ชื่อเรื่อง : รายงานผลการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้วิถีพ่อวิถีพอเพียง
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 43 จังหวัดสงขลา
ผู้รายงาน : นายสุรินทร์ เพ็ชรนิล
ปีการศึกษา : 2558
บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้วิถีพ่อวิถีพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 43 จังหวัดสงขลา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรายงานกระบวนการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้วิถีพ่อวิถีพอเพียง โดยการนำวงจรคุณภาพของเดมิ่ง (Deming Cycle) มาประยุกต์ใช้ 2) เพื่อรายงานผลการศึกษาความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อกระบวนการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ 3) เพื่อรายงานผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้วิถีพ่อวิถีพอเพียง จำนวน 18 รายการ คือ 1) แหล่งการเรียนรู้การปลูกปาล์มเฉลิมพระเกียรติ 2) แหล่งการเรียนรู้การทำอิฐบล็อก 3) แหล่งการเรียนรู้การเลี้ยงแกะ 4) แหล่งการเรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับโดยการปักชำ 5) แหล่งการเรียนรู้การทำขนมบอระเพ็ด 6) แหล่งการเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุก 7) แหล่งการเรียนรู้การทำบ่อมะนาว 8) แหล่งการเรียนรู้การพิมพ์ลายเสื้อ 9) แหล่งการเรียนรู้การเลี้ยงไก่ไข่ 10) แหล่งการเรียนรู้การประดิษฐ์ของที่ระลึก 11) แหล่งการเรียนรู้การแสดงเพื่อความบันเทิง 12) แหล่งการเรียนรู้การผลิตน้ำดื่ม 13) แหล่งการเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า 14) แหล่งการเรียนรู้ผลิตผลจากหน่อไผ่ 15) แหล่งการเรียนรู้การตัดเย็บของใช้จากผ้า 16) แหล่งการเรียนรู้ธนาคารโรงเรียน 17) แหล่งการเรียนรู้สหกรณ์ร้านค้า 18) แหล่งการเรียนรู้ห้องสมุดเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นการรายงานจากการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้โดยการนำวงจรคุณภาพของเดมิ่ง (Deming Cycle) มาประยุกต์ใช้ แล้วจึงดำเนินการศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อกระบวนการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ และศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความสำเร็จในการใช้วงจรคุณภาพของเดมิ่ง (Deming Cycle) มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 544 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำแนกเป็นนักเรียน จำนวน 240 คน ครู จำนวน 49 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 240 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS Windows หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X- ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการดำเนินการ มีดังนี้
1. โรงเรียนมีแหล่งการเรียนรู้วิถีพ่อวิถีพอเพียงที่มีคุณภาพ จำนวน 18 รายการ คือ 1) แหล่งการเรียนรู้การปลูกปาล์มเฉลิมพระเกียรติ 2) แหล่งการเรียนรู้การทำอิฐบล็อก 3) แหล่งการเรียนรู้การเลี้ยงแกะ 4) แหล่งการเรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับโดยการปักชำ 5) แหล่งการเรียนรู้การทำขนมบอระเพ็ด 6) แหล่งการเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุก 7) แหล่งการเรียนรู้การทำบ่อมะนาว 8) แหล่งการเรียนรู้การพิมพ์ลายเสื้อ 9) แหล่งการเรียนรู้การเลี้ยงไก่ไข่ 10) แหล่งการเรียนรู้การประดิษฐ์ของที่ระลึก 11) แหล่งการเรียนรู้การแสดงเพื่อความบันเทิง 12) แหล่งการเรียนรู้การผลิตน้ำดื่ม 13) แหล่งการเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า 14) แหล่งการเรียนรู้ผลิตผลจากหน่อไผ่ 15) แหล่งการเรียนรู้การตัดเย็บของใช้จากผ้า 16) แหล่งการเรียนรู้ธนาคารโรงเรียน 17) แหล่งการเรียนรู้สหกรณ์ร้านค้า 18) แหล่งการเรียนรู้ห้องสมุดเคลื่อนที่
2. ผลการศึกษาความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อกระบวนการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้วิถีพ่อวิถีพอเพียง พบว่า 1) ครูมีความคิดเห็นทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 รองลงมา คือ ด้านการกำหนดนโยบายและด้านการตรวจสอบ ทบทวน ปรับปรุง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการกำหนดนโยบาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้วิถีพ่อวิถีพอเพียง ของ นักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า 1) นักเรียนมีความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านแหล่งการเรียนรู้การเลี้ยงแกะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านแหล่งการเรียนรู้การแสดงเพื่อความบันเทิง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ครูมีความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านแหล่งการเรียนรู้การเลี้ยงแกะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านแหล่งการเรียนรู้การแสดงเพื่อความบันเทิง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านแหล่งการเรียนรู้การเลี้ยงแกะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านแหล่งการเรียนรู้ผลิตผลจากหน่อไผ่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 มีความพึงใจอยู่ในระดับมากที่สุด 4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านแหล่งการเรียนรู้การเลี้ยงแกะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านแหล่งการเรียนรู้การแสดงเพื่อความบันเทิง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด