ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับการใช้
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้วิจัย นางสยามนต์ บุญชิต
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน ตระกาศประชาสามัคคี ตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับการใช้ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพบริบทด้านแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักการ ซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการ ซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการนิเทศ และการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 5 ท่าน เจ้าของแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น จำนวน 10 คน ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยระดับ ชั้นมัธยมศึกษาเพื่อร่วมถอดบทเรียนในการประเมินรูปแบบการเรียนการสอน จำนวน 5 คน
ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Develop-ment) แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพบริบทด้าน แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับ การใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการ ซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับความพร้อมของสภาพบริบทด้านแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี จำนวน 1 ฉบับ 2) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความพร้อมของสภาพบริบทด้านแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี จำนวน 1 ฉบับ 3) แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา จำนวน 1 ฉบับ 4) รูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และเอกสารประกอบรูปแบบ 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว จำนวน 1 ฉบับ 6) แบบวัดความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ฉบับ และ 7) แบบบันทึกการถอดบทเรียนการประเมินรูปแบบ การเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาประสิทธิภาพของรูปแบบโดยใช้สูตร E1/E2 และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดย การทดสอบที (t-test Dependence Sample) ในส่วนของข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ผลการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย สาระการอ่าน สาระการเขียน สาระการฟัง การดู และการพูด สาระหลักการใช้ภาษาไทย และสาระวรรณคดีและวรรณกรรม ผลการศึกษาสภาพความพร้อมของบริบทแหล่งเรียนรู้ภายในท้องถิ่นและความต้องการจำเป็นในการรู้ภาษาไทยด้วยหลักการซิปปา ได้ข้อสรุปว่า หลักการ ทฤษฎีต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยศึกษาเพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดในการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมสอดคล้องกับรูปแบบที่สร้างขึ้น และเมื่อศึกษาสภาพความพร้อมของบริบทแหล่งเรียนรู้ภายในท้องถิ่น โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี พบว่า แหล่งเรียนรู้มีความพร้อมและเอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนนี้ ทั้งเจ้าของแหล่งเรียนรู้ยังยินดีให้ความร่วมมือ และพร้อมอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ แก่นักเรียน นอกจากนี้ ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ด้วยหลักการซิปปา พบว่า นักเรียนมีความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ด้วยหลักการซิปปาอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับการใช้ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน มีความคิดเห็นว่าทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความเหมาะสมสอดคล้องของหลักการทฤษฎีต่าง ๆ ด้านความเป็นไปได้ของรูปแบบ และด้านความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และโดยภาพรวม รูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับการใช้ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X bar = 4.64)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวก่อนเรียนด้วยรูปแบบ เท่ากับ 23.23 และได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวหลังเรียนด้วยรูปแบบ เท่ากับ 41.77 จากคะแนนเต็ม 48 คะแนน เมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 87.07/87.01 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยพิจารณาอยู่ 3 ประเด็น กล่าวคือ 1) ประเด็นผลผลิต คือความสามารถของนักเรียนด้านการเขียนสารคดี 2) ประเด็นความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบ คือความพึงพอใจของนักเรียน และ 3) ประเด็นการนำไปใช้และพัฒนาต่อเนื่อง ศึกษาจากครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 5 ท่าน พบว่า ความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประเด็นความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับมากที่สุด (X bar = 4.59) และผลการถอดบทเรียนเพื่อประเมินรูปแบบ โดยสรุป พบว่า ครูผู้สอนภาษาไทยเห็นพ้องต้องกันว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเป็นประโยชน์ และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เหมาะกับการพัฒนานักเรียนและสามารถต่อยอด ประยุกต์ในเนื้อหาอื่น ๆ และรายวิชาอื่น ๆ ได้อย่างดี