บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ เรื่อง พื้นฐานศิลปะการแทงหยวกพื้นถิ่นเพชรบุรี 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนศิลปะการแทงหยวกพื้นถิ่นเพชรบุรี 3) หาค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ เรื่อง พื้นฐานศิลปะการแทงหยวกพื้นถิ่นเพชรบุรี และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อชุดฝึกทักษะ โดยใช้แผนการทดลองแบบ One Group Pretest Posttest Design
กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดไชยสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยการจับสลากมาหนึ่งห้องเรียนจากสองห้องเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดฝึกทักษะตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ เรื่อง พื้นฐานศิลปะการแทงหยวกพื้นถิ่นเพชรบุรี จำนวน 20 แผนการจัดการเรียนรู้ 2) ชุดฝึกทักษะตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ เรื่อง พื้นฐานศิลปะการแทงหยวกพื้นถิ่นเพชรบุรี จำนวน 5 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนศิลปะ เรื่อง พื้นฐานศิลปะการแทงหยวกพื้นถิ่น จำนวน 40 ข้อ เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ เรื่อง พื้นฐานศิลปะการแทงหยวกพื้นถิ่นเพชรบุรี และ 5) แบบประเมินคุณภาพชุดฝึกทักษะตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ เรื่อง พื้นฐานศิลปะการแทงหยวกพื้นถิ่นเพชรบุรี สำหรับผู้เชี่ยวชาญ
ก่อนดำเนินการทดลอง ผู้รายงานให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน ซึ่งแบบทดสอบมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 จากนั้นสอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดฝึกทักษะ ที่ผู้รายงานสร้าง เมื่อเรียนจบในแต่ละหน่วยให้นักเรียนทำแบบทดสอบท้ายชุด และเก็บคะแนนไว้คำนวณหาค่าทางสถิติต่อไป เมื่อเรียนครบทั้ง 5 หน่วย แล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนศิลปะ เรื่อง เรื่อง พื้นฐานศิลปะการแทงหยวกพื้นถิ่นเพชรบุรี หลังเรียนอีกครั้ง และให้นักเรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจต่อชุดฝึกทักษะวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติ / ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า ค่าสถิติ t test (t - dependent) ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการศึกษา
1. การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ เรื่อง พื้นฐานศิลปะการแทงหยวกพื้นถิ่นเพชรบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 87.98/83.50
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดไชยสุรินทร์ หลังเรียนโดยชุดฝึกทักษะตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ เรื่อง พื้นฐานศิลปะการแทงหยวกพื้นถิ่นเพชรบุรี มีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ (The Effectiveness Index) ของนักเรียนในการเรียนจากชุดฝึกทักษะตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ เรื่อง พื้นฐานศิลปะการแทงหยวกพื้นถิ่นเพชรบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นมีคะแนนการทดสอบเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 68
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ เรื่อง พื้นฐานศิลปะการแทงหยวกพื้นถิ่นเพชรบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน