ผลงานที่ ๓. ชื่อผลงาน/ชื่อเรื่อง โรงเรียนดีศรีตำบล
หน่วยงานที่ให้ผลงาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ. ที่ได้รับผลงาน ๒๕๕๖
ลักษณะการจัดทำ  จัดทำแต่ผู้เดียว
จัดทำร่วมกับผู้อื่นในรูปคณะทำงานหรือกลุ่ม
ปริมาณที่มีส่วนร่วมคิดเป็นร้อยละ -
๑. สภาพปัญหา แนวคิด หรือแรงจูงใจในการจัดทำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จ เป็นที่ประจักษ์
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดนโยบายโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล ขึ้น เพื่อพัฒนาสถานศึกษาในระดับตำบลให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นในการจัดการศึกษา ๔ ด้าน คือ ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ(วิชาการ) ด้านกระบวนการ (คุณธรรม) และด้านผลผลิต โดยมีความมุ่งหวังให้นักเรียนมีคุณธรรมนำวิชาการ เป็นเด็กดี เป็นที่เชื่อมั่นและเป็นชื่อเสียงของตำบล นักเรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และมีภูมิคุ้มกันตนเองเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเชี่ยน ส่วนผู้บริหารและครูเป็นตัวอย่างของคนดี มีข้อวัตรปฏิบัติทั้งกาย วาจา ใจ เชื่อมโยงการมีส่วนร่วมเครือข่ายบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) เข้าด้วยกันในการพัฒนาสถานศึกษา และโรงเรียนชุมชนวังทอง ได้รับการคัดเลือกให้เข้าโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล รุ่น ๒ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓ ซึ่งมีภารกิจที่จะต้องพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้ขอรับการประเมินในฐานะผู้บริหารโรงเรียนชุมชนวังทอง มีความตระหนักและเห็น
ความสำคัญของโครงการดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่ เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย ทั้งนักเรียน ผู้บริหาร ครู โรงเรียนและชุมชน ซึ่งเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่กำหนดให้ชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมพัฒนาสถานศึกษา จึงได้พัฒนาโรงเรียนตามเป้าหมาย โดยได้ประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัด ชุมชน เป็นเครือข่ายในการพัฒนาในลักษณะการบริหารแบบมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิดวางแผน ร่วมระดมทรัพยากร ร่วมปฏิบัติ ร่วมประเมินผล และร่วมปรับปรุงงาน จนทำให้การพัฒนาโรงเรียนประสบความสำเร็จ และได้รับการประเมินจากคณะกรรมการประเมินโรงเรียนดีศรีตำบล ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้การรับรองแต่งตั้ง ให้ผ่านการประเมินอย่างไม่มีเงื่อนไข ได้รับป้ายรับรองต้นแบบโรงเรียนดีศรีตำบล และโล่เชิดชูเกียรติ เมื่อปี ๒๕๕๖
๑.๑ ข้อมูลพื้นฐาน/สภาพปัญหา
โรงเรียนชุมชนวังทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลวังทอง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓ ปัจจุบันเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีครู ๒๓ คน นักเรียน ๔๑๙ คน พนักงานธุรการ ๑ คน นักการภารโรง ๒ คน สภาพโรงเรียนชุมชนวังทอง เป็นโรงเรียนประจำตำบลวังทอง ยังไม่เป็นที่น่าสนใจของผู้ปกครองและนักเรียน สภาพอาคารเรียนเก่าทรุดโทรม เนื่องจากมีอายุการใช้งานเกิน ๒๕ ปี สภาพห้องเรียนยังไม่มีการพัฒนาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนของครู ยังไม่ยึดเด็กเป็นสำคัญ ส่วนชุมชนยังไม่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนเท่าที่ควร นอกจากนี้จากการสำรวจ พบว่า ผู้ปกครองที่มีฐานะดีจะนิยมส่งบุตรหลานของตนเองไปเข้าเรียนที่โรงเรียนในอำเภอ เป็นส่วนใหญ่ ทำให้การบริการในด้านจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่ฐานะไม่ดี ขาดความพร้อม ครอบครัวแตกแยก และมีรายได้ต่ำ การพัฒนาเป็นไปค่อนข้างลำบาก ประกอบกับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ยังไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น สภาพอาคารเรียนและอาคารประกอบค่อนข้างเก่าและชำรุด เนื่องจากมีอายุการใช้งานเกิน ๒๕ ปี โรงเรียนขาดห้องพิเศษเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มสาระต่างๆ ทำให้นักเรียนที่มีฐานะค่อนข้างยากจนและมีสภาพปัญหาดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ขาดโอกาสที่ดีทางการเรียนรู้ แต่โรงเรียนมีจุดแข็งในเรื่องของบุคลากรในโรงเรียนที่มีความพร้อมในด้านการมีส่วนร่วมที่จะพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพได้
จากการรายงานผลการประเมินมาตรฐานภายนอก โรงเรียนได้ร่วมกับคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนนักเรียน วิเคราะห์ถึงผลที่เกิดขึ้น ซึ่งผลการประเมิน มีความสอดคล้องกับผลการประเมินตนเองของโรงเรียน พบว่าผู้เรียนระดับก่อนประถม-ศึกษามีพฤติกรรม ในการประหยัด รู้จักใช้และรักษาทรัพยากรส่วนรวม ระดับประถมศึกษาและมัธยม ศึกษา ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม สัมมาคารวะ อ่อนน้อม มีมารยาทอ่อนโยน รักษาความสะอาดบริเวณห้องเรียน โรงเรียน เคารพเชื่อฟังครู พ่อแม่ ตั้งใจศึกษาหาความรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ขยัน อดทน ทำงานเป็นทีมอย่างมีความสุข ส่วนจุดที่ควรพัฒนา พบว่า ความมีวินัย มารยาท การเชื่อมโยงความรู้ การแก้ปัญหา การจัดแหล่งเรียนรู้ การทำงานร่วมกับผู้อื่นและการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ผู้เรียนยังปฏิบัติ ไม่เป็นกิจนิสัย ส่วนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา พบว่าความมีระเบียบวินัยต่อตนเอง การแต่งกาย การรู้คุณค่าของทรัพย์สินส่วนรวม การปฏิบัติกิจกรรมที่ปฏิบัติจริง การศึกษาค้นคว้า ทดลอง สำรวจ การสืบค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
จากสภาพปัญหาการสำรวจความพร้อมที่จะเป็นโรงเรียนดีศรีตำบล ของโรงเรียนชุมชนวังทอง จะพบปัญหาที่เป็นอุปสรรคด้านต่างๆ ดังนี้
๑) ด้านคุณภาพนักเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำ และนักเรียนขาดทักษะในการใช้เทคโนโลยีและขาดทักษะชีวิต
๒) ด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า ครูยังไม่ได้นำเทคโนโลยี นวัตกรรมและผลการวิจัยมาใช้อย่างจริงจัง ครูบางท่านขาดความรู้ ความสามารถและทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในบางกลุ่มวิชา เช่น คณิตศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
๓) ด้านแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนยังขาดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย อาคารสถานที่ ยังไม่ได้รับการดูแล ตกแต่งให้เกิดความสวยงามและเอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
๑.๒ แรงจูงใจในการจัดทำผลงานดีเด่น
จากสภาพปัญหา ดังกล่าว คณะกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลของโรงเรียน จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาผู้เรียน พัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อดึงดูดผู้ปกครอง ให้เห็นความสำคัญ และเกิดความมั่นใจ เชื่อมั่นในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีในโรงเรียน จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีด้วย และมีแรงจูงใจที่จะพัฒนาโรงเรียนให้มีความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น พัฒนาห้องปฏิบัติการต่างๆ และสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนให้ดีขึ้น เทียบเท่าโรงเรียนในเมืองหรือดีกว่า เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้เรียนดีขึ้น และให้ผู้ปกครองเห็นว่า โรงเรียนซึ่งอยู่ใกล้บ้านเป็นโรงเรียนที่ดีมีมาตรฐาน ไม่ต้องส่งบุตรหลานของตนเองเข้าไปเรียนในอำเภอ ประกอบกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓ ได้ประกาศรับสมัครโรงเรียนที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล จึงได้ประชุมคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อปรึกษาหารือ ขอความคิดเห็นในที่ประชุม และมีมติให้โรงเรียนชุมชนวังทอง เข้าร่วมโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล และได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓ ในเวลาต่อมา โดยคาดหวังว่าโรงเรียน จะได้รับการพัฒนาในด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน พัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู ผู้เรียนใฝ่รู้ใฝ่เรียนมากขึ้น กล้าแสดงออกและมีทักษะทางด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีเพิ่มมากยิ่งขึ้น จึงกำหนดแนวทางที่จะนำมาใช้ในการกำหนดทิศทาง การปรับปรุงและพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งการวางระบบและกำหนดกลไกในการทำงาน ที่มีประสิทธิภาพ ได้มีการวางแผนการบริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมพัฒนา ร่วมสนับสนุน และร่วมรับผิดชอบร่วมกัน ตลอดจนสร้างความตระหนักให้คณะครูได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์การพัฒนาโรงเรียนดีศรีตำบล
๒. วิธีดำเนินการจัดทำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์
เมื่อโรงเรียนชุมชนวังทอง ได้มีวิธีดำเนินการจัดทำผลงานโรงเรียนดีศรีตำบลนั้น ได้กำหนดความคาดหวังการพัฒนา คือ เป็นโรงเรียนคุณภาพของตำบล หรือเป็นโรงเรียนดีศรีตำบล ของชุมชน สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย และเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม โดยกำหนดคุณลักษณะหรือภาพลักษณ์ของโรงเรียนที่ต้องการ คือ
- เป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานคุณภาพระดับสูง มีความเข้มแข็งทั้งด้านวิชาการ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดนตรี กีฬาและศิลปะ
- เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมด้านกายภาพที่มีความสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย
- เป็นโรงเรียน ทำมาหากิน ที่เน้นการพัฒนาพื้นฐานด้านอาชีพและการมีรายได้ระหว่างเรียน
- เป็น โรงเรียนของชุมชน ที่มีความร่วมมือกับท้องถิ่นและบริการชุมชนอย่างเข้มแข็งโดยมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้
๒.๑ ภาพความสำเร็จ
๒.๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับสูง ไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ๕ กลุ่มสาระหลัก
๒.๒.๒ โรงเรียนสร้างวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตประชาธิปไตยอย่างเข้มแข็ง และไม่มีปัญหายาเสพติด
๒.๒.๓ โรงเรียนร่วมมือกับชุมชน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียงและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็ง
๒.๒.๔ นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีสำนึกความเป็นไทย มีความรู้และพัฒนาทักษะการทำงานในบริบทของเขตพื้นที่ อาชีพในท้องถิ่น และสร้างผลิตภัณฑ์ งานอาชีพ ทักษะพื้นฐานด้านอาชีพ มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ระดับสูง และมีสุขภาพลานามัยดี
๒.๒.๕ นักเรียนมีความรู้ และทักษะพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่สองอื่นๆ ตามความสนใจหรือความถนัดเป็นอย่างดี
๒.๒ กระบวนการดำเนินงาน ผลงานโรงเรียนดีศรีตำบล
ในการดำเนินการของกิจกรรมครั้งนี้ ได้ดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน ซึ่งโรงเรียนชุมชนวังทอง ได้มีวิธีดำเนินการพัฒนาผลงานโรงเรียนดีศรีตำบล กำหนดเป้าหมายของงาน วางแผนร่วมกับคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง นักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม (Participation) ในทุกขั้นตอน ในการดำเนินโครงการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบประเมินผล และร่วมปรับปรุงพัฒนา ตลอดจนร่วมรับผลที่เกิดขึ้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ระยะเวลา เดือนมกราคม ๒๕๕๔ ถึงเดือนมกราคม ๒๕๕๖ ซึ่งได้ใช้การพัฒนาสถานศึกษา บริหารงานโรงเรียนดีศรีตำบล โดยใช้ CHANOD Model เป็นรูปแบบแนวทางการบริหาร ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของ CHANOD Model จะดำเนินการโดยใช้กระบวนการบริหารงานของเดมิ่ง Demings Cycle (PDCA) เป็นวงจรการพัฒนาในทุกขั้นตอนของ Model ดังภาพประกอบ ๕
ภาพประกอบ ๕ แสดงรูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนดีศรีตำบล โดยใช้รูปแบบ CHANOD Model
โรงเรียนชุมชนวังทอง
จากภาพประกอบ ๔ ผู้ขอรับการประเมิน ได้ใช้รูปแบบการบริหารงานโดยใช้ CHANOD Model เป็นนวัตกรรมในการโรงเรียนดีศรีตำบล แล้วสอดแทรกกระบวนการบริหารงานของเดมิ่ง Demings Cycle (PDCA) เป็นวงจรการพัฒนาในทุกขั้นตอนของ Model ดังต่อไปนี้
๑. C : Create and Collaborate การให้ทุกคนร่วมมือกันพัฒนาโรงเรียนดีศรีตำบล จัดการวางแผนให้ทุกคนที่มีส่วนได้เสียในการจัดการศึกษาเข้ามาร่วมมือในการพัฒนาสถานศึกษา ประชุมวางแผนกัน ร่วมมือกันในการพัฒนา ประเมินผลการดำเนินงาน วิเคราะห์จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา ตลอดทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขต่อที่ประชุม จัดทำรายงานการประชุม รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อเสนอส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
๒. H : Human Resources ทรัพยากรบุคคล มีการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ การนำคุณธรรมเข้าไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและประชาชนในชุมชน ลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนด เช่นจัดการอบรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ความมีวินัย ความอดทน เป็นต้น
๒.๑ จัดระบบบริหารจัดการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้บริหารโรงเรียนดีศรีตำบล อย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายภาพความสำเร็จที่กำหนด
๒.๒ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความมุ่งมั่นและศักยภาพอย่างสูง ในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย การสำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครู การพัฒนาครูด้านความรู้ในเนื้อหากลุ่มสาระต่าง ๆ การพัฒนาครูด้านเทคนิควิธีการสอนวิชาและกิจกรรมสัมมนาผลการพัฒนาวิชาชีพครู
๒.๓ โรงเรียนดีศรีตำบล มีครูจบวิชาเอกภาษาไทย และคณิตศาสตร์ หรือได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพตรงกับวิชาที่สอนอย่างน้อย ๕ กลุ่มสาระวิชาหลัก และมีความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อการ (ICT) มาใช้ในการเรียนการสอน
๒.๔ พัฒนาครู และบรรจุ แต่งตั้ง ข้าราชการครูบรรจุใหม่
มีการประเมินผลการดำเนินงานในทุกขั้นตอน สะท้อนผลการพัฒนาต่อที่ประชุม เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ไข และพัฒนาต่อไป รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓. A : Action and Executes ทุกคนร่วมลงมือปฏิบัติงาน มีการประชุมวางแผนกำหนดภาระงานให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ กำหนดกิจกรรมที่จะพัฒนาโรงเรียนดีศรีตำบล กำหนดบุคคลที่มีความสามารถด้านนั้น ๆ เข้าปฏิบัติงาน ตามลำดับกิจกรรม จัดเครือข่ายกับโรงเรียนอื่นๆ เพื่อความร่วมมือ และช่วยเหลือกันทางวิชาการเพื่อทำให้เกิดระบบการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้ได้มากที่สุด โดย
๓.๑ บริการวิชาการสำหรับนักเรียนและครูจากโรงเรียนใกล้เคียง ตลอดจนโรงเรียนอื่นๆ เช่น โรงเรียนบ้านม่วง โรงเรียนบ้านเหล่าหลวง โรงเรียนบ้านศรีเมือง โรงเรียนบ้านทรายมูล ได้นำนักเรียนมาจัดกิจกรรมร่วมกัน การจัดครูเคลื่อนที่ ให้ความร่วมมือกันในการพัฒนาครูและวางแผนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียน เป็นต้น
๓.๒ มีเครือข่ายความร่วมมือกับโรงเรียนดีศรีตำบลอื่น โรงเรียนดีใกล้บ้าน โรงเรียนมาตรฐานสากล การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย หรือสถาบันการศึกษาอื่นในท้องถิ่น
เมื่อดำเนินการร่วมมือกันปฏิบัติงาน แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานในทุกโครงการ/กิจกรรม รายงานผลความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม ตลอดทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขต่อที่ประชุมและนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔. N:Norm มีบรรทัดฐานในการปฏิบัติ วางแผนกำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติ ที่เป็นมาตรฐาน ในการปฏิบัติงาน นำเกณฑ์การประเมินโรงเรียนดีศรีตำบล มาเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ (๑) ด้านปัจจัย (๒) ด้านพัฒนาวิชาการ (๓) ด้านพัฒนาคุณธรรม และ(๔) ด้านการพัฒนาผลผลิต ซึ่งมีการศึกษาเกณฑ์การประเมิน แต่ละตัวชี้วัด แล้ว ลงมือปฏิบัติในรูปคณะกรรมการ ประเมินผลการปฏิบัติงาน และวิเคราะห์ นำเสนอจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา นำเสนอผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ต่อไป
๕. O:Organization and Reward การจัดองค์กร และการได้รับรางวัล มีการวางแผนจัดองค์กร ตามกรอบงานของการบริหารจัดการโรงเรียนดีศรีตำบล ดังภาพประกอบ ๖
ภาพประกอบ ๖ แสดงแผนผังการจัดองค์กร ตามกรอบงานของการบริหารโรงเรียนดีศรีตำบล
โรงเรียนชุมชนวังทอง
จากภาพประกอบ ๖ เป็นการแบ่งภาระงานตามกรอบการพัฒนาโรงเรียนดีศรีตำบลซึ่งโรงเรียนชุมชนวังทอง ได้ประชุมร่วมกันพิจารณากำหนดบทบาทหน้าที่ของกรรมการแต่ละฝ่าย ดังนี้
๕.๑ ประธานคณะกรรมการ มีหน้าที่เป็นผู้นำในการร่วมวางแผน สนับสนุนการดำเนินงาน อำนวยความสะดวก ควบคุม นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และให้ความช่วยเหลือในการทำงานของคณะกรรมการฝ่ายต่างๆให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุเป้าหมายที่กำหนด
๕.๒ ที่ปรึกษา มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการในการวางแผนให้คำแนะนำทางด้านวิชาการ และการระดมทรัพยากรในการพัฒนาสถานศึกษา
๕.๓ คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาด้านปัจจัย มีหน้าที่จัดกิจกรรมพัฒนางานใน ๗ ด้าน ได้แก่ การวางแผนยุทธศาสตร์ การกำหนดเป้าหมายการพัฒนานักเรียน พัฒนาความสะอาด ของอาคารสถานที่ พัฒนาความร่มรื่นสวยงามด้วยร่มเงาธรรมชาติ สร้างบรรยากาศอบอุ่นเหมือนบ้านสีสันสดใส รักษาความปลอดภัย ปลอดสารเสพติดและอบายมุข และการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน ผู้นำศาสนา มีส่วนร่วมนิเทศ ประเมินผลและพัฒนาโรงเรียน
๕.๔ คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาด้านกระบวนการ (วิชาการ) มีหน้าที่จัดกิจกรรมพัฒนางาน ๗ ด้าน ได้แก่ จัดบรรยากาศห้องสมุดเหมือนบ้าน มีหนังสือ สื่อใหม่เพียงพอเหมาะสม ปรับปรุงการใช้สื่อการเรียนรู้ในห้องปฏิบัติการต่างๆอย่างคุ้มค่า การใช้ศูนย์ การเรียนรู้งานอาชีพครบวงจร นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน การพัฒนาศูนย์กีฬาชุมชนแบบครบวงจร มีสนามกีฬา กิจกรรมดูแลรักษา การพัฒนาห้องสุขานักเรียนที่สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ การใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่อเทคโนโลยีทันสมัยในการเรียนรู้ และการพัฒนาผู้บริหารให้เป็นที่ยอมรับในการเป็นนักพัฒนาและผู้นำการเปลี่ยนแปลง
๕.๕ คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาด้านกระบวนการ(คุณธรรม) มีหน้าที่จัดกิจกรรมพัฒนางาน ๗ ด้าน ได้แก่ การฝึกความมีวินัยของนักเรียน การฝึกแสดงความเคารพ การฝึกความอดทน การฝึกนิสัยผ่านกิจกรรมชีวิตจริง ๖ มิติจากการมีส่วนร่วมของ บวร ปลูกฝังจิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนทำความดีทุกวัน (กาย วาจา ใจ) และการพัฒนาผู้บริหารและครูให้ปฏิบัติตนเป็นต้นแบบที่ดี (กาย วาจา ใจ)
๕.๖ คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาด้านผลผลิต มีหน้าที่จัดกิจกรรมพัฒนางาน
๗ ด้าน ได้แก่การพัฒนาชื่อเสียงโรงเรียนดี การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงกว่าเดิม การพัฒนา การอ่าน เขียน คิดเลขคล่อง และการสื่อสารภาษาอาเซียน การมีวินัย มีความเคารพ มีความอดทน(ใฝ่ดี) การมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี(สุขภาพดี) และการใช้เทคโนโลยี การใช้ภาษาอาเซียน มีงานอาชีพ
๖. D : Development and Sustain มีการพัฒนาและยั่งยืน โดยดำเนินการดังนี้
๖.๑ ประชุมคณะครู เพื่อแต่งคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาโรงเรียนดีศรีตำบล
ของโรงเรียน ดังนี้
๖.๑.๑ นายชาญ เพ็งภักดี ผู้อำนวยการ ประธานคณะกรรมการ
๖.๑.๒ นายสมคิด พรมนาไร่ ครู ฝ่ายพัฒนาด้านปัจจัย
๖.๑.๓ นายทนง วรรณพฤกษ์ ครู ฝ่ายพัฒนาด้านปัจจัย
๖.๑.๔ นางมณีฉาย หอมสวาสดิ์ ครู ฝ่ายพัฒนาด้านปัจจัย
๖.๑.๕ นายบัญญัติ คำเพชร ครู ฝ่ายพัฒนาคุณธรรม
๖.๑.๖ นางวรรณภา แก้วอุ่นเรือน ครู ฝ่ายพัฒนาคุณธรรม
๖.๑.๗ นางระพินท์ คำเพชร ครู ฝ่ายพัฒนาคุณธรรม
๖.๑.๘ นางศิริสร เพ็งลี ครู ฝ่ายพัฒนาคุณธรรม
๖.๑.๙ นายบุญย้อม ดุงศรีแก้ว ครู ฝ่ายพัฒนาวิชาการ
๖.๑.๑๐ นายวิฑูรย์ หอมสวาสดิ์ ครู ฝ่ายพัฒนาวิชาการ
๖.๑.๑๑ นายอภิชาติ จันทร์สรวย ครู ฝ่ายพัฒนาวิชาการ
๖.๑.๑๒ นางนันทวัฒน์ พรมเรืองเดช ครู ฝ่ายพัฒนาวิชาการ
๖.๑.๑๓ นางฉวีวรรณ ทองรักษ์ ครู ฝ่ายพัฒนาวิชาการ
๖.๑.๑๔ นางนาตยา ใจตาง ครู ฝ่ายพัฒนาวิชาการ
๖.๑.๑๕ นางอุบลรัตน์ วรรณพฤกษ์ ครู ฝ่ายพัฒนาวิชาการ
๖.๑.๑๖ นางสมร หอมสวาสดิ์ ครู ฝ่ายพัฒนาวิชาการ
๖.๑.๑๗ นายสุริยา เพ็งลี ครู ฝ่ายพัฒนาผลผลิต
๖.๑.๑๘ นางประดิษฐ์ พรมนาไร่ ครู ฝ่ายพัฒนาผลผลิต
๖.๑.๑๙ นายพงษ์ศักดิ์ ทองรักษ์ ครู ฝ่ายพัฒนาผลผลิต
๖.๑.๒๐ นางสาวศิริกุล คำจันทร์ ครู ฝ่ายพัฒนาผลผลิต
๖.๑.๒๑ นางหนูเรียม จันทรสรวย ครู ฝ่ายพัฒนาผลผลิต/เลขานุการ
๖.๒ ร่วมวางแผนงานกับคณะกรรมการในแต่ละฝ่ายซักซ้อมความเข้าใจก่อนนำแผนงานสู่การปฏิบัติ ประเมินผลระหว่างดำเนินการ และปรับปรุงการดำเนินงานให้ดีขึ้น โดยใช้วงจรคุณภาพของเดมิ่ง (PDCA) หลายๆ รอบ
๖.๓ สนับสนุนงบประมาณ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินการของคณะกรรมการ แต่ละฝ่ายให้เพียงพอ
๖.๔ ควบคุม กำกับติดตาม นิเทศการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ
๖.๕.แต่งตั้งที่ปรึกษาจากบุคคล ๓ ฝ่าย คือที่ปรึกษาด้านวิชาการ ด้านแหล่งเรียนรู้ และด้านงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่น ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาการพัฒนาโรงเรียนดีศรีตำบลอย่างต่อเนื่อง
หลังจากที่ได้ดำเนินการบริหารจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนดีศรีตำบล ตามขั้นตอนของ CHANOD Model จนประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ คือ เป็นโรงเรียนดีศรีตำบล ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว ได้ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีวิธีการดำเนินการ บริหารจัดการตามลำดับ โดยประชุมคณะครู สร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของการเป็นโรงเรียนดีศรีตำบล ได้กำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนาต่อยอดความยั่งยืน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการมอบหมายหน้าที่ที่รับผิดชอบ ตรวจสอบติดตามประเมินผลและรายงานผลอย่างต่อเนื่องมีการรายงานผลการปฏิบัติต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประจำทุกสิ้นปีการศึกษา
การดำเนินการบริหารจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนดีศรีตำบล ตามขั้นตอนใน CHANOD Model จนประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ คือได้รับการพิจารณาให้เป็นโรงเรียนดีศรีตำบล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖ ได้ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๕๖ จนถึงปัจจุบัน มีวิธีการดำเนินการจัดทำตามลำดับ โดยการประชุมคณะครู สร้างความตระหนักในความสำคัญของการเป็นโรงเรียนดีศรีตำบล ได้วางเป้าหมายเพื่อการพัฒนาต่อยอดที่ยั่งยืน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ มอบหมายหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม เช่น กิจกรรมพัฒนาห้องปฏิบัติการพิเศษ กิจกรรมพัฒนาห้องสมุด กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามแนวทางและหลักเกณฑ์การประเมินโรงเรียนดีศรีตำบล เพื่อเป็นโรงเรียนดีศรีตำบล ที่ยั่งยืน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีการตรวจสอบ ติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานทุกปีตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
๓. ผลที่เกิดจากการนำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ไปใช้
จากการที่โรงเรียนได้ประสบผลสำเร็จ ได้ผลงานดีเด่น เป็นโรงเรียนดีศรีตำบลแล้ว
ได้นำผลดังกล่าว ไปใช้จนเกิดผลต่อนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา ชุมชน ดังต่อไปนี้
๓.๑ ผลที่เกิดแก่นักเรียน
๓.๑.๑ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม
ที่พึงประสงค์ จนทำให้มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น ได้รับรางวัลด้านคุณธรรม จริยธรรม ในการตอบปัญหาธรรมทางก้าวหน้าของชมรมพุทธศาสตร์สากล ระดับประเทศ หลายรายการ
๓.๑.๒ ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไป ตามเกณฑ์มาตรฐาน ส่งเสริมให้ผู้เรียนออกกำลังกาย มีความร่าเริงแจ่มใส รักษาความสะอาดร่างกาย เครื่องแต่งกาย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษจากสิ่งเสพติด และสิ่งมอมเมา ไม่เสพสิ่งเสพติด ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด เป็นสมาชิกชมรม To be Number One จัดเข้าค่ายอบรมคุณธรรม ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามมาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
๓.๑.๓ ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและมีลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา ตามเกณฑ์ในมาตรฐานที่ ๒ ส่งผลให้ผู้เรียนได้ตั้งชมรมนาฏศิลป์พื้นบ้าน ทั้งระดับประถมและมัธยม มีนักเรียนเป็นกรรมการบริหารชมรม มีผู้เรียนเข้าร่วมทุกคน มีการรำนาฏศิลป์พื้นบ้านและการแสดงนาฏลีลา ตำนานคำชะโนด แสดงในพิธีเปิดกีฬานักเรียนของโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน ทุกปีการศึกษา นำนักเรียนไปแสดงในงานของชุมชน เช่น การประกวดหมู่บ้าน การแห่ผ้าป่า กฐินสามัคคี รำบวงสรวงเจ้าปู่ศรีสุทโธ รำบายศรี รำเชิญขวัญ งานมงคลสมรส และนักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อยู่หลายรายการ
๓.๑.๔ กิจกรรมดีเด่นที่นักเรียนได้รับรางวัล จากการได้รับโล่โรงเรียนดีศรีตำบล มีดังต่อไปนี้
๑) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ กีฬาไทย (ตะกร้อลอดห่วงชาย) รุ่นอายุ ไม่เกิน ๑๒ ปีระดับประเทศ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๒) รางวัลการเข้าร่วมการแข่งขัน เอพี ฮอนด้า ร่วมกับ สพฐ. วิ่ง ๓๑ ขา ครั้งที่ ๑๑ได้ลำดับที่ ๑๑ ระดับประเทศ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับบริษัทเอพี ฮอนด้า
๓) รางวัลรองชนะเลิศ กีฬาไทย (ตะกร้อลอดห่วงชาย) รุ่นอายุ ไม่เกิน ๑๒ ปีระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๔) รางวัลการเข้าร่วมการแข่งขัน เอพี ฮอนด้า ร่วมกับ สพฐ. วิ่ง ๓๑ ขา ครั้งที่ ๑๑ได้ลำดับที่ ๑๑ ระดับภาคคะวันออกเฉียงเหนือ จากสำนักงานคณะ กรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ร่วมกับบริษัทเอพี ฮอนด้า
๕) รางวัลชนะเลิศเหรียญทองการพูดภาษาจีน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับภาคะวันออกเฉียงเหนือ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๖) รางวัลเหรียญทองการพูดภาษาญี่ปุ่น ระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ -๓ ระดับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๗) รางวัลชนะเลิศ กีฬาไทย (ตะกร้อลอดห่วงชาย) รุ่นอายุไม่เกิน ๑๒ ปีระดับจังหวัดอุดรธานี จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๒๐
๘) รางวัลที่นักเรียนได้รับจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓ มีดังนี้
๘.๑) รางวัลชนะเลิศ กีฬาไทย (ตะกร้อลอดห่วงชาย)รุ่นอายุไม่เกิน๑๒ ปี
๘.๒) รางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันเอพี ฮอนด้า ร่วมกับ สพฐ. วิ่ง ๓๑ ขา สามัคคี ครั้งที่ ๑๑
๘.๓) รางวัลรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ฟุตบอลระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
๘.๔) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ บาสเกตบอล ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นชาย
๘.๕) รางวัลรองชนะเลิศบาสเกตบอล ระดับมัธยมศึกษาหญิง
๘.๖) รางวัลชนะเลิศเหรียญทองการพูดภาษาจีน ระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ ๑-๓
๘.๗) รางวัลชนะเลิศเหรียญทองการพูดภาษาญี่ปุ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓
๘.๘) รางวัลเหรียญทองการแข่งขัน นาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ระดับชั้น ป. ๔ ๖
๘.๙) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ เทคนิคการสร้างภาพยนตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓
๘.๑๐) รางวัลชนะเลิศเหรียญทองการปั้นดินน้ำมัน ระดับชั้นปฐมวัย
๘.๑๑) รางวัลชนะเลิศเหรียญทองรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันการพูดภาษาญี่ปุ่น ระดับชั้น ม.๑ - ม.-๓
๘.๑๒) รางวัลชนะเลิศเหรียญทองการแข่งขันการพูดภาษาจีน ระดับชั้น ป.๔ -๖
๘.๑๓) รางวัลชนะเลิศเหรียญทองการแข่งขันการพูดภาษาจีน ระดับชั้น ม.๑ - ม.๓
๘.๑๔) รางวัลเหรียญเงินการแข่งขันการพูดภาษาอังกฤษ Impromptu Speech ระดับชั้น ป.๑ - ป.๓
๘.๑๕) รางวัลรองชนะเลิศเหรียญทอง อันดับ ๒ การแข่งขันการขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ประเภทหญิง ระดับชั้น ม.๑-ม.๓
๘.๑๖) รางวัลเหรียญเงินการแข่งขันการขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ประเภทชาย ระดับชั้น ม.๑- ๓
๘.๑๗) รางวัลเหรียญเงินการแข่งขันการขับร้องเพลงสากลประเภท ชาย ระดับชั้น ม.๑-ม.๓
๘.๑๘) รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันการขับร้องเพลงไทยสากล ประเภทหญิง ระดับชั้น ม.๑๓
๘.๑๙) รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันการขับร้องเพลงไทยสากล ประเภทชาย ระดับชั้น ม.๑-๓
๘.๒๐) รางวัลเหรียญทองแดง การแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ม.๑-๓
๘.๒๑) รางวัลเหรียญทองแดง การแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ม.๑-๓
๘.๒๒) รางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันอัจฉริยภาพทาง คณิตศาสตร์ ชั้น ป. ๔ ๖
๓.๒ ผลที่เกิดกับครูและบุคลากรทางการศึกษา จากการที่โรงเรียนได้รับการประเมินให้เป็นโรงเรียนดีศรีตำบลแล้ว ส่งผลให้ครูได้รับยกย่อง เชิดชูเกียรติหลายรายการ ดังต่อไปนี้
๓.๒.๑ นายชาญ เพ็งภักดี ได้รับยกย่องให้เป็นผู้จัดการทีมรองชนะเลิศ อันดับ ๒ กีฬาไทย ตะกร้อลอดห่วงชาย รุ่นอายุไม่เกิน ๑๒ ปี ระดับประเทศ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓.๒.๒ นายชาญ เพ็งภักดี พร้อมคณะครูในโรงเรียน จำนวน ๑๘ คน ได้รับรางวัล หนึ่งแสนครูดี ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษา จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
๓.๒.๓ คณะครูในโรงเรียน จำนวน ๔ คน ได้รับรางวัลครูผู้ฝึกสอนรองชนะเลิศ อันดับ 2 กีฬาไทยตะกร้อลอดห่วงชาย รุ่นอายุไม่เกิน๑๒ ปี ระดับประเทศ จากสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓.๒.๔ นายชาญ เพ็งภักดี ได้รับรางวัลบุคลากรต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ สาขาผู้บริหารสถานศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
๓.๒.๕ คณะครูในโรงเรียน จำนวน ๒ คน ได้รับรางวัลบุคลากรต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ สาขาผู้สอน จากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
๓.๒.๖ คณะครูในโรงเรียน จำนวน ๓ คน ได้รับรางวัลครู Master Teacher กลุ่มสาระการงานและเทคโนโลยี, ครู Master Teacher กลุ่มสาระคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์, ครู Master Teacher กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
๓.๒.๗ ครูในโรงเรียนได้รับรางวัลครูสอนดี จากกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น
๓.๒.๘ รางวัลครูผู้ฝึกสอนนักเรียน ได้รับรางวัลเหรียญทองการพูดภาษาจีน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๓ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓.๒.๙ รางวัลครูผู้ฝึกสอนนักเรียน ได้รับรางวัลเหรียญทองการพูดภาษาญี่ปุ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๓ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓.๒.๑๐ รางวัลดีเด่น ที่ครูได้รับระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาอุดรธานี เขต ๓ มีดังต่อไปนี้
๑) นายชาญ เพ็งภักดี ได้รับรางวัลผู้บริหารโรงเรียนดีเด่น
๒) นายชาญ เพ็งภักดี ได้รับรางวัลผู้บริหารโรงเรียนขนาดใหญ่ดีเด่น
๓) ครูได้รับรางวัลครูผู้สอนกลุ่มสาระภาษาไทยดีเด่น
๔) ครูผู้สอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษาดีเด่น
๕) ครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ดีเด่น
๖) รางวัลครูเพชรเม็ดงาม
๓.๓ ผลที่เกิดกับโรงเรียน คือ โรงเรียนมีชื่อเสียง มีความสะอาดของอาคารสถานที่ร่มรื่นสวยงามด้วยร่มเงาธรรมชาติ มีบรรยากาศอบอุ่นเหมือนบ้าน สีสันสดใส มีความปลอดภัย ปลอดสารเสพติด และอบายมุข จนได้รับการยกย่องและรางวัล ดังต่อไปนี้
๓.๓.๑ ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษารอบสาม (พ.ศ.๒๕๕๔ ๒๕๕๘) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๕
๓.๓.๒ โรงเรียนได้รับการพิจารณาให้เป็น ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โครงการส่วนพระองค์ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา โรงเรียนชุมชนวังทอง
๓.๓.๓ โรงเรียนได้รับการประเมินเป็น โรงเรียนดีศรีตำบล ระดับประเทศ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖
๓.๓.๔ ได้รับการคัดเลือก ให้เป็น โรงเรียนต้นแบบ โครงการสานฝันยุวเกษตรกร ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ จาก สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
๓.๓.๕ ได้รับประกาศเกียรติคุณ ให้เป็น โรงเรียนที่มีผลการประเมิน O-NET ของ สำนักทดสอบทางการศึกษา สูง ๑๐ อันดับแรก ใน ๕ กลุ่มสาระหลัก ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓
๓.๓.๖ โรงเรียนได้รับการประเมินให้เป็น โรงเรียนวิถีพุทธ มาตรฐานทอง ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓
๓.๔) ผลที่เกิดแก่ชุมชน คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน ผู้นำศาสนา มีส่วนร่วมนิเทศ ประเมินผลและพัฒนาโรงเรียนดีศรีตำบล ทำให้เกิดความรู้สึกชื่นชมภาคภูมิใจในความสำเร็จ รักและหวงแหนโรงเรียนมากขึ้น
๔. แนวคิดในการพัฒนาต่อไป
ในการพัฒนาโรงเรียนดีศรีตำบล ให้มีความยั่งยืน และก้าวหน้าต่อไป ข้าพเจ้ามีแนวคิดในการพัฒนา ดังต่อไปนี้
๔.๑ การพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนชุมชนวังทอง
๔.๑.๑ เป้าหมายในการพัฒนา
๑) เป้าหมายเชิงปริมาณ
๑.๑) จัดกิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน จำนวน ๒ ที่ คือ
โรงอาหารและห้องน้ำของโรงเรียน ภายในระยะเวลา ๓ เดือน
๒) เป้าหมายเชิงคุณภาพ
๒.๑) โรงอาหาร มีความสะอาด สวยงาม มีความปลอดภัย และ
มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการรับประทานอาหาร
๒.๒) ห้องสุขาทุกห้อง มีความสะอาด สวยงาม มีความปลอดภัย
๔.๑.๒ วิธีการพัฒนา
๑) การวางแผนเตรียมการ โดยดำเนินการดังนี้
๑.๑) ประชุมคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในเป้าหมายการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ให้ที่ประชุมรับทราบและ ขอความเห็นชอบในการดำเนินการ
๑.๒) ศึกษาเรียนรู้รูปแบบ และวิธีดำเนินการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน โดยการเข้าประชุม อบรม สัมมนา และศึกษาดูงานโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล ของจังหวัดอุดรธานี
๑.๓) วางแผนจัดเตรียมบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ และรูปแบบการบริหารจัดการ สำหรับใช้ในกิจกรรมการพัฒนาพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
๑.๔) วางแผนประสานงาน ด้านวิทยากร ด้านแหล่งเรียนรู้ ด้านงบประมาณกับชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่น และประสานความร่วมมือกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่น เพื่อร่วมพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
๒) การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนา ดำเนินการได้ ดังนี้
๒.๑) ประชุมคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่น เพื่อแต่งเป็นคณะกรรมการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
๒.๒) ร่วมวางแผนงานกับคณะกรรมการดำเนินการ และเตรียมความพร้อมซักซ้อมความเข้าใจก่อนนำแผนงานสู่การปฏิบัติ ประเมินผลระหว่างดำเนินการ และปรับปรุง
การดำเนินงานให้ดีขึ้น โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA หลายๆ รอบ
๒.๓) สนับสนุนงบประมาณ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินการ
ให้เพียงพอ
๒.๔) ควบคุม กำกับ ติดตาม นิเทศการดำเนินงานของคณะกรรมการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ
๒.๕) แต่งตั้งที่ปรึกษาจากบุคคล ๓ ฝ่าย คือ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ
ด้านแหล่งเรียนรู้ และด้านงบประมาณ จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่น
๒.๖) ส่งเสริมให้คณะกรรมการเข้าร่วมประชุม สัมมนา ศึกษาดูงาน ประกวดผลงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกัน
๓) การตรวจสอบและประเมินผล
๓.๑) จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เพื่อรับฟังรายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น และเพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓.๒) สังเกตการจัดกิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อม เพื่อหาข้อมูลที่พบ ทั้งจุดเด่น ให้มีความยั่งยืน และจุดที่ควรพัฒนา เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น
๓.๓) สัมภาษณ์ คณะกรรมการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เพื่อรับทราบความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ช่วยเหลือให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามเป้าหมายที่กำหนด
๓.๔) สอบถามความพึงพอใจของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ที่มีต่อการให้บริการโรงอาหาร และห้องสุขาของโรงเรียนที่พัฒนาขึ้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศในการปรับปรุงงานให้ดีขึ้น
๔) การภาคภูมิใจในความสำเร็จร่วมกัน
๔.๑) รายงานผลสำเร็จของการพัฒนาให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้รับทราบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง
๔.๒) เชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมภาคภูมิใจ ในพิธีรับรางวัลที่ได้รับจาก
การประกวดกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียน
๔.๓) จัดนิทรรศการแสดงผลงานการพัฒนาโรงเรียน ประกาศเกียรติคุณผู้รับผิดชอบและผู้ที่ให้การสนับสนุน เพื่อให้สาธารณชนได้ทราบเนื่องในโอกาสวันสำคัญ
๔.๑.๓ แนวทางการตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนา
๑) สังเกตสภาพโดยทั่วไปของโรงอาหาร และห้องสุขาที่พัฒนาขึ้น
๒) สังเกตการใช้บริการของนักเรียน
๓) สอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน