ชื่อเรื่อง : รายงานผลการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้อาชีพตามแนวพระราชดำริ
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 38 จังหวัดระนอง
ผู้รายงาน : นายปรีชา สัจจากุล
ปีการศึกษา : 2558
บทคัดย่อ
รายงานผลโครงการส่งเสริมการเรียนรู้อาชีพตามแนวพระราชดำริในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 38 จังหวัดระนอง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรายงานกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้อาชีพตามแนวพระราชดำริ โดยการนำวงจรคุณภาพของเดมิ่ง (Deming Cycle) มาประยุกต์ใช้ 2) เพื่อรายงานผลการศึกษาความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้อาชีพตามแนวพระราชดำริ 3) เพื่อรายงานผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการส่งเสริมการเรียนรู้อาชีพตามแนวพระราชดำริ จำนวน 15 รายการ คือ 1) การเรียนรู้อาชีพการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน 2) การเรียนรู้อาชีพการทำ Bio Diesel 3) การเรียนรู้อาชีพการเป็นยุวเกษตร 4) การเรียนรู้อาชีพการเป็นอาสาปศุสัตว์ 5) การเรียนรู้อาชีพการผลิตปุ๋ยชีวภาพ 6) การเรียนรู้อาชีพการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน 7) การเรียนรู้อาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ 8) การเรียนรู้อาชีพการเลี้ยงสุกร 9) การเรียนรู้อาชีพการเลี้ยงปลาดุกในระบบน้ำหมุนเวียน 10) การเรียนรู้อาชีพการเปิดดอกเห็ดนางฟ้า 11) การเรียนรู้อาชีพการปลูกข่าเหลือง 12) การเรียนรู้อาชีพการผลิตน้ำข่าเหลือง 13) การเรียนรู้อาชีพการปลูกผักสวนครัวประถมศึกษา 14) การเรียนรู้อาชีพการทำตลาดนัดนักเรียน 15) การเรียนรู้อาชีพการทำสหกรณ์ร้านค้า ซึ่งเป็นการรายงานจากการส่งเสริมการเรียนรู้อาชีพตามแนวพระราชดำริ โดยการนำวงจรคุณภาพของเดมิ่ง (Deming Cycle) มาประยุกต์ใช้ แล้วจึงดำเนินการศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้อาชีพตามแนวพระราชดำริ และศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการส่งเสริมการเรียนรู้อาชีพตามแนวพระราชดำริ เพื่อตรวจสอบความสำเร็จในการใช้วงจรคุณภาพของเดมิ่ง (Deming Cycle) มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและส่งเสริม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 416 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำแนกเป็นนักเรียน จำนวน 179 คน ครู จำนวน 43 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 179 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS Windows หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการดำเนินการ มีดังนี้
1. โรงเรียนมีการเรียนรู้อาชีพตามแนวพระราชดำริที่มีคุณภาพ จำนวน 15 รายการ คือ 1) การเรียนรู้อาชีพการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน 2) การเรียนรู้อาชีพการทำ Bio Diesel 3) การเรียนรู้อาชีพการเป็นยุวเกษตร 4) การเรียนรู้อาชีพการเป็นอาสาปศุสัตว์ 5) การเรียนรู้อาชีพการผลิตปุ๋ยชีวภาพ 6) การเรียนรู้อาชีพการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน 7) การเรียนรู้อาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ 8) การเรียนรู้อาชีพการเลี้ยงสุกร 9) การเรียนรู้อาชีพการเลี้ยงปลาดุกในระบบน้ำหมุนเวียน 10) การเรียนรู้อาชีพการเปิดดอกเห็ดนางฟ้า 11) การเรียนรู้อาชีพการปลูกข่าเหลือง 12) การเรียนรู้อาชีพการผลิตน้ำข่าเหลือง 13) การเรียนรู้อาชีพการปลูกผักสวนครัวประถมศึกษา 14) การเรียนรู้อาชีพการทำตลาดนัดนักเรียน 15) การเรียนรู้อาชีพการทำสหกรณ์ร้านค้า
2. ผลการศึกษาความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้อาชีพตามแนวพระราชดำริ พบว่า 1) ครูมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการกำหนดนโยบาย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการกำหนดนโยบาย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการส่งเสริมการเรียนรู้อาชีพตามแนวพระราชดำริ ของ นักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า 1) นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเรียนรู้อาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการเรียนรู้อาชีพการปลูกผักสวนครัวประถมศึกษา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ครูมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเรียนรู้อาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการเรียนรู้อาชีพการเลี้ยงสุกร มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเรียนรู้อาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการเรียนรู้อาชีพการเลี้ยงสุกร มีความพึงใจอยู่ในระดับมากที่สุด 4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเรียนรู้อาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการเรียนรู้อาชีพการเลี้ยงสุกร มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ มีดังนี้
1. ควรมีการพัฒนาครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจ มีความพร้อมและมีเจตคติที่ดีในบทบาทหน้าที่ด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อาชีพแก่นักเรียนให้มากขึ้น
2. ควรส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียน บุคลากรของโรงเรียน ชุมชนและบุคคลทั่วไปอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และควรเผยแพร่การดำเนินโครงการการต่อสาธารณชนผ่านสื่อต่างๆมากขึ้น