ชื่อการวิจัย การจัดทำเอกสารประกอบการเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 5 (ว23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย มูเธียร่า ยามู
ปีที่เผยแพร่ ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัยเรื่องการจัดทำเอกสารประกอบการเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 5 (ว23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนที่จัดทำขึ้นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนจากการใช้เอกสารประกอบการเรียนที่ได้จัดทำขึ้น 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนในการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนที่ได้จัดทำขึ้น
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้เรียนที่เรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 5 (ว23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 20 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) เอกสารประกอบการเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 5 (ว23101) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมการเรียนในเอกสารประกอบการเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน
2) แบบประเมินคุณภาพของเอกสารประกอบการเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญ
3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนในการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนที่จัดทำขึ้น
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) เอกสารประกอบการเรียนที่จัดทำขึ้นมีประสิทธิภาพเฉลี่ยร้อยละ 82.44/81.63 แสดงว่าเอกสารประกอบการเรียนมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) ผลการเรียนก่อนเรียนเปรียบเทียบกับผลการเรียนหลังเรียน เมื่อพิจารณาเป็นรายหน่วยปรากฏว่า ผลการทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ย 26.29 และผลการทดสอบหลังเรียนเฉลี่ย 81.29 โดยมีค่า t เท่ากับ 56.47 และเมื่อพิจารณาผลการเรียนก่อนเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 5 (ว23101) และผลการเรียนหลังเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 5 (ว23101) ปรากฏว่าผลการเรียนก่อนเรียนเฉลี่ยร้อยละ 27.42 และผลการเรียนหลังเรียนร้อยละ 80.83 โดยมีค่า t เท่ากับ 31.76 ในระดับความเชื่อมั่นที่ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนจากการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ปรากฏว่ามีค่าเฉลี่ย µ เท่ากับ 4.78 และ เท่ากับ 0.16 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้