บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการศึกษาของ
โรงเรียนบ้านสุขัง(ราษฎร์สามัคคี) ปีการศึกษา 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการการมี
ส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนบ้านสุขัง(ราษฎร์สามัคคี) ปีการศึกษา 2558
ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน
ใน 4 ด้าน ตามแนวทางการประเมินโครงการแบบ CIPP Model (Context Input Process Product
Evaluation Model) ของ Danial L. Stufflebeam
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ได้แก่ นักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนบ้านสุขัง(ราษฎร์สามัคคี) ปีการศึกษา 2558 ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie และ Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตอบแบบสอบถาม 40 ข้อ นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ตอบแบบสอบถาม 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย( xˉ ) และ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม
ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ
เป็นการประเมินความพร้อมด้านสภาพแวดล้อมของโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา
การศึกษาของโรงเรียนบ้านสุขัง(ราษฎร์สามัคคี) ปีการศึกษา 2558 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
( xˉ = 4.44 , S.D = 0.63 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ข้อ คือ ชุมชนมี
ส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายของโครงการ( xˉ = 4.66 , S.D = 0.52) นโยบายของโรงเรียนให้
ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน( xˉ = 4.59 , S.D = 0.54) โรงเรียนได้ชี้แจงนโยบายของ
โครงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ( xˉ = 4.59 , S.D = 0.71) และโครงการได้รับการสนับสนุน
จากชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง( xˉ = 4.51 , S.D = 0.54) ตามลำดับ และน้อยที่สุดคือ
มีการกำหนดขอบเขตเวลาที่แน่นอนในการดำเนินโครงการ( xˉ = 4.17, S.D = 0.77 )
2. ผลการประเมินด้านปัจจัย
ผลการประเมินด้านปัจจัยเกี่ยวกับบุคลากร ทรัพยากร และปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ
ในการดำเนินงานตามโครงการ เป็นการประเมินความพร้อมด้านบุคลากร ทรัพยากร และปัจจัย
สนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
บ้านสุขัง(ราษฎร์สามัคคี) ปีการศึกษา 2558 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( xˉ = 4.50 , S.D = 0.56)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ข้อ คือ บุคลากรมีความรู้ ความสามารถใน
การดำเนินงาน( xˉ = 4.73 , S.D = 0.46) คณะครูและชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการดำเนินโครงการ( xˉ = 4.66 , S.D = 0.52) ระยะเวลาในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม( xˉ = 4.66 , S.D = 0.52) และชุมชนมีความมั่นคงและเต็มใจในการมีส่วนร่วมดำเนินโครงการ(xˉ = 4.51 ,
S.D = 0.54) ตามลำดับ น้อยที่สุดคือ มีงบประมาณในการดำเนินงานที่เพียงพอ(xˉ = 4.24 ,
S.D = 0.66)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ
ผลการประเมินด้านกระบวนการเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ เป็นการประเมิน
ความพร้อมและความเหมาะสมของกระบวนการ โครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา
การศึกษาของโรงเรียนบ้านสุขัง(ราษฎร์สามัคคี) ปีการศึกษา 2558 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( xˉ = 4.57 , S.D= 0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 8 ข้อ ยกเว้นข้อที่ 1 และ
ข้อที่ 9 ที่อยู่ในระดับมากคือ มีการนิเทศติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ( xˉ = 4.45 ,
S.D = 0.47 ) และ มีการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการดำเนินโครงการ( xˉ = 4.17 , S.D = 0.57 )
ตามลำดับ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับผลผลิตตามโครงการ เป็นการประเมินความคิดเห็น
เกี่ยวกับโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนบ้านสุขัง(ราษฎร์
สามัคคี) ปีการศึกษา 2558 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( xˉ = 4.51 , S.D = 0.53 ) เมื่อพิจารณาเป็น
รายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด คือ นักเรียนมีความสุขและกระตือรือร้นที่จะไปโรงเรียน
( xˉ = 4.66 , S.D = 0.50 ) ชุมชนมีความพึงพอใจและให้ความร่วมมือสนับสนุนงบประมาณดำเนิน
โครงการ( xˉ = 4.57 , S.D = 0.55 ) โรงเรียนมีสถานที่และแหล่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ของนักเรียน( xˉ = 4.56 , S.D = 0.52 ) นักเรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
( xˉ = 4.56 , S.D = 0.51 ) โรงเรียนได้รับงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
เพิ่มขึ้น(xˉ = 4.53 , S.D = 0.52 ) โรงเรียนได้รับการพัฒนาด้านอาคารสถานที่ให้น่าอยู่น่าเรียน
( xˉ = 4.51 , S.D = 0.47 ) ตามลำดับ