ชื่อเรื่อง รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน นางวารุณี ทีนา
โรงเรียน บ้านนาค้อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
ปีการศึกษาที่รายงาน 2558
บทคัดย่อ
รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนาค้อ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนกับก่อนเรียน โดยการทดสอบค่าที (t – test dependent - samples )
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สรุปได้ดังนี้
1.1 ผลการพิจารณาความเหมาะสมของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีความเหมาะสม โดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า องค์ประกอบของแบบฝึกเสริมทักษะทุกองค์ประกอบมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกรายการ
1.2 ผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า แบบฝึกเสริมทักษะมีประสิทธิภาพ 83.73/81.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลการศึกษาการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05