การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดใต้โพธิ์ค้ำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบันรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นโรงเรียนเทศบาล ๔ วัดใต้โพธิ์ค้ำ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดใต้โพธิ์ค้ำ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดใต้โพธิ์ค้ำ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดใต้โพธิ์ค้ำ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้บริหาร จำนวน 2 คน ครูจำนวน 17 คน รวมจำนวน 19 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน ผู้ปกครองและชุมชน จำนวน 187 คน และนักเรียน จำนวน 187 คน ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น ผู้บริหาร และครู จำนวน 19 คน คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน ผู้ปกครองและชุมชน จำนวน 123 คน และนักเรียน จำนวน 123 คน ประกอบด้วยนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 รวมทั้งหมด จำนวน 273 คน ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามการมีส่วนร่วม สภาพปัจจุบัน แนวทางพัฒนา และสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น ของโรงเรียน (Analysis : A) จากขั้นตอนที่ 1 (Research : R1) โดยใช้แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจุบัน พบปัญหามากที่สุดด้านรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม คือการส่งเสริมและพัฒนาให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ด้านการจัดการศึกษาในระบบ โรงเรียนขาดการนิเทศ ติดตามการสอนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ความเหมาะสมของแหล่งเรียนรู้ต่อการจัดการเรียนการสอนไม่มากเท่าที่ควร การจัดอบรมให้ความรู้ตามบทบาทหน้าที่แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีน้อย ด้านการ จัดการศึกษานอกระบบ มีปัญหามากสุดด้านโรงเรียนจัดกิจกรรมโครงการการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย ด้านความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินตามความต้องการของผู้เรียน และด้านการ จัดการศึกษาตามอัธยาศัย พบปัญหามากสุดด้านโรงเรียนส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน เช่น ค่ายอาสาตามความสนใจของผู้เรียน
2. ผลของการออกแบบและแนวทางพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (Design and Development : D and D) จากขั้นตอนที่ 2 (Development : D1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแนวทางในการพัฒนา รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สำหรับครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองและชุมชน เสนอแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาในระบบ โดยให้มีการสร้างเครือข่ายระหว่างบุคลากรในโรงเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาร่วมกันจัดการศึกษาที่ตรงตามความต้องการของนักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตามและตรวจสอบด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน ทำให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะที่พึงประสงค์และค่านิยมที่ดี และนักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมในการวางแผนจัดการศึกษาของโรงเรียน และให้โรงเรียนจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต แนวทางการพัฒนาด้านการจัดการศึกษานอกระบบ เสนอให้โรงเรียนทำการสำรวจความต้องการของผู้เรียนในการเรียนรู้หรือความต้องการในการฝึกอบรม ส่วนแนวทางการพัฒนาด้านการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ให้โรงเรียนทำการสำรวจความต้องการของผู้เรียนในการเรียนรู้ตามความสนใจตามศักยภาพ ตามความพร้อมและตามโอกาส
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (Implementation : I) จากขั้นตอนที่ 3 (Research : R2)
การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดใต้โพธิ์ค้ำ เป็นการตอบคำถามการวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัย ผู้วิจัยได้นำผลการทดลองพัฒนารูปแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น ตามขั้นตอนที่ 2 มาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตามระดับความคิดเห็นข้อเสนอแนะของผู้ให้ข้อมูล ที่ได้นำไปทดลองใช้และประเมินความเหมาะสม นำไปปฏิบัติได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น
การปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น โดยผู้วิจัยได้นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงและพัฒนารูปแบบ
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (Evaluation : E) จากขั้นตอนที่ 4 (Development : D2)
การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น เป็นการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จากตัวแทนครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชน จำนวน 273 คน ทำการประเมินความเหมาะสม ความมีระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองและชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด