ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน อรนภา คำเกษ
คำสำคัญ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, แนวคิดสมองเป็นฐาน, ความสามารถในการใช้คำศัพท์
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อใช้และศึกษาผลการใช้โดย 2.1) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม 2.2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนามี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้รายงานให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเมืองเลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของภาษา เนื้อหา เวลา หลังจากนั้นนำชุดกิจกรรมมาทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเมืองเลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 9 คนและ 30 คน เพื่อหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสูตรการหาประสิทธิภาพ E1 และ E2 ขั้นตอนที่ 2 การใช้และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม โดย 2.1 เปรียบเทียบความสามารถในการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเมืองเลย จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง
(Purposive Sampling) แบบแผนการวิจัยคือ One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t test แบบ Dependent 2.2 การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( =4.56,S.D.=0.35) เมื่อนำไปทดลองใช้พบว่ามีประสิทธิภาพ 87.92/84.33
2. ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีดังนี้
2.1 ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 ผลการศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79, S.D. = 0.42)