บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาประชาคมสู่อาเซียน โดยใช้กระบวนการ การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนและบริหารเครือข่ายศูนย์อาเซียนศึกษา โรงเรียนอนุบาลลพบุรี
ผู้ศึกษา นางสาวเรวดี เอี่ยมจินตนากิจ
ปีการศึกษา 2557
.................................................................
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาประชาคมสู่อาเซียน โดยใช้กระบวนการ การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนและบริหารเครือข่ายศูนย์อาเซียนศึกษา โรงเรียนอนุบาลลพบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยอาศัยรูปแบบการประเมินซิปป์( CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน ครูผู้สอนในโรงเรียน จำนวน 90 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน จำนวน 13 คน นักเรียนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวน 554 คน ผู้ปกครองนักเรียนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบไม่เจาะจง จากผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 2 ฉบับ ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ฉบับที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.968 และฉบับที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.931 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการพัฒนาประชาคมสู่อาเซียน โดยใช้กระบวนการ การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนและบริหารเครือข่ายศูนย์อาเซียนศึกษา โรงเรียนอนุบาลลพบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 มีดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม ของผู้บริหารและครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับ
มาก (x̄=4.13 ) เมื่อพิจารณาออกเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดใน 3 อันดับแรก คือโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน โดยใช้กระบวนการ การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนและบริหารเครือข่ายศูนย์อาเซียนศึกษา ได้กำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด (x̄= 4.44 ) รองลงมา คือ โรงเรียนกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาประชาคมสู่อาเซียน ได้อย่างชัดเจน(x̄ = 4.34 ) และโรงเรียนกำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน (x̄= 4.31 ) ตามลำดับ
-2-
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น ของผู้บริหารและครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับ
มาก (x̄=4.15 ) เมื่อพิจารณาออกเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดใน 3 อันดับแรก คือ โรงเรียนมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานในโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน ฯและกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการไว้อย่างชัดเจน (x̄= .4.52 ) รองลงมา คือ โรงเรียนกำหนดขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
โครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนฯ ไว้อย่างชัดเจน (x̄= 4.42 ) และโรงเรียนกำหนดขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนฯ ไว้อย่างชัดเจน (x̄ = 4.37) ตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ มีดังนี้
3.1 ผลการประเมินด้านกระบวนการ ของผู้บริหารและครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.20) เมื่อพิจารณาออกเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดใน 3 อันดับแรก คือ โรงเรียนได้ดำเนินงานจัดกิจกรรมที่กำหนดในโครงการตามขั้นตอนครบทุกกิจกรรม (x̄ = 4.62 ) รองลงมา ครูผู้สอนจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องอาเซียน ได้อย่างหลากหลายและเหมาะสมกับกลุ่มนักเรียน (x̄ = 4.53) โครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนฯ มีการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน และโรงเรียนได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนฯ ตามแผนงานที่วางไว้ และความพร้อมของผู้บริหารและครูผู้สอนดำเนินงานจัดทำข้อมูลความรู้เรื่องอาเซียนอย่างเป็นระบบ ครบถ้วน เป็นปัจจุบันและสามารถนำข้อมูลไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และสรุปผลการประเมินและรายงานให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ (x̄ = 4.36) ตามลำดับ
3.2 ผลการประเมินด้านกระบวนการ ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.11 ) เมื่อพิจารณาออกเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดใน 3 อันดับแรก คือ โรงเรียนได้ดำเนินงานจัดกิจกรรมที่กำหนดในโครงการตามขั้นตอนครบทุกกิจกรรม (x̄ = 4.42 ) รองลงมา คือ ครูผู้สอนจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องอาเซียน ได้อย่างหลากหลายและเหมาะสมกับกลุ่มนักเรียน (x̄= 4.28 ) ผู้บริหารและครูมีกลวิธีจูงใจให้ความรู้แก่นักเรียน และนักเรียนรู้สึกสบายใจ เมื่อได้ได้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และความพร้อมของผู้บริหารและครูผู้สอนดำเนินงานจัดทำข้อมูลความรู้เรื่องอาเซียนอย่างเป็นระบบ ครบถ้วน เป็นปัจจุบันและสามารถนำข้อมูลไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และสรุปผลการประเมินและรายงานให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ (x̄ =4.24 ) ตามลำดับ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต มีดังนี้
4.1 ผลการประเมินของผู้บริหารและครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
(x̄= 4.29 ) เมื่อพิจารณาออกเป็นรายด้าน พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยทั้ง 3 ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผู้เรียน(x̄= 4.33) ค่าเฉลี่ยรองลงไปคือ ด้านการบริหารจัดการศูนย์อาเซียนศึกษา (x̄= 4.28) และ ด้านการบริหารจัดการเครือข่าย(x̄= 4.25) โดยมีรายละเอียดค่าเฉลี่ยแต่ละด้าน ดังนี้
-3-
ด้านผู้เรียน ข้อที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียนและประชาคมอาเซียน (x̄= 4.56) รองลงไปคือ นักเรียนมีความตระหนัก และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน (x̄= 4.40) และ นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสวงหาความรู้และส่งต่อความรู้แก่ นักเรียน ครู โรงเรียนในเครือข่าย ผู้ปกครองและประชาชน (x̄= 4.36) ตามลำดับ
ด้านการบริหารจัดการศูนย์อาเซียนศึกษา ข้อที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ศูนย์อาเซียนศึกษามีการดำเนินกิจกรรมในการสร้างความตระหนักและการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพ (x̄= 4.42) รองลงไปคือ ครูมีความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน (x̄= 4.34) และโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากบุคคลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการทำงาน (x̄= 4.31) ตามลำดับ
ด้านการบริหารจัดการเครือข่าย ข้อที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด โรงเรียนมีการสร้างเครือข่ายเครือข่ายเพื่อเผยแพร่ข้อมูลและขยายผลการดำเนินงานเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (x̄= 4.43) รองลงไปคือ ครูและนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน (x̄= 4.36) และโรงเรียนในเครือข่ายสามารถนำแนวทางของโรงเรียนไปดำเนินการได้อย่างเหมาะสม(x̄= 4.29) ตามลำดับ
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.19) เมื่อพิจารณาออกเป็นรายด้าน พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยทั้ง 3 ด้านผลผลิตที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผู้เรียน(x̄= 4.22) ค่าเฉลี่ยรองลงไปคือ ด้านการบริหารจัดการศูนย์อาเซียนศึกษา (x̄= 4.19) และ ด้านการบริหารจัดการเครือข่าย(x̄= 4.19) โดยมีรายละเอียดค่าเฉลี่ยแต่ละด้าน ดังนี้
ด้านผู้เรียน ข้อที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียนและประชาคมอาเซียน (x̄= 4.35) รองลงไปคือ นักเรียนมีความตระหนัก และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน (x̄= 4.30) และ นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสวงหาความรู้และส่งต่อความรู้แก่ นักเรียน ครู โรงเรียนในเครือข่าย ผู้ปกครองและประชาชน (x̄= 4.24 ) ตามลำดับ
ด้านการบริหารจัดการศูนย์อาเซียนศึกษา ข้อที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนมีศูนย์อาเซียนศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความพร้อมสำหรับนักเรียน ครู โรงเรียนในเครือข่ายและประชาชน (x̄= 4.32 ) รองลงไปคือ ศูนย์อาเซียนศึกษามีการดำเนินกิจกรรมในการสร้างความตระหนักและการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพ (x̄= 4.26) และโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากบุคคลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการทำงาน (x̄= 4.11) ตามลำดับ
ด้านการบริหารจัดการเครือข่าย ข้อที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนมีการสร้างเครือข่ายเพื่อเผยแพร่ข้อมูลและขยายผลการดำเนินงานเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (x̄= 4.29) รองลงไปคือ ครูและนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และมีเจตคติที่ดี
-4-
เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน (x̄= 4.22) และโรงเรียนในเครือข่ายสามารถนำแนวทางของโรงเรียนไปดำเนินการได้อย่างเหมาะสม(x̄=4.18 ) ตามลำดับ
สรุปผลโดยภาพรวมการประเมิน พบว่า ผู้ประเมิน มีความคิดเห็นต่อ การประเมินโครงการ
พัฒนาประชาคมสู่อาเซียน โดยใช้กระบวนการ การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนและบริหารเครือข่ายศูนย์อาเซียนศึกษา โรงเรียนอนุบาลลพบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 มีการดำเนินการอยู่ในระดับที่เหมาะสมมากทุกด้าน โดยสามารถเรียงลำดับได้ความเหมาะสมมากที่สุด คือ ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านปัจจัย ตามลำดับ
คำสำคัญ โครงการพัฒนาประชาคมสู่อาเซียน การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ การจัดการเรียนรู้สู่
ประชาคมอาเซียน