รางวัล สถานศึกษาแบบอย่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการ
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง)
ระดับประเทศ ประจำปี 2556
จากกระทรวงศึกษาธิการ
1.สภาพปัญหา แนวคิด หรือแรงจูงใจในการดำเนินการ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทย มานานกว่า 30 ปี ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและลึกซึ้งยิ่งกว่านักพัฒนา หรือนักวิชาการใดๆ จะมีสติปัญญาเสมอเหมือนได้ดังพระบรมราโชวาท และพระราชดำรัสของพระองค์ นับตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา ที่ได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนบนหลักแนวคิดพึ่งตนเอง เพื่อให้เกิดความพอมี พอกิน พอใช้ และมีความสุขโดยใช้หลักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทย ไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาที่สมดุล ก้าวหน้าไปอย่างสมดุลในแต่ละขั้นตอนอย่างถูกต้อง ตามหลักวิชา และการมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นกรอบในการคิด และการกระทำ สามารถประยุกต์ใช้ในทุกมิติชีวิตทุกภาคส่วนและทุกด้านของการพัฒนา เพื่อสังคมส่วนรวมจักได้อยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข และเจริญก้าวหน้าไปพร้อมกันอย่างมั่นคง และยั่งยืน ในช่วงที่ผ่านมา ประชาชน ส่วนใหญ่ต่างรู้จัก และมีความเข้าใจเบื้องต้นในแนวคิดดังกล่าวแต่อาจจะยังไม่เกิดการเรียนรู้ อย่างลึกซึ้ง และน้อมนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง จนเมื่อปี 2540 ประเทศไทย ประสบกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งนับเป็นบทเรียนที่มีผลมาจากการพัฒนาที่ไม่สมดุล และ ขาดเสถียรภาพ จึงส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้าง จะเห็นได้ว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ขาดความสมดุล โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมกับศักยภาพของคน องค์กร ภูมิสังคมของประเทศตลอดจนความพร้อมของคนและระบบ ทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงไม่ได้นำไปสู่การสร้างพื้นฐานของการพัฒนาที่มั่นคงและเข้มแข็ง หรือสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับคนและสังคมทำให้ไม่สามารถพร้อมรับความผันผวนจากปัจจัยภายในและภายนอก จนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมไทย
กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหน่วยงานหลักในการพัฒนาคนและสร้างเยาวชนให้มีคุณภาพ
ของประเทศได้ตระหนักและเห็นคุณค่าในภารกิจดังกล่าว จึงมีนโยบายที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยอัญเชิญมาใช้เป็นหลักในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพสามารถพึ่งตนเองได้ คนส่วนใหญ่พอมี พอกิน พอใช้ พออยู่ ในการดำเนินชีวิต โดยใช้ หลักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และมีคุณธรรมกำกับความรู้ เป็นกรอบในการดำรงชีวิต และเป็นพลเมืองดีของชาติ จึงได้ร่วมกับคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งมี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นประธาน ภายใต้คณะทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสถาบันการศึกษาและเยาวชน สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในวงการศึกษาเกี่ยวกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับบทบาทภารกิจของแต่ละบุคคล และปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนนำไปสู่การปรับแนวทางการพัฒนาด้วยการกำหนดนโยบายด้านการศึกษาโดยนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัวชุมชน สถาบันทางศาสนา และองค์กรภาคส่วนต่างๆ ให้มีส่วนร่วมใน การจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษา
หลักการและนโยบายที่เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้มีการกำหนดไว้เป็นกฎหมายระเบียบ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาในลักษณะต่างๆ โดยมีสาระสำคัญ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 78 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และ ความมั่นคง ของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึง ผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ มาตรา 83 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ได้อัญเชิญ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นปรัชญานำทาง ในการพัฒนาและบริหารประเทศ ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนการพัฒนาแบบบูรณาการ เป็นองค์รวมที่มี คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา โดยมุ่งวางรากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ของประเทศให้เข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและสามารถพึ่งตนเอง ได้มากขึ้น
กระทรวงศึกษาธิการมุ่งพัฒนาสถานศึกษาในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปจัด
การศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลสู่การดำเนิน ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียน ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการ ศึกษาอย่างต่อเนื่อง ได้มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดและในกำกับ ร่วมประสานความร่วมมือระหว่างกันในการดำเนินการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา และกำหนดแผนดำเนินงานหลักไว้ 4 ประการ ดังนี้
1) การสร้างความรู้ความเข้าใจ โดยการพัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ ตลอดจนกิจกรรมส่งเสริมรูปแบบต่างๆ การพัฒนาบุคลากรเครือข่าย การประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ ตลอดจนกิจกรรมส่งเสริมรูปแบบต่างๆ การพัฒนาบุคลากรเครือข่าย การประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจ
2) การนำสู่การปฏิบัติ โดยนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน และ การบริหารจัดการในสถานศึกษา
3) การประสานความร่วมมือและเชื่อมโยงเครือข่าย โดยการจัดทำฐานข้อมูลกลางเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา
4) การติดตามประเมินผล โดยการพัฒนาดัชนีตัวชี้วัดความพอเพียงของสถานศึกษา การติดตามผลงานในพื้นที่ การรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน การประเมินผลนักเรียน นักศึกษาและประชาชนที่รับบริการ ตลอดจนเชื่อมโยงผลงานของครู/ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ กับการประเมินวิทยฐานะ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 4)
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงเปรียบเสมือนแสงเทียนที่ส่องสว่างให้เห็นหนทางที่จะ ก้าวเดินต่อไปของแต่ละบุคคล ชุมชน และของประเทศชาติ โดยเป็นแนวทางที่เน้นการเจริญเติบโต ที่ค่อยๆ พัฒนาขึ้นตามศักยภาพที่มีอยู่จริง อย่างมีเหตุมีผล เป็นขั้นเป็นตอนด้วยความมั่นคง และเตรียมพร้อมด้วยความไม่ประมาทในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งทางบวกและทางลบ นับเป็นกระบวนการมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง มากกว่าการสร้างความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดที่ลอกเลียนแบบมาจากรูปแบบการพัฒนาของสังคมอื่นๆ โดยไม่พิจารณาให้รอบคอบ ซึ่งการมุ่งเน้นแต่ผลลัพธ์ในระยะสั้น มากกว่าความยั่งยืน ของการพัฒนา เป็นการเสี่ยงต่อความไม่แน่นอนทั้งหลายที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้มาก ปัจจุบันประชาชนชาวไทยทุกระดับในทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมนักวิชาการ ประชาชนทั่วไป ได้ย้อนกลับมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาและดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ในพระราชดำริ อย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไป ในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมี ผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และ ความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้ 1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติคนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และ เป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา 2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน 3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อมๆ กันดังนี้
3.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป
โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
3.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ 3.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และ การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่า จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล 4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัย ทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ 4.1 เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบ การวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ 4.2 เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต 5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
หลักสูตรเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาที่จะบ่งบอก รายละเอียดเกี่ยวกับเป้าหมาย ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ซึ่งจะเป็นกรอบ ทิศทางและแนวทางในการเตรียมที่จะพัฒนาคน ของประเทศ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งหวังให้ผู้เรียน มีความสมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา อีกทั้งมีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับ การดำรงชีวิตและมีคุณภาพได้ตามมาตรฐานสากล (กระทรวงศึกษาธิการ. 2553 ) หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 มีเป้าหมายการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การจัดการศึกษาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง คือการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน รู้จักใช้ชีวิตที่พอเพียง เห็น คุณค่าของทรัพยากรต่าง ๆ ฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ แบ่งปัน มีจิตสำนึก รักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรม ค่านิยม เอกลักษณ์ ของความเป็นไทย
การจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ ในสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ โดยในแต่ละช่วงชั้นกำหนดขอบเขตการบูรณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ไว้ดังนี้
ช่วงชั้นที่ 1 เน้นให้เด็กใช้ชีวิตพอเพียงระดับตัวเองและครอบครัว รู้จักช่วยเหลือตนเองและรู้จักช่วยเหลืองานในครอบครัว แบ่งปันสิ่งของให้เพื่อน ช่วยเหลือเพื่อน รู้จักวิเคราะห์รายรับ-รายจ่ายของตนเอง สอนให้เด็กเห็นคุณค่าของสิ่งของ ตระหนักถึงคุณค่าของเงินทอง จะได้ฝึกนิสัยประหยัด ฝึกจิตสำนึกและนิสัยพอเพียง
ช่วงชั้นที่ 2 ฝึกให้เด็กรู้จักประยุกต์ใช้หลักความพอเพียงในโรงเรียนและมีส่วนร่วม ในการสร้างความพอเพียงระดับโรงเรียนและชุมชนใกล้ตัว โดยเริ่มจากการสำรวจทรัพยากรต่าง ๆ ในโรงเรียนและชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแล บำรุงรักษาทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งด้านวัตถุ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา วัฒนธรรมและรวบรวมองค์ความรู้มาเป็นข้อมูลในการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนและการเห็นคุณค่าของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
ช่วงชั้นที่ 3 ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆของชุมชน สามารถสำรวจและวิเคราะห์ความพอเพียงระดับต่าง ๆ และในมิติต่าง ๆ ทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมในชุมชนใกล้ตัว เห็นคุณค่าของการใช้หลักพอเพียง ในการพัฒนาชุมชน และสามารถนำหลักการพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ความพอเพียงได้ในที่สุด
ช่วงชั้นที่ 4 เตรียมคนให้เป็นคนที่ดี สามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติได้ โดยเน้นเข้าใจความพอเพียงระดับประเทศและการพัฒนาประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ เช่น การวิเคราะห์สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศหรือการศึกษาสถานการณ์สิ่งแวดล้อม สภาพปัญหาด้านสังคม เป็นต้น
โรงเรียนวัดปราโมทย์ (พิศสะอาดราษฎร์อำรุง) จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษารู้จักความพอเพียง ปลูกฝัง อบรม บ่มเพาะให้นักเรียนมีความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยสอดแทรกแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เพื่อสอนให้นักเรียนรู้จักการใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่างๆ รู้จัก อยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และแบ่งปัน มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่า ของวัฒนธรรมค่านิยม ความเป็นไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รู้ว่าตนเองเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของโลก การกระทำของตนย่อมมีผลและเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมในโลกที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ด้วย จึงได้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนโดยใช้แนวทางพัฒนาของสถานศึกษาแบบอย่าง การจัดกิจกรมการเรียนรู้ขึ้นและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง)
2. วิธีดำเนินการ
วิธีดำเนินการของโรงเรียนวัดปราโมทย์ (พิศสะอาดราษฎร์อำรุง) ได้ดำเนินการ ตามนโยบายและเป้าหมายในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่แนวทางการปฏิบัติทางด้านการศึกษา ดังนี้
2.1 จัดทำนโยบายแผนงาน/โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในแผนปฏิบัติงานประจำปีของสถาน ศึกษา/ฝ่าย/สาขาวิชา/รายวิชาสม่ำเสมอ
2.2 จัดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษา วิจัยนิเทศ การบูรณาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนการสอนเกิดจากการมีส่วนร่วมของสถานศึกษา/ฝ่าย/สาขาวิชา/รายวิชา
2.3 มีการวางแผนการใช้อาคารสถานที่ โรงฝึกงาน สถานที่ฝึกประสบการณ์ แหล่งเรียนรู้ ที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับสถานศึกษา/ฝ่าย/สาขาวิชา/รายวิชา
2.4 มีแผนการใช้งบประมาณหรือระดมทุน สนับสนุนการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา/ฝ่าย/สาขาวิชา/สาขางานรายวิชา
2.5 มีแผนร่วมกับชุมชน/ให้บริการจัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมหรือสังคมหรือเศรษฐกิจหรือวัฒนธรรม ในระดับสถานศึกษา/ฝ่าย/สาขาวิชา/รายวิชา
2.6 มีการจัดแผนการเรียนรู้ที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับสถานศึกษา/สาขาวิชา/สาขางาน/รายวิชา/หน่วยการเรียนรู้
2.7 มีแนวทางให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีผลงานของนักเรียนปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับสาขาวิชา/ สาขางาน/หน่วยการเรียนรู้
2.8 มีแนวทางการใช้ผลิตเผยแพร่สื่อ/แหล่งการเรียนรู้เพื่อการ บูรณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอนระดับสถานศึกษา/สาขาวิชา/สาขางาน/รายวิชา/ หน่วยการเรียนรู้
2.9 ผู้เรียนในแต่ละสาขาวิชา/สาขางาน /รายวิชา ร้อยละ 50 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.10 มีเครื่องมือ/วิธีการวัดและประเมิน ผลการจัดแผนการเรียนรู้ที่บูรณาการปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการขับเคลื่อนปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงในระดับสาขาวิชา/สาขางาน/รายวิชา/หน่วยการเรียนให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2.11 มีระบบแนะแนว การดูแลนักเรียนการส่งเสริมทักษะอาชีพให้ผู้เรียนรู้จักศักยภาพของตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับสถานศึกษา/สาขา วิชา/สาขางาน/รายวิชา/หน่วยการเรียนรู้
2.12 มีแนวทางการจัดกิจกรรมลูกเสือ นักศึกษาวิชาทหาร และกลุ่มจิตอาสา ที่เน้น การมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับสถานศึกษา/สาขาวิชา/สาขางาน/รายวิชาให้ผลกิจกรรมยั่งยืน
2.13 มีแนวทางการส่งเสริมให้ผู้เรียนจัดทำโครงงานเรียนรู้ หรือสิ่งประ ดิษฐ์หรือ โครงการเสริมทักษะอาชีพ ที่หลากหลายตามภูมิสังคมและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา การพัฒนาสถานศึกษา/ชุมชนด้านเศรษฐกิจ หรือสังคมหรือ สิ่งแวด ล้อมหรือวัฒนธรรมตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับสถานศึกษา/สาขาวิชา/สาขางาน/รายวิชา/หน่วยการเรียนรู้
2.14 มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนจัดตั้งชุมนุมหรือชมรมหรือองค์การต่างๆที่สอดคล้องกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับสถาน ศึกษา/สาขาวิชา/สาขางาน/รายวิชา
2.15 มีการส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมหรือหลักคำสอนศาสนา ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับสถานศึกษา/สาขาวิชา/สาขางาน/รายวิชา
2.16 มีแผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากร มีการศึกษา จัดประชุม อบรม สัมมนา ดูงานแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษา /ฝ่าย/สาขา วิชา/สาขางาน/รายวิชา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.17 มีการสำรวจความต้องการความจำเป็นของบุคลากรในสถานศึกษาและส่งเสริม ให้แสวงหาความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
2.18 . มีแนวทางการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนรู้จักศักยภาพของตนเอง มีจิตสำนึกด้านจิตอาสา/จิตสาธารณะดำเนินชีวิตแบบอย่างวิถีไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับสถาน ศึกษา/สาขา วิชา/สาขางาน/รายวิชา
2.19 มีแผนการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับสถานศึกษา/สาขาวิชา/สาขางาน/รายวิชา
2.20 มีแนวทางการขยายผลและเผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่บุคคล ในระดับสถานศึกษา/ฝ่าย/สาขา วิชา/สาขางาน/รายวิชา และชุมชน สถานศึกษาอื่นใช้เป็นแบบอย่าง อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
2.21 สถานศึกษาสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ ในการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.22 มีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.23 บุคลากรของสถานศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.24 มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการวางแผนการใช้จ่ายและใช้จ่ายทรัพย์อย่างพอประมาณไม่เกินตัว
ไม่สุรุ่ยสุร่าย
3. ผลที่เกิดจากการดำเนินงาน
3.1 ผลที่เกิดกับนักเรียน
1) นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐาน การเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้น
2) นักเรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ในด้านวัตถุ/ เศรษฐกิจ มีวินัยในการใช้จ่าย มีการออมทรัพย์ตามศักยภาพ เป็นแบบอย่างในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีส่วนร่วมในการดูแลการใช้ประโยชน์จากสาธารณะสมบัติอย่างประหยัดและคุ้มค่า
3) นักเรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ในด้านสังคม ดำเนินชีวิตประจำวันโดยไม่เบียดเบียน สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น เป็นแบบอย่างในการแบ่งปัน ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับบุคคลอื่น ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม
4) นักเรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ในด้านสิ่งแวดล้อม เป็นแบบอย่างในการมีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัดและคุ้มค่า มีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน
5) นักเรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ในด้านวัฒนธรรม เป็นแบบอย่างในการเห็นคุณค่าและภูมิใจในวัฒนธรรมไทย ทั้งด้านภาษา การแต่งกาย ประเพณี ศาสนาและประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการสืบทอด สืบสาน รักษาวัฒนธรรมไทยและมรดกของชุมชน สังคมและของชาติ
6) นักเรียนได้รับการยอมรับ การยกย่องชมเชย ได้รับรางวัลจากการประกวดแข่งขัน เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ด้านคุณธรรม จริยธรรม
3.2 ผลที่เกิดกับครูและบุคลากร
1) ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องในหลักหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติอย่างมีเหตุผล พอประมาณกับศักยภาพของตน และสภาพแวดล้อมรวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีสามารถรับกับความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ และ เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้คุณธรรมนำความรู้ในการดำเนินชีวิต
2) ครูและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจความหมายที่ถูกต้องของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3) ครูและบุคลากรเป็นแบบอย่างในการวางแผนและมีวินัยในการใช้จ่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่สุรุ่ยสุร่ายมีการออมทรัพย์ตามศักยภาพ เป็นแบบอย่างในการใช้ทรัพยากร สาธารณะสมบัติ อย่างประหยัดและคุ้มค่า
4) ครูและบุคลากรเป็นแบบอย่างในการมีวินัยในตนเอง ดำเนินชีวิตโดยไม่ทำความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น มีอุปนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น บริจาคทำบุญอย่างสม่ำเสมอและทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
5) ครูและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัดและคุ้มค่า มีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน
6) ครูและบุคลกรเป็นแบบอย่างในการเห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย ทั้งด้านภาษา การแต่งกาย ประเพณี ศาสนาและประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของท้องถิ่น และประเทศชาติ มีส่วนร่วมในการสืบทอด รักษาและรณรงค์ให้โรงเรียน ชุมชน สืบทอด สานต่อ รักษาวัฒนธรรมไทยและมรดกของชาติ
3.3 ผลที่เกิดกับโรงเรียน
1) โรงเรียนมีความสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น ปลอดภัยเอื้อต่อการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2) โรงเรียนมีวัฒนธรรมองค์กรในด้านการแบ่งปัน สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน
3) โรงเรียนเป็นแกนนำในการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4) โรงเรียนมีกิจกรรม แหล่งเรียนรู้และสื่อที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ในการบริหารจัดการ และดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
3.4 ผลที่เกิดกับชุมชน
1) ชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในความหมายและหลักการสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2) ชุมชนดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
3) ชุมชนให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของโรงเรียนในการขับเคลื่อนปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง
4) ชุมชนได้รับการยกย่องด้านการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ในชีวิตประจำวัน
5) ประชาชนในชุมชนร่วมมือกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการประกอบอาชีพเพื่อใช้เป็น แหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนและประชาชนในชุมชน
3.5 ผลที่เกิดกับสังคมและประเทศชาติ
1) นักเรียน ครูและบุคลากรและประชาชนได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เกิดผลในเชิงประจักษ์ ได้ร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดี ความศรัทธาในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2) ประสบการณ์จากการดำเนินงานสร้างคุณลักษณะ อยู่อย่างพอเพียง ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางปฏิบัติ เป็นเครื่องยืนยันถึงคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะสามารถนำพาความอยู่เย็นเป็นสุขมาสู่สังคมไทยได้อย่างยั่งยืน
3) โรงเรียนและแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน เป็นสถานที่ มาศึกษาดูงานของโรงเรียนอื่น ๆ
4. แนวคิดในการพัฒนาต่อไป
4.1 ดำรงรักษาสภาพการเป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ และที่ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ ให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดแนวคิดและการร่วมมือ ในการคงสภาพและพัฒนาต่อยอดต่อไป
4.2 เสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย ความร่วมมือเพื่อการระดมทรัพยากร และแนวคิดในการพัฒนาสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
4.3 ขยายผลการดำเนินงานไปสู่ชุมชนและสถานศึกษาอื่น ๆ ด้วยการร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลองค์กรพัฒนาภาคเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน