รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
และการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้
ปัญหาการสื่อสาร และการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางราตรี จันทคุด
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาการสื่อสารและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางการสื่อสารและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาการสื่อสารและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และขั้นตอนเป็นการทดลองใช้รูปแบบ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และนำรูปแบบการเรียนการสอนไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 43 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ระยะเวลาดำเนินการ 23 ชั่วโมง เครื่องมือประกอบด้วย แผนการจัดการเรียน แบบทดสอบในการแก้ปัญหาการสื่อสารและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ศึกษาในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที (T-Test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เพื่อหาผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนของการกระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบ 4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยขั้นตอนของกระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบนั้นประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจด้วยการเผชิญปัญหาที่ท้าทาย 2) ขั้นลงมือปฏิบัติอย่างกระตือรือร้นเพื่อสืบค้นความรู้ 3) ขั้นร่วมกันตรวจสอบความรู้ดูมติกลุ่ม 4) ขั้นนำไปประยุกต์
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาการสื่อสารและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
2.1 ความสามารถในการแก้ปัญหา การสื่อสาร และการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ความสามารถในการแก้ปัญหา การสื่อสาร และการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา การสื่อสาร และการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์อย่างชัดเจน นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปอย่างสม่ำเสมอและค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับโดยสามารถแก้ปัญหา สื่อสาร และเชื่อมโยงความรู้และหลักการทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหาได้มากขึ้น