ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่น
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางรัชนีภรณ์ ธนะไชย
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความมุ่งหมายดังนี้ 1) สร้างและพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2)เพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้หลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากเรียนด้วยหลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านตะคร้อ (มิตรภาพ 4) และ โรงเรียนบ้านหนองบัวทุ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 6 ทดลองสอนในภาคเรียนที่ 2 การศึกษา 2556 จำนวนทั้งสิ้น 22 คน ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านตะคร้อ (มิตรภาพ 4) จำนวน 5 คน และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองบัวทุ่ง จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกตัวอย่างเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสำรวจความต้องการและความคิดเห็นในการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร 3) แบบประเมินความสอดคล้องของหลักสูตร 4) หลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่น ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ 5 หน่วย และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน รวม 18 ชั่วโมง 5) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบเลือกตอบชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย (P) ตั้งแต่ .43-.77 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.24 ถึง 0.66 และ มีค่าความเชื่อมั่น (rtt) เท่ากับ .86 และ 6) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานโดยการทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ 5 หน่วย ได้แก่ 1) ฉันคือสมุนไพร 2) พืชสมุนไพรรักษาโรค 3) พืชสมุนไพรในวัดเทพาลัย 4) ผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร 5) การอนุรักษ์พืชสมุนไพร ผลการประเมินความสอดคล้องของหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.72, S.D.=0.14) และ หลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.73, S.D.=0.06)
2. หลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.66/ 86.36 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 หลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งในภาพรวมและรายด้าน
โดยสรุปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้หลักสูตรบูรณาการ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเหมาะสมมากที่สุด มีประสิทธิภาพสูง สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จึงมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ