ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมคอมพิวเตอร์น่ารู้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (วิชาคอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้ศึกษา นางอัญญรัตน์ สีซาแอน
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมคอมพิวเตอร์น่ารู้
ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ
เทคโนโลยี (วิชาคอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมคอมพิวเตอร์น่ารู้ประกอบการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (วิชาคอมพิวเตอร์)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม
คอมพิวเตอร์น่ารู้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี (วิชาคอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและ
หลังเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
บ้านลาดผักหนาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2557 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ชุดกิจกรรมคอมพิวเตอร์
น่ารู้ จำนวน 4 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT จำนวน 16 แผน แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (วิชาคอมพิวเตอร์)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ค่าร้อยละ และค่าที t-test
ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมคอมพิวเตอร์น่ารู้ประกอบการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (วิชาคอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.99/86.67 มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6932 หรือคิดเป็นร้อยละ 69.32 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมคอมพิวเตอร์น่ารู้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (วิชาคอมพิวเตอร์) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01