ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชา ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม
ผู้วิจัย นางสาวอมรรัตน์ พิเลิศ
หน่วยงาน โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้สาระนาฏศิลป์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ยังไม่ประสบผลสำเร็จและ
สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและชีวิตจริงของผู้เรียน อีกทั้งยังไม่ได้รับการฝึกปฏิบัติและส่งเสริมการแสดงออกให้ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณค่า ตามกรอบของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการแสดงออกที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยอย่างแท้จริง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม จำนวน 5 ชุด (2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 17 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยเลือกตอบจำนวน 40 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานการวิจัยด้วย ttest (Independent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.11/81.91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม
มีค่าเท่ากับ 0.6528 แสดงว่าหลังการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ฟ้อนเผ่ากูย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 65.28
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม มีค่าเฉลี่ย 4.52 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.46) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ
(สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม จะช่วยเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะปฏิบัติการรำของผู้เรียนเพิ่มขึ้นในระดับที่เชื่อถือได้ และส่งเสริมเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนนำกระบวนการเรียนรู้นาฏศิลป์ดังกล่าว ไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนให้มีคุณค่าอย่างเหมาะสมต่อไป