบาสเกตบอล ระดับมัธยมศึกษาหญิง และนักกีฬา ๑๒ คน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ บาสเกตบอล ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นชาย
๔.๒.๒ นักเรียนได้รับรางวัลงานมหกรรมวิชาการระดับเขตพื้นที่ ดังนี้
๑) ชนะเลิศเหรียญทองการพูดภาษาจีน, รางวัลชนะเลิศเหรียญทองการพูดภาษาญี่ปุ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓
๒) ได้รับรางวัลเหรียญทอง การแข่งขันนาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖
๓) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ เทคนิคการสร้างภาพยนตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓
๔) ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองการปั้นดินน้ำมัน ระดับชั้นปฐมวัย
๕) ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง การแข่งขันการพูดภาษาญี่ปุ่น ระดับชั้น ม. ๑ - ม.๓
๖) ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองการแข่งขันการพูดภาษาจีน ระดับชั้น ป.๔ - ป.๖
๗) ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง การแข่งขันการพูดภาษาจีน
ระดับชั้น ม.๑ - ม.๓
๘) ได้รับรางวัลเหรียญเงินการแข่งขันการพูดภาษาอังกฤษ
Impromptu Speech ระดับชั้น ป.๑ - ป.๓
๙) นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับ ๒ การ
แข่งขันการขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ประเภทหญิง ระดับชั้น ม.๑-ม.๓
๑๐) รางวัลเหรียญเงินการแข่งขันการขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์
ประเภทชาย ระดับชั้น ม.๑-ม.๓
๑๑) ได้รับรางวัลเหรียญเงินการแข่งขันการขับร้องเพลงสากล
ประเภทชาย ระดับชั้น ม.๑-ม.๓
๑๒) นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง การแข่งขันการขับร้องเพลง
ไทยสากล ประเภทหญิง ระดับชั้น ม.๑ม.๓
๑๓) นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง การแข่งขันการขับร้องเพลง
ไทยสากล ประเภทชาย ระดับชั้น ม.๑-ม.๓
๑๔) ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง การแข่งขันสร้างสรรค์ผลงาน
คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ม. ๑-๓
๑๕) ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง การแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ม.๑-๓
๑๖) นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทองแดง การแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ม.๑-๓
๑.๓.๒ ผลที่เกิดกับครูและบุคลากรทางการศึกษา
๑) ครูดีเด่นระดับประเทศและระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายรายการ คือ
๑.๑) นายชาญ เพ็งภักดี ได้รับรางวัลบุคลากรต้นแบบการปฏิรูปกระบวน การเรียนรู้ สาขาผู้บริหารสถานศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
๑.๒) ครู ๒ คน ได้รับรางวัลบุคลากรต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ สายงานการสอน จากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
๑.๓) นายชาญ เพ็งภักดี ได้รับรางวัลผู้จัดการทีมรองชนะเลิศ อันดับ ๒ กีฬาไทย (ตะกร้อลอดห่วงชาย) รุ่นอายุไม่เกิน ๑๒ ปี ระดับประเทศ
๑.๔) นายชาญ เพ็งภักดี พร้อมคณะครูในโรงเรียน รวม ๑๘ คน ได้รับรางวัลหนึ่งแสนครูดี ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษา
๑.๕) ครูในโรงเรียน จำนวน ๓ คน ได้รับการประเมินเป็น ครู Master Teacher
๑.๖) ครูในโรงเรียน จำนวน ๔ คนได้รับรางวัลครูผู้ฝึกสอนรองชนะเลิศ อันดับ ๒ กีฬาไทย ตะกร้อลอดห่วงชาย รุ่นอายุไม่เกิน ๑๒ ปี ระดับประเทศ
๑.๗) ครูในโรงเรียน ได้รับรางวัลครูสอนดีกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น
๑.๘) ครูในโรงเรียน ได้รับครูผู้ฝึกสอนนักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง การพูดภาษาจีน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑- ๓ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๑.๙) ครูในโรงเรียนได้รับรางวัลครูผู้ฝึกสอนนักเรียน จนได้รับรางวัลเหรียญทอง การพูดภาษา ญี่ปุ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๓ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๑.๑๐) ครูในโรงเรียน ๓ คน ได้รับรางวัลผู้ฝึกสอน นักกีฬา สพฐ. เอพี ฮอนด้า วิ่ง ๓๑ ขา รางวัลระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และระดับประเทศ
๒) ครูดีเด่นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓ จำนวนหลายรายการ ดังนี้
๒.๑) นายชาญ เพ็งภักดี ได้รับการคัดเลือกให้เป็น ผู้บริหารโรงเรียนดีเด่น และ ผู้บริหารโรงเรียนขนาดใหญ่ดีเด่น
๒.๒) นายชาญ เพ็งภักดี ได้รับคัดเลือกให้เป็น ผู้บริหารโรงเรียนขนาดใหญ่ดีเด่นของสำนักงานคณะกรรมการคุรุสภาอำเภอบ้านดุง
๒.๓) ครูได้รับการประเมินเป็น ครูกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ดีเด่น, ครูกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ ๓ ดีเด่น, ครูกลุ่มสาระศิลปศึกษาดีเด่น, ครูกลุ่มสาระภาษาไทยดีเด่น,ครูกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษาดีเด่น ครูได้รับรางวัล ครูเพชรเม็ดงาม, ครูดีเด่นกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์, ได้รับรางวัลครูผู้ฝึกสอนนักเรียน จนได้รับรางวัลชนะเลิศ การพูดภาษาจีน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๓, ได้รับรางวัลครูผู้ฝึกสอนนักเรียน จนได้รับรางวัลชนะเลิศ การพูดภาษาญี่ปุ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๑ ๓
๑.๓.๓) ผลที่เกิดกับโรงเรียน
๑) โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษารอบสาม (พ.ศ. ๒๕๕๔- ๒๕๕๘) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๕
๒) โรงเรียนได้รับการประเมินให้เป็น ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โครงการส่วนพระองค์ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา โรงเรียนชุมชนวังทอง จากพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
๓) โรงเรียนได้รับการประเมินให้เป็น สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหาร จัดการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปี ๒๕๕๖ สถานศึกษาพอเพียง ๒๕๕๖ จากกระทรวงศึกษาธิการ
๔) โรงเรียนได้รับการประเมินให้เป็น โรงเรียนดีศรีตำบล ระดับประเทศ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๕) โรงเรียนได้รับการประเมินให้เป็น โรงเรียนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ปี ๒๕๕๖ จากมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
๖) ได้รับการคัดเลือก ให้เป็น โรงเรียนต้นแบบ โครงการสานฝันยุวเกษตรกร ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ จาก สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
๗) ได้รับประกาศเกียรติคุณ ให้เป็น โรงเรียนที่มีผลการประเมิน O-NET ของ สำนักทดสอบทางการศึกษา สูง ๑๐ อันดับแรก ใน ๕ กลุ่มสาระหลัก ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓
๘) โรงเรียนได้รับการประเมินให้เป็น โรงเรียนวิถีพุทธ มาตรฐานทอง ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓
๑.๔ แนวคิด ในการพัฒนาต่อไป
ในการพัฒนาบุคลากรต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ให้มีความยั่งยืน และก้าวหน้าต่อไป ได้มีแนวคิดในการพัฒนา ดังต่อไปนี้
๑.๔.๑ ด้านบุคลากร
๑) จัดประชุม อบรม สัมมนา เปิดโอกาสให้มีการแสวงหาความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
๒) พัฒนาบุคลากรให้สามารถนำนวัตกรรม เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ มาใช้ในการพัฒนาการศึกษาอย่างเต็มที่
๑.๔.๒ ด้านการจัดการสภาพแวดล้อม
๑) พัฒนา ดูแล รักษา อาคารสถานที่และจัดการสภาพแวดล้อมสำหรับการเรียนรู้อย่างเหมาะสม สวยงาม
๒) พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ให้เอื้อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้
๑.๔.๓ ด้านความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก
๑) สร้างเครือข่ายในชุมชน ในกลุ่มโรงเรียน อำเภอ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนา ปรับปรุงในส่วนที่บกพร่อง ให้ดียิ่งขึ้น
๒) ประสานกับชุมชน ให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน อย่างเต็มที่ ทั้งในด้านแนวความคิด แรงงาน ทุนทรัพย์ ให้โรงเรียนมีความก้าวหน้า สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานของหน่วยงานภายนอก ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
รางวัลที่ 4
บุคคลต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
ปีการศึกษา 2544