บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบท (Content Evaluation) ของโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ในด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้
ของวัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงการและความเหมาะสมของหลักสูตรโครงการ 2) เพื่อประเมิน
ปัจจัยนำเข้าเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2
ในด้านความเหมาะสมของคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ความชัดเจนของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ระยะเวลา เครื่องมือ หลักสูตร เอกสารหลักสูตร และสถานที่ดำเนินการ 3) เพื่อประเมินกระบวน (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ในด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาความรู้ทั้งภาควิชาการและภาคปฏิบัติของโครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับครูที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษด้วยค่ายภาษาอังกฤษ(English Day Camp) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2, 4) เพื่อประเมินผลผลผลิต (Product Evaluation) โดยพิจารณา 4.1 ผลการทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ก่อนและหลังของผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 , 4.2 ความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่
ไม่จบเอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ,
4.3 ผลการนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาสมรรถนะหลัก
ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
เพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2, 4.4 ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการอบรมเกี่ยวกับ
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2, 4.5 ความ
พึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อครูผู้สอนทีเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับแนวทางการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2, 4.6 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อครูผู้สอนที่เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 , 5) เพื่อประเมินผลลัพธ์ (IEST) ของโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ในด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation)
การประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation)และการประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) ผลผลิตด้านผลสัมฤทธิ์ความคาดหวัง สิ่งที่ได้รับ ความพึงพอใจ
ของผู้เข้าค่ายที่มีต่อโครงการ และ 6) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และปัจจัยที่ส่งผล
ต่อความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการโดยการถอดบทเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ และนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ปีการศึกษา 2556 ดังนี้ 1) คณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอน ภาษาอังกฤษที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2) ครูที่เข้ารับการฝึกอบรมโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอน ภาษาอังกฤษ
ที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำนวน 234 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 3)นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่เรียน
กับครูที่เข้ารับการฝึกอบรมโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่จบ
เอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2
จำนวน 1,054 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์
ของโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2, 2) แบบสอบถามความเป็นไปได้ของเป้าหมายโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2, 3) แบบประเมินปัจจัยนำเข้าเบื้องต้น (Input Evaluation), 4) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation), 5) แบบการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation), และ 6) ประเมินด้านผลกระทบ (IEST) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และพรรณนาความ
ผลการวิจัย พบว่า
1. การประเมินผลการประเมินบริบท (Context Evaluation) เป็นการติดตาม ตรวจสอบเหตุผลความจำเป็นในการจัดทำโครงการ ความสัมพันธ์สอดคล้องของวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการ กลยุทธ์และจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีความสอดคล้อง เหมาะสมระดับดำเนินการโครงการได้ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 ด้านความเป็นไปได้ของเป้าหมายโครงการ ในภาพรวม
อยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54
2. การประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) เป็นการติดตาม ตรวจสอบความเหมาะสมของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ หลักสูตร เอกสารหลักสูตร และอาคารสถานที่ของการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่จบ
เอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2
ด้านความพร้อมและความเหมาะสมของคณะกรรมการ 1) กิจกรรมการเรียนการสอน EBE
ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 2) กิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ Teachers Kit ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 3) กิจกรรมการจัดค่ายภาษาอังกฤษ (English Day Camp) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58
และ 4) กิจกรรมการจัดค่ายภาษาอังกฤษแบบเข้ม (O-NET) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57
3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินการดำเนินงาน
ตามกิจกรรมวิธีการ ขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพัฒนาความรู้ทั้งภาควิชาการและภาคปฏิบัติของโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษ
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ความเหมาะสมของกิจกรรม EBE ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 2) กิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ Teachers Kit ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56
3) กิจกรรมการจัดค่ายภาษาอังกฤษ (English Day Camp) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และ 4) กิจกรรมการจัดค่ายภาษาอังกฤษแบบเข้ม (O-NET) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56
4. ผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เป็นการประเมินผลเกี่ยวกับผลการทดสอบความรู้ ความเข้าใจก่อนและหลังการอบรมของผู้เข้ารับการอบรม ความคิดเห็น
ความพึงพอใจของครู คณะกรรมการดำเนินงาน ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้เข้ารับการอบรม นักเรียนและผู้ปกครองของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ
ที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ดังนี้ 1) ผลการทดสอบความรู้ ความเข้าใจหลังการอบรมของผู้เข้ารับการอบรมสูงกว่าหลังการอบรมอย่างมีนัยสำคัญที่ .01 , 2) ความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
เพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54, 3) ความ
พึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อโครงการฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55, 4) ความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อครูผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อโครงการฯ
ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54, 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อครู
ผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อโครงการฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53,
5) ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52, 6) ความพึงพอใจของครูและผู้บริหารต่อพฤติกรรมที่เป็นผลจากการเข้าร่วมโครงการฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55, และ 6) ผลการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่จบ
เอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2
ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53
5. ผลการประเมินผลกระทบ (IEST) เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยพิจารณาประเด็นดังนี้ 1) ผลกระทบ (Impact Evaluation) ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่เกิดต่อองค์กร ที่เพิ่มเติมจาก
วัตถุประสงค์ของโครงการ 2) ประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) 3) ความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) 4) การถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) ของคณะกรรมการดำเนินและผู้บริหารของครูผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 และความคาดหวังความรู้ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54
6. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ ปัญหา อุปสรรค
ข้อเสนอแนะ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
เพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด