ผลงานที่ 2. ชื่อผลงาน/ชื่อเรื่อง โรงเรียนบ้านวิทยาศาสตร์น้อย แห่งประเทศไทย
ปี ๒๕๕๖ (เอกสารอ้างอิงหมายเลข หน้า)
หน่วยงานที่พระราชทานรางวัล มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
ปี พ.ศ. ที่ได้รับรางวัล ๒๕๕๖
ลักษณะการจัดทำ  จัดทำแต่ผู้เดียว
จัดทำร่วมกับผู้อื่นในรูปคณะทำงานหรือกลุ่ม
ปริมาณที่มีส่วนร่วมคิดเป็นร้อยละ -
๑. สภาพปัญหา แนวคิด หรือแรงจูงใจในการจัดทำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จ
เป็นที่ประจักษ์
จากผลการประเมินของ PISA พบว่าเด็กไทยมีความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยและขาดนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร ที่จะขับเคลื่อนการพัฒนา ซึ่งปัญหานี้ ทั้งภาครัฐ เอกชน หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งครูและผู้ปกครองจำเป็นต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพราะการพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ทุกฝ่ายต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ปัญหา ซึ่งโครงการ บ้านนัก วิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย มีเป้าหมายให้โรงเรียนปฐมวัยได้สัมผัสกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันตลอดชีวิต กิจกรรมของโครงการ ได้แก่ การปรับปรุงการศึกษาระดับปฐมวัยและการสร้างบุคลากรในสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ให้เพียงพอในระยะยาว เด็กๆ ควรได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นต้นด้วยตนเองอย่างสนุกสนานและมีความสุข ซึ่งครูและผู้ดูแลเด็กส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ด้วยการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ เข้าด้วยกัน โครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ถือเป็นโครงการด้านการศึกษาในระดับปฐมวัยที่มุ่งเน้นการเรียนรู้และค้นคว้าร่วมกันของเด็กและครู รวมถึงกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง กิจกรรมของโครงการ ยังส่งเสริมความสามารถด้านภาษา สังคม และทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กในช่วงอายุ ๓-๖ ขวบ
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเป็นโครงการที่ส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ในระดับพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง สามารถปลูกฝังนิสัยรักวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีกิจกรรมเชื่อมโยงกับผู้ปกครอง ด้วยเหตุนี้มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ จึงได้ริเริ่มโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โดยร่วมมือกับบริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียน การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อร่วมกันสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ของเยาวชนไทย
ข้อมูลพื้นฐาน / สภาพปัญหา
โรงเรียนชุมชนวังทอง เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาในระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ มีนักเรียน จำนวน ๔๑๙ คน มีครู จำนวน ๒๓ คน โรงเรียน แห่งนี้ ชุมชนมีความภาคภูมิใจต่อผู้บริหารเป็นอย่างยิ่ง ผู้บริหารโรงเรียน ได้ให้ความสำคัญในการจัดการศึกษาเป็นอย่างดียิ่ง ดูได้จากรางวัลเด่นในปีการศึกษา ๒๕๕๖ มีทั้งหมด ๓ รางวัลเด่น ๆ ดังนี้ (๑) รางวัลสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสถานศึกษาพอเพียง ๒๕๕๖ (๒) ผลงาน โรงเรียนดีศรีตำบล จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ และ (๓) ผลงาน ตราพระราชทาน บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย รับจากมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯปีการศึกษา ๒๕๕๖ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า (๑) นักเรียนยังไม่เข้าใจในทักษะต่างๆด้านวิทยาศาสตร์ (๒) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ยังไม่เหมาะสมกับการสอนทักษะต่างๆด้านวิทยาศาสตร์ (๓).ด้านแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนยังขาดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเกี่ยวกับ ทักษะต่างๆด้านวิทยาศาสตร์ ดังนั้นผู้บริหารในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี จนมีแรงจูงใจดังต่อไปนี้
แรงจูงใจในการจัดทำผลงานดีเด่น
จากสภาพพื้นฐานของโรงเรียนและหมู่บ้าน ชาวบ้านแห่งนี้เป็นชุมชนที่ให้ความร่วมมือ กับโรงเรียนเป็นอย่างดีมาโดยตลอด ไม่ว่าโรงเรียนจะขอความอนุเคราะห์ด้านใดๆ ทั้งชาวบ้านและชุมชน ก็สนับสนุนส่งเสริมโรงเรียนด้วยดีมาตลอด นักเรียนเป็นเด็กที่มีพื้นฐานมาจากบ้านครอบครัวซึ่งทางผู้ปกครองเองก็ได้อบรมสั่งสอนลูกๆให้เป็นเด็กที่สนใจในการทดลอง การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ทุกปีการศึกษา โรงเรียนก็ได้จัดงานวันวิทยาศาสตร์ขึ้นภายในโรงเรียน และผู้บริหารโรงเรียนเอง ก็จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป จึงเล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ที่จะพัฒนาผู้เรียน ให้มีทักษะด้านการสังเกต การทดลอง มีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น จึงเป็นมูลเหตุหนึ่งในการสนใจด้านวิทยาศาสตร์ ประกอบกับทางมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ท่านได้ในสนพระทัย และส่งเสริมโดยการจัดประกวดผลงานนักเรียนเพื่อให้โรงเรียนที่ผ่านการประกวดได้รับ ตราพระราชทาน บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เพื่อให้นักเรียนมีความรู้อย่างยั่งยืนและสามารถพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์ได้ ซึ่งการพัฒนาต้องเริ่มตั้งแต่เด็ก เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ จึงสมัครเข้าร่วมโครงการ จนสามารถได้รับการประเมินให้ได้รับรางวัล โรงเรียนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
๒. วิธีดำเนินการจัดทำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์
เมื่อโรงเรียนชุมชนวังทอง ได้มีวิธีการจัดทำผลงานโรงเรียนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ได้กำหนดความคาดหวังการพัฒนา คือ โรงเรียนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โดยกำหนดคุณลักษณะหรือภาพลักษณ์ของโรงเรียนที่ต้องการ คือ
๒.๑ ภาพความสำเร็จ
๒.๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับสูง ไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ๕ กลุ่มสาระหลัก
๒.๒.๒ โรงเรียนร่วมมือกับชุมชน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียงและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็ง
๒.๒.๓ นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีความรู้และพัฒนาทักษะการทำงาน มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ระดับสูง
๒.๒.๔ นักเรียนมีความรู้ และทักษะพื้นฐานด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีทักษะได้รับการพัฒนาตามความสนใจหรือความถนัดของตนเองเป็นอย่างดี
๒.๒ กระบวนการดำเนินงาน โรงเรียนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
ในการดำเนินการของกิจกรรมครั้งนี้ ได้ดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน ซึ่งโรงเรียนชุมชนวังทอง ได้มีวิธีดำเนินการพัฒนาผลงานโรงเรียนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย กำหนดเป้าหมายของงาน วางแผนร่วมกับคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง นักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม (Participation) ในทุกขั้นตอน ในการดำเนินโครงการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบประเมินผล และร่วมปรับปรุงพัฒนา ตลอดจนร่วมรับผลที่เกิดขึ้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ระยะเวลา เดือนมกราคม ๒๕๕๔ ถึงเดือนมกราคม ๒๕๕๖ ซึ่งได้ใช้การพัฒนาสถานศึกษา บริหารงานโรงเรียนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โดยใช้ CHANOD Model เป็นรูปแบบแนวทางการบริหาร ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของ CHANOD Model จะดำเนินการ โดยใช้กระบวนการบริหารงานของเดมิ่ง Demings Cycle (PDCA) เป็นวงจรการพัฒนาในทุกขั้นตอนของ Model ดังภาพประกอบ ๓
ภาพประกอบ ๓ แสดงรูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนดีศรีตำบล โดยใช้รูปแบบ CHANOD Model
โรงเรียนชุมชนวังทอง
จากภาพประกอบ ๓ ผู้ขอรับการประเมิน ได้ใช้รูปแบบการบริหารงานโดยใช้ CHANOD Model เป็นนวัตกรรมในการพัฒนาโรงเรียนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย แล้วสอดแทรกกระบวนการบริหารงานของเดมิ่ง Demings Cycle (PDCA) เป็นวงจรการพัฒนาใน ทุกขั้นตอนของ Model ดังต่อไปนี้
๑. C : Create and Collaborate การให้ทุกคนร่วมมือกันพัฒนาโรงเรียน บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จัดการวางแผนให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเข้ามา ร่วมมือในการพัฒนาสถานศึกษา ประชุมวางแผนกัน ร่วมมือกันในการพัฒนา ประเมินผลการดำเนินงาน วิเคราะห์จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา ตลอดทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขต่อที่ประชุม จัดทำรายงานการประชุม รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อเสนอส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
๒. H : Human Resources ทรัพยากรบุคคล มีการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนด้านวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การนำเข้าไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและประชาชนในชุมชน ลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนด เช่น จัดการอบรมด้านทักษะการฝึกวิชาชีพ การสังเกต การทดลอง ความมีวินัย ความอดทน เป็นต้น
๒.๑ จัดระบบบริหารจัดการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้บริหารโรงเรียนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย อย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย ตามภาพของความสำเร็จที่กำหนด
๒.๒ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความมุ่งมั่นและศักยภาพอย่างสูง ในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย การสำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครู การพัฒนาครูด้านความรู้ในเนื้อหากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ การพัฒนาครูด้านเทคนิควิธีการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และกิจกรรมสัมมนาผลการพัฒนา เพื่อนำทักษะ กระบวนการไปบูรณาการในกลุ่มสาระอื่น ๆ ได้
๒.๓ โรงเรียนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย น่าจะมีครูจบวิชาเอกวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือโรงเรียนได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพตรงกับวิชาที่สอนอย่างน้อย ๕ กลุ่มสาระวิชาหลัก และมีความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อการ (ICT) มาใช้ในการเรียนการรู้
๒.๔ พัฒนาครู ก่อนบรรจุและแต่งตั้ง ข้าราชการครูหม่
มีการประเมินผลการดำเนินงานในทุกขั้นตอน สะท้อนผลการพัฒนาต่อที่ประชุม เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ไข และพัฒนาต่อไป รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓. A : Action and Executes ทุกคนร่วมลงมือปฏิบัติงาน มีการประชุมวางแผนกำหนดภาระงานให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ กำหนดกิจกรรมที่จะพัฒนาโรงเรียนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กำหนดบุคคลที่มีความสามารถด้านนั้น ๆ เข้าปฏิบัติงาน ตามลำดับกิจกรรม จัดเครือข่ายกับโรงเรียนอื่นๆ เพื่อความร่วมมือ และช่วยเหลือกันทางวิชาการเพื่อทำให้เกิดระบบการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้ได้มากที่สุด โดย
๓.๑ บริการวิชาการสำหรับนักเรียนและครูจากโรงเรียนใกล้เคียง ตลอดจนโรงเรียนอื่นๆ เช่น โรงเรียนบ้านม่วง โรงเรียนบ้านเหล่าหลวง โรงเรียนบ้านศรีเมือง โรงเรียนบ้าน ทรายมูล ได้นำนักเรียนมาจัดกิจกรรมร่วมกัน การจัดครูเคลื่อนที่ ให้ความร่วมมือกันในการพัฒนาครูและวางแผนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียน เป็นต้น
๓.๒ มีเครือข่ายความร่วมมือกับโรงเรียนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยอื่น การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย หรือสถาบันการศึกษาอื่นในท้องถิ่น
เมื่อดำเนินการร่วมมือกันปฏิบัติงาน แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานในทุกโครงการ/กิจกรรม รายงานผลความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม ตลอดทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขต่อที่ประชุมและนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔. N:Norm มีบรรทัดฐานในการปฏิบัติ วางแผนกำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติ ที่เป็นมาตรฐาน ในการปฏิบัติงาน นำเกณฑ์การประเมินโรงเรียนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มาเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยใช้ทฤษฎีการบริหารงานเชิงระบบ เข้ามาใช้ในกระบวนการพัฒนานี้ ให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ (๑) ด้านปัจจัย (ด้านการบริหารงานโครงการ) (๒) ด้านกระบวนการ(ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้) และ(๓) ด้านผลผลิต (ด้านคุณภาพของเด็กปฐมวัย) ซึ่งมีการศึกษาเกณฑ์การประเมิน แต่ละตัวชี้วัด แล้วลงมือปฏิบัติในรูปคณะกรรมการ ประเมินผลการปฏิบัติงาน และวิเคราะห์ นำเสนอจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา นำเสนอผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ต่อไป
๕. O:Organization and Reward การจัดองค์กร และการได้รับรางวัล มีการวางแผนจัดองค์กร ตามกรอบงานของการบริหารจัดการโรงเรียนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ดังภาพประกอบ ๔
ภาพประกอบ ๔ แสดงแผนผังการจัดองค์กร ตามกรอบงานของการบริหารโรงเรียน
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โรงเรียนชุมชนวังทอง
จากภาพประกอบ ๖ เป็นการแบ่งภาระงานตามกรอบการพัฒนาบ้านนักวิทยา-ศาสตร์น้อย ประเทศไทย ซึ่งโรงเรียนชุมชนวังทอง ได้ประชุมร่วมกันพิจารณากำหนดบทบาทหน้าที่ของกรรมการแต่ละฝ่าย ดังนี้
๕.๑ ประธานคณะกรรมการ มีหน้าที่เป็นผู้นำในการร่วมวางแผน สนับสนุนการดำเนินงาน อำนวยความสะดวก ควบคุม นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และให้ความช่วยเหลือในการทำงานของคณะกรรมการฝ่ายต่างๆให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุเป้าหมายที่กำหนด
๕.๒ ที่ปรึกษา มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการในการวางแผนให้คำแนะนำทางด้านวิชาการ และการระดมทรัพยากรในการพัฒนาสถานศึกษา
๕.๓ คณะกรรมการด้านปัจจัย มีหน้าที่จัดกิจกรรมพัฒนางานด้านการบริหารโครงการ ได้แก่ การวางแผนยุทธศาสตร์ การกำหนดเป้าหมายการพัฒนา จัดบุคลากรให้เพียงพอ เหมาะสม จัดหางบประมาณ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ สนับสนุน พัฒนาครูให้มีความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจ นิเทศ ติดตามการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครุผู้สอน มีการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ มีการสรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไข และการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน ผู้นำศาสนา มีส่วนร่วมนิเทศ ประเมินผลและพัฒนาโรงเรียน
๕.๔ คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาด้านกระบวนการ มีหน้าที่จัดกิจกรรมพัฒนางาน ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ได้แก่ มีแผนการจัดกิจกรรมการทดลอง ครบถ้วนและมีคุณภาพ การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ทดลอง การตั้งคำถาม การส่งเสริมสนับสนุนการตั้งสมมุติฐาน ส่งเสริมให้เด็กทดลอง การใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิด ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เด็กบันทึกผลการทดลอง กิจกรรมโครงงาน เป็นต้น
๕.๕ คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาด้านผลผลิต มีหน้าที่จัดกิจกรรมพัฒนางาน
ด้านคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ การมีทักษะ ความสามารถและพฤติกรรมของเด็ก ด้านความอยากรู้ อยากเห็น อยากทดลอง เป็นตัวของตัวเอง มีความสามารถในการเรียนรู้ ทำงานเป็นกลุ่ม เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ การพัฒนาแนวความคิด มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีทักษะการสื่อสารกับผู้อื่นได้ มีความละเอียด รอบคอบในการทำงาน นำสิ่งที่เรียนรู้ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
๖. D : Development and Sustain มีการพัฒนาและยั่งยืน โดยดำเนินการดังนี้
๖.๑ ประชุมคณะครู เพื่อแต่งคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาโรงเรียน
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ของโรงเรียน ดังนี้
๖.๑.๑ นายชาญ เพ็งภักดี ผู้อำนวยการ ประธานคณะกรรมการ
๖.๑.๒ นายสมคิด พรมนาไร่ ครู ฝ่ายพัฒนาด้านปัจจัย
๖.๑.๓ นายทนง วรรณพฤกษ์ ครู ฝ่ายพัฒนาด้านปัจจัย
๖.๑.๔ นางมณีฉาย หอมสวาสดิ์ ครู ฝ่ายพัฒนาด้านปัจจัย
๖.๑.๕ นายบัญญัติ คำเพชร ครู ฝ่ายพัฒนาด้านปัจจัย
๖.๑.๖ นางวรรณภา แก้วอุ่นเรือน ครู ฝ่ายพัฒนาด้านปัจจัย
๖.๑.๗ นางระพินท์ คำเพชร ครู ฝ่ายพัฒนาด้านกระบวนการ
๖.๑.๘ นางศิริสร เพ็งลี ครู ฝ่ายพัฒนาด้านกระบวนการ
๖.๑.๙ นายบุญย้อม ดุงศรีแก้ว ครู ฝ่ายพัฒนาด้านกระบวนการ
๖.๑.๑๐ นายวิฑูรย์ หอมสวาสดิ์ ครู ฝ่ายพัฒนาด้านกระบวนการ
๖.๑.๑๑ นายอภิชาติ จันทร์สรวย ครู ฝ่ายพัฒนาด้านกระบวนการ
๖.๑.๑๒ นางนันทวัฒน์ พรมเรืองเดช ครู ฝ่ายพัฒนาด้านกระบวนการ
๖.๑.๑๓ นางฉวีวรรณ ทองรักษ์ ครู ฝ่ายพัฒนาด้านกระบวนการ
๖.๑.๑๔ นางนาตยา ใจตาง ครู ฝ่ายพัฒนาด้านกระบวนการ
๖.๑.๑๕ นางอุบลรัตน์ วรรณพฤกษ์ ครู ฝ่ายพัฒนาด้านกระบวนการ
๖.๑.๑๖ นางสมร หอมสวาสดิ์ ครู ฝ่ายพัฒนาด้านกระบวนการ
๖.๑.๑๗ นายสุริยา เพ็งลี ครู ฝ่ายพัฒนาผลผลิต
๖.๑.๑๘ นางประดิษฐ์ พรมนาไร่ ครู ฝ่ายพัฒนาผลผลิต
๖.๑.๑๙ นายพงษ์ศักดิ์ ทองรักษ์ ครู ฝ่ายพัฒนาผลผลิต
๖.๑.๒๐ นางสาวศิริกุล คำจันทร์ ครู ฝ่ายพัฒนาผลผลิต
๖.๑.๒๑ นางหนูเรียม จันทรสรวย ครู ฝ่ายพัฒนาผลผลิต/เลขานุการ
๖.๒ ร่วมวางแผนงานกับคณะกรรมการในแต่ละฝ่ายซักซ้อมความเข้าใจก่อนนำแผนงานสู่การปฏิบัติ ประเมินผลระหว่างดำเนินการ และปรับปรุงการดำเนินงานให้ดีขึ้น โดยใช้วงจรคุณภาพของเดมิ่ง (PDCA) หลายๆ รอบ
๖.๓ สนับสนุนงบประมาณ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินการของคณะกรรมการ แต่ละฝ่ายให้เพียงพอ
๖.๔ ควบคุม กำกับติดตาม นิเทศการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ
๖.๕.แต่งตั้งที่ปรึกษาจากบุคคล ๓ ฝ่าย คือที่ปรึกษาด้านปัจจัยสนับสนุน ด้านสื่อเทคโนโลยี และด้านงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่น ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาการพัฒนาโรงเรียนบ้านวิทยาศาสตร์น้อยอย่างต่อเนื่อง
หลังจากที่ได้ดำเนินการบริหารจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ตามขั้นตอนของ CHANOD Model จนประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ คือ เป็นโรงเรียนบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว ได้ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีวิธีการดำเนินการ บริหารจัดการตามลำดับ โดยประชุมคณะครู สร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของการเป็นโรงเรียนบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ได้กำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนาต่อยอดความยั่งยืน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการมอบหมายหน้าที่ที่รับผิดชอบ ตรวจสอบติดตามประเมินผลและรายงานผลอย่างต่อเนื่องมีการรายงานผลการปฏิบัติต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประจำทุกสิ้นปีการศึกษา
การดำเนินการบริหารจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนโรงเรียนบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ตามขั้นตอนใน CHANOD Model จนประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ คือได้รับการพิจารณาให้เป็นโรงเรียนบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖ ได้ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๕๖ จนถึงปัจจุบัน มีวิธีการดำเนินการจัดทำตามลำดับ โดยการประชุมคณะครู สร้างความตระหนักในความสำคัญของการเป็นโรงเรียนบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ได้วางเป้าหมายเพื่อการพัฒนาต่อยอดที่ยั่งยืน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ มอบหมายหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม เช่น กิจกรรมพัฒนาห้องปฏิบัติการพิเศษ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ กิจกรรมพัฒนาห้องสมุด กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ตามแนวทางและหลักเกณฑ์การประเมินโรงเรียนบ้านวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อเป็นโรงเรียนบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่ยั่งยืน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีการตรวจสอบ ติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานทุกปีตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
๓. ผลที่เกิดจากการนำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ไปใช้
การดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ได้ส่งผลต่อการดำเนินการ
บริหารงาน โรงเรียน ดังนี้
๓.๑ ผลที่เกิดแก่ผู้เรียน
๓.๑.๑ ผู้เรียนมีความสามารถคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ จากการประเมินของคณะกรรมการของโรงเรียน อยู่ในเกณฑ์ดี
๓.๑.๒ ผู้เรียนมีทักษะการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต จากผลการประเมินของผู้ประเมินภายนอก และการประเมินตนเอง (SAR) ผู้เรียนมีทักษะดังกล่าว ในระดับคุณภาพดี จากผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่ข้าพเจ้า ได้ใช้เทคนิค วิธีการ จนส่งผลให้ผู้เรียนสามารถวางแผน ทำงานตามลำดับขั้นตอน อย่างมีประสิทธิภาพ
๓.๑.๓ ผู้เรียนมีทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระดับเขตพื้นที่ จนได้รับรางวัลการประกวด แข่งขันในกิจกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
๑) รางวัลชนะเลิศเหรียญทองการปั้นดินน้ำมัน ระดับชั้นปฐมวัย
๒) รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันการพูดภาษาญี่ปุ่น ระดับชั้น ม.๑ - ม.๓
๓) รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันการพูดภาษาจีน ระดับชั้น ป. ๔-๖
๔) รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง การแข่งขันการพูดภาษาจีนระดับชั้น ม.๑- ๓
๕) รางวัลเหรียญเงินการแข่งขันการพูดภาษาอังกฤษ Impromptu Speech ระดับชั้น ป.๑ - ป.๓
๖) รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง การแข่งขันการขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ประเภทหญิง ระดับชั้น ม.๑ ๓
๗) รางวัลเหรียญเงินการแข่งขันการขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ประเภทชาย ระดับชั้น ม. ๑ ๓
๘. รางวัลเหรียญเงินการแข่งขันการขับร้องเพลงสากล ประเภทชาย ระดับชั้น ม. ๑ ๓
๙) รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันการขับร้องเพลงไทยสากล ประเภทหญิง ระดับชั้น ม. ๑ ๓
๑๐) รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันการขับร้องเพลงไทยสากล ประเภทชาย ระดับชั้น ม. ๑ ๓
๑๑) รางวัลเหรียญทองแดง การแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ม. ๑ ๓
๑๒) รางวัลเหรียญทองแดง การแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ม. ๑ ๓
๑๓) รางวัลเหรียญเงินการแข่งขันอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้น ป. ๔๖
๓.๒ ผลที่เกิดขึ้นแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา
๓.๒.๑ ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความเชี่ยวชาญ ในด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จนได้รับคัดเลือกให้ปฏิบัติงาน และได้รับรางวัลต่าง ๆ ดังนี้
๑) นายชาญ เพ็งภักดี และครูในโรงเรียน รวม ๙ คน ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบุคคลต้นแบบในโครงการคนต้นแบบเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยากเศรษฐกิจพอเพียง รุ่นที่ ๑ จากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
๒. นางสาวสาลินี ชาดา ครูโรงเรียนชุมชนวังทอง ได้รับคัดเลือก จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ไปศึกษา ดูงานต่างประเทศ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
๓) นางสาวสาลินี ชาดา ครูโรงเรียนชุมชนวังทอง ได้รับคัดเลือก จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นคณะกรรมการในโครงการพัฒนาการวิจัยโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนจุฬาภรณ์และโรงเรียนมหิดลพิทยานุสรณ์
๔) นายบัญญัติ คำเพชร ครูโรงเรียนชุมชนวังทอง ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นครู Teacher Award กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ จากสำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๕) ครูโรงเรียนชุมชนวังทอง ๒ คน ได้รับยกย่องให้เป็นครูผู้ฝึกสอน รองชนะเลิศ อันดับ ๒ กีฬาไทย ตะกร้อลอดห่วงชาย รุ่นอายุไม่เกิน ๑๒ ปี ระดับประเทศ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๖) ครูโรงเรียนชุมชนวังทอง ๓ คน ได้รับยกย่องให้เป็นครูผู้ฝึกสอนนักกีฬา สพฐ ร่วมกับ เอพี ฮอนด้า วิ่ง ๓๑ ขา ระดับประเทศ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๗) ครูโรงเรียนชุมชนวังทอง ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัล จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาอุดรธานี เขต ๓ หลายรายการ ดังนี้
๗.๑) นางหนูเรียม จันทร์สรวย ได้รับคัดเลือกให้เป็น ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ดีเด่น
๗.๒) นายชาญ เพ็งภักดี ได้รับการคัดเลือกให้เป็นที่ปรึกษาชมรมวิทยาศาสตร์ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาอุดรธานี เขต ๓
๗.๓) ครูได้รับคัดเลือกให้เป็นครูผู้ฝึกสอนนักเรียนรางวัลชนะเลิศ เหรียญทองการปั้นดินน้ำมัน ระดับชั้นปฐมวัย
๗.๔) ครูได้รับคัดเลือกให้เป็นครูผู้ฝึกสอนนักเรียนรางวัลเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันการพูดภาษาญี่ปุ่น ระดับชั้น ม. ๑ ๓
๗.๕) ครูได้รับคัดเลือกให้เป็นครูผู้ฝึกสอนนักเรียนรางวัลเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับ ๒ การแข่งขันการพูดภาษาจีนระดับชั้น ป. ๔ ๖
๗.๖) ครูได้รับคัดเลือกให้เป็นครูผู้ฝึกสอนนักเรียนรางวัลเหรียญทองรองชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันการพูดภาษาญี่ปุ่น ระดับชั้น ม. ๑ ๓
๗.๗) ครูได้รับคัดเลือกให้เป็นครูผู้ฝึกสอนนักเรียนรางวัลชนะเลิศเหรียญทองการพูดภาษาจีน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๓
๗.๘) ครูได้รับคัดเลือกให้ได้รับคัดเลือกให้เป็นครูผู้ฝึกสอนนักเรียนรางวัลเหรียญเงินการแข่งขันการพูดภาษาอังกฤษ Impromptu Speech ระดับชั้น ม. ๑ ๓
๗.๙) ครูได้รับคัดเลือกให้เป็นครูผู้ฝึกสอนนักเรียนรางวัลเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับ ๒ การแข่งขันการขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ประเภทหญิง ระดับชั้น ม.๑ ๓
๗.๑๐) ครูผู้ฝึกสอนนักเรียนรางวัลเหรียญเงินการแข่งขันการขับร้องเพลงสากล ประเภทชาย ระดับชั้น ม. ๑ ๓
๗.๑๑) ครูผู้ฝึกสอนนักเรียนรางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันการขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ประเภทชาย ม. ๑ ๓
๗.๑๒) ครูผู้ฝึกสอนนักเรียนรางวัลเหรียญทอง การแข่งขันการขับร้องเพลงไทยสากล ประเภทหญิง ระดับชั้น ม. ๑ ๓
๗.๑๓) ครูผู้ฝึกสอนนักเรียนรางวัลเหรียญทอง การแข่งขันการขับร้องเพลงไทยสากล ประเภทชาย ระดับชั้น ม. ๑ ๓
๗.๑๔) ครูได้รับการคัดเลือกให้เป็น ครูผู้ฝึกสอนนักเรียนรางวัล เหรียญทองแดง การแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ม. ๑ ๓
๗.๑๕) ครูได้รับการคัดเลือกให้เป็น ครูผู้ฝึกสอนนักเรียนรางวัล เหรียญทองแดง การแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ม. ๑ ๓
๗.๑๖) ครูผู้ฝึกสอนนักเรียน รางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันอัจฉริยภาพทาง คณิตศาสตร์ ชั้น ป. ๔ ๖
๓.๓ ผลที่เกิดแก่โรงเรียน
๓.๓.๑ โรงเรียนได้รับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณให้เป็น โรงเรียน บ้านวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
๓.๓.๒ โรงเรียนได้รับประทานให้เป็นที่ตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โครงการส่วนพระองค์ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
๓.๓.๓ โรงเรียนได้รับรางวัล โรงเรียนดีศรีตำบล จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
๓.๓.๔ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้เป็น สถานศึกษาแบบอย่างการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖ สถานศึกษาพอเพียง ๒๕๕๖ จากกระทรวงศึกษาธิการ
๓.๓.๕ โรงเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศ หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม มีโล่เกียรติยศ และเงินรางวัล จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓
๓.๓.๖ โรงเรียนที่มีผลการประเมินสูง 10 อันดับแรกใน 5 กลุ่มสาระหลัก ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓
๓.๓.๗ โรงเรียนได้รับรางวัล โรงเรียนวิถีพุทธ มาตรฐานทอง จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓
4 แนวคิดในการพัฒนาต่อไป
ในการพัฒนาโรงเรียนบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าต่อไป ข้าพเจ้ามีแนวคิดในการพัฒนา ดังต่อไปนี้
2.4.1 ด้านบุคลากร
1) จัดประชุม สัมมนา เปิดโอกาสให้บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการพัฒนาการจัดกิจกรรมในด้านวิทยาศาสตร์ ให้เกิดขึ้นในทุกระดับชั้น
2) พัฒนาบุคลากรให้สามารถนำนวัตกรรม เทคโนโลยี ที่ทันสมัยที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนบ้านวิทยาศาสตร์น้อย มาใช้ในการพัฒนาอย่างเต็มที่
3) เน้นการสร้างความตระหนักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แก่ผู้เรียน ให้แก่บุคลากรบุคลากรในสังกัด
2.4.2 ด้านการจัดการสภาพแวดล้อม
1) พัฒนา ดูแล รักษา อาคารสถานที่และจัดการสภาพแวดล้อมสำหรับ การเรียนรู้อย่างเหมาะสม สวยงาม
2) พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ให้เอื้อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้
2.4.3 ด้านความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก
1) สร้างเครือข่ายในชุมชน ในกลุ่มโรงเรียน อำเภอ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนา ปรับปรุงในส่วนที่บกพร่อง ให้ดียิ่งขึ้น
2) ประสานกับชุมชน สร้างความตระหนัก ให้ชุมชนได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์