ชื่อผลงานทางวิชาการ รายงานผลการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ
โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ผู้วิจัย นางประทุมทิพย์ ไพเราะ
ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีคุณภาพ ในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นส่วนที่สำคัญยิ่งที่จะต้องพิจารณาเป็นอันดับแรก เนื่องจากผู้เรียนที่มีคุณภาพจะส่งผลให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข ประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมกับวัย โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐให้ความสำคัญและน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนกับการส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักและนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาปฏิบัติให้เกิดขึ้นกับนักเรียนและโรงเรียนดำเนินการโครงการโรงเรียนปลอดขยะ เพื่อแก้ปัญหาขยะภายในโรงเรียนที่มีปริมาณ มากขึ้น อีกทั้งได้กำหนดเป็นโครงการไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 เป็นต้นมา ผู้วิจัยจึงทำการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ เพื่อนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงและพัฒนาโครงการและกิจกรรมให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะ 4) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการโรงเรียนปลอดขยะ และ 6) เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 คน ได้แก่ คณะครู นักเรียนโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการในปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ มี 2 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้
ฉบับที่ 1 แบบประเมินความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของกิจกรรมกับนโยบายของกระทรวง นโยบายกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นโยบายของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ นโยบายโรงเรียน ความจำเป็นของโรงเรียน เป็นแบบประเมินสำหรับครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา เป็นข้อคำถามความคิดเห็นแบบปลายปิด แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
ฉบับที่ 2 แบบประเมินเกี่ยวกับปัจจัยเบื้องต้นด้านความเหมาะสมและพอเพียงเกี่ยวกับวิทยากร งบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชนในเขตบริการของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เป็นแบบประเมินสำหรับครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา เป็นข้อถามความคิดเห็นแบบปลายปิด แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีจำนวน 5 ตอน
ฉบับที่ 3 แบบประเมินเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินการตามโครงการกับความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิทินการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ ขั้นตอน จุดเด่น จุดด้อยการนิเทศติดตามผลและสิ่งที่ต้องแก้ไขในการดำเนินงาน เป็นแบบประเมินสำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษา เป็นข้อคำถามความคิดเห็นแบบปลายปิด แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับและคำถามชนิดปลายเปิด
ฉบับที่ 4 แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ เป็นแบบประเมินสำหรับครู นักเรียน ผู้ปกครอง เป็นข้อคำถามความคิดเห็นแบบปลายปิด แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
ฉบับที่ 5 แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการโรงเรียนปลอด เป็นแบบประเมินสำหรับผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา เป็นข้อคำถามความคิดเห็นแบบปลายปิด แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ
ประเภทที่ 2 แบบประเมินประเภทความเรียง จำนวน 1 ข้อ โดยเป็นแบบประเมินสำหรับครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาเขียนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก การดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ในปี 2558
การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการวิเคราะห์ความสอดคล้อง ความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ การปฏิบัติตามกระบวนการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ผลสำเร็จของโครงการและความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า มีความความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของกิจกรรมกับนโยบายของกระทรวง นโยบายกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นโยบายของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ นโยบายโรงเรียน ความจำเป็นของโรงเรียน โดยภาพรวม มีระดับความสอดคล้องและความเหมาะสม อยู่ในระดับ มากที่สุด
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นด้านความเหมาะสม / พอเพียงของปัจจัยเบื้องต้น ด้านความเหมาะสมและพอเพียงเกี่ยวกับวิทยากร งบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชนในเขตบริการของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐแต่ละกิจกรรม พบว่า
2.1 ปัจจัยเบื้องต้นของกิจกรรมการลดการใช้ซ้ำและคัดแยก นำกลับมาใช้ประโยชน์ ในภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสม/พอเพียงอยู่ในระดับ มากที่สุด
2.2 ปัจจัยเบื้องต้นของกิจกรรมคัดแยกและใช้ประโยชน์ขยะอินทรีย์และขยะรีไซเคิล ในภาพรวม มีความเหมาะสม/พอเพียงอยู่ในระดับ อยู่ในระดับ มากที่สุด
2.3 ปัจจัยเบื้องต้นของกิจกรรมการจัดการขยะรีไซเคิล ในภาพรวม มีความเหมาะสม/พอเพียงอยู่ในระดับ อยู่ในระดับ มากที่สุด
2.4 ปัจจัยเบื้องต้นของกิจกรรมการจัดการขยะทั่วไป ในภาพรวมมีความเหมาะสม/พอเพียง อยู่ในระดับ อยู่ในระดับ มากที่สุด
2.5 ปัจจัยเบื้องต้นของกิจกรรมการจัดการขยะอันตราย ในภาพรวม มีความเหมาะสม/พอเพียง อยู่ในระดับ อยู่ในระดับ มากที่สุด
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ตามความคิดเห็นของครู เกี่ยวกับความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิทินการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ ขั้นตอน จุดเด่น จุดด้อย การนิเทศติดตามผลและสิ่งที่ต้องแก้ไขในการดำเนินงานของโครงการในแต่ละกิจกรรม พบว่า
3.1 กระบวนการดำเนินตามกิจกรรมการลดการใช้ซ้ำและคัดแยกนำกลับมาใช้
ประโยชน์ในภาพรวม ระดับของปฏิบัติอยู่ในระดับปฏิบัติ มากที่สุด
3.2 กระบวนการดำเนินตามกิจกรรมคัดแยกและ ใช้ประโยชน์ ขยะอินทรีย์และขยะ รีไซเคิล ในภาพรวม ระดับของปฏิบัติอยู่ในระดับปฏิบัติ มากที่สุด
3.3 กระบวนการดำเนินงานตามกิจกรรมการจัดการขยะรีไซเคิล ในภาพรวม ระดับของปฏิบัติอยู่ในระดับปฏิบัติ มากที่สุด
3.4 กระบวนการดำเนินตามกิจกรรมการจัดการขยะทั่วไป ในภาพรวม ระดับของปฏิบัติอยู่ในระดับปฏิบัติ มากที่สุด
3.5 กระบวนการดำเนินตามกิจกรรมการจัดการขยะอันตราย ในภาพรวม ระดับของปฏิบัติอยู่ในระดับปฏิบัติ มากที่สุด
4. ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
4.1 ระดับจิตสำนึก พฤติกรรมของผู้เรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียน ในภาพรวม
มีระดับของการปฏิบัติอยู่ในระดับ มากที่สุด
4.2 ผลสำเร็จของโครงการด้านความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะอาด พบว่า ระดับผลสำเร็จของโครงการด้านความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะอาด ในภาพรวม มีระดับของความสำเร็จอยู่ในระดับ มากที่สุด
4.3 การดำเนินกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ สามารถ ลดปริมาณขยะในโรงเรียนได้และผู้เรียนสามารถคัดแยกขยะได้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5,979.70 กิโลกรัม
5. ความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนและในชุมชน ที่มีต่อโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด
6. ผลกระทบของโครงการ
ผลกระทบของโครงการ พบว่า มีผลกระทบต่อโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา โดยได้รับการรับรองให้เป็นสถานศึกษาพอเพียง ในปี พ.ศ. 2552 ทั้งนี้เป็นมาจากผลการดำเนินงานในทุกกิจกรรมของของโครงการบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการ ทำให้สามารถพัฒนาให้เป็นนักเรียนที่ดี มีความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถขยายผลไปสู่ชุมชน โดยนักเรียน สามารถที่จะนำความรู้ ผลจากการฝึกปฏิบัติจริง ไปใช้ในชีวิตประจำ ส่งผลต่อพฤติกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ปรากฏชัดเจนและ ที่สำคัญที่สุด การดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะ อย่างจริงจังและต่อเนื่องส่งผลให้โรงเรียน ให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เชื่อมั่นและศรัทธาเลื่อมใสของชุมชนโดยโรงเรียนได้ดำเนินการเข้าร่วมกิจกรรมการประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์ โดยการนำเสนอผลงานของนักเรียนออกแบบเผยแพร่และประกวด ในวันสำคัญต่างๆ ร่วมกับหน่วยงานภายนอก เช่น โครงงาน EM บอล โครงงาน Waste is Gold ที่ชนะเลิศระดับเทศบาล ระดับเขตภาคเหนือและได้รับรางวัลระดับประเทศ นอกจากนั้นมีการนำผลงานของนักเรียนร่วมประกอบในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหกรรมวิชาการเขตภาคเหนือ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์และเข้าร่วม การประกวดหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม จากการที่โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และนำมากำหนดเป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียน วิถีท่าอิฐ ชีวิตพอเพียง โดยใช้กิจกรรม หยิบ แยก ขาย ฝาก เป็นกิจกรรมเด่นและปลูกฝังให้เกิดแก่ผู้เรียน นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียนที่บูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอีกมากมาย จนประสบผลสำเร็จ จึงได้ส่งเข้าประกวดโครงการ หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม One School One Innovation : OSOI)ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ซึ่งเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดสรรนวัตกรรมที่มีคุณค่าทางวิชาการและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเพื่อสร้างเสริมขวัญกำลังใจแก่สถานศึกษาในรูปแบบการนำเสนอผลงานนวัตกรรม เพื่อเป็นการพัฒนาสถานศึกษาทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยใช้ชื่อนวัตกรรมว่า การพัฒนากระบวนการการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่วิถีท่าอิฐ ชีวิตพอเพียง โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จังหวัดอุตรดิตถ์ และผลจากการประกวดนวัตกรรมดังกล่าว โรงเรียนเทศบาล ท่าอิฐได้รับรางวัลเหรียญทองแดงจากสำนักงานคุรุสภา ซึ่งนับได้ว่าเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่โรงเรียนประสบผลสำเร็จจากการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในการจัดกิจกรรมในโรงเรียน