เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของวัสดุในชีวิตประจำวัน
เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย เสาวณี ขุนทองจันทร์
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของวัสดุในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นการวิจัยตามแนวคิด ADDIE Model ของเควิน ครูส (Kevin Kruse 2008 : 1) ประยุกต์ร่วมกับ กรอบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของวัสดุในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของวัสดุในชีวิตประจำวัน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของวัสดุในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เนื้อหาที่นำมาสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของวัสดุในชีวิตประจำวัน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาลบ้านนาเหนือ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของวัสดุในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ใช้ระยะเวลาในการทดลองสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงเป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแบบสอบถามความพึงพอใจ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า MPHEIACEE Model โดยมี องค์ประกอบดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะ ความสามารถ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 9 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Motivating Step) ขั้นที่ 2 ขั้นกำหนดปัญหา (Problem Definition Step) ขั้นที่ 3 ขั้นตั้งสมมติฐาน (hypothesis Step) ขั้นที่ 4 ขั้นทดลอง (Experimenting Step) ขั้นที่ 5 รวบรวมข้อมูล (Information Step) ขั้นที่ 6 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Step) ขั้นที่ 7 ขั้นสรุปผล (Conclusion Step) ขั้นที่ 8 ขั้นประเมินผล (Evaluation Phase Step) ขั้นที่ 9 ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Extension Phase Step)ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความ สอดคล้องกัน (IOC = 0.87) และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ (E1/E2) แบบกลุ่มใหญ่ (Filed Tryout) กับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านนาเหนือ จำนวน 30 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 87.57/86.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ80/80 ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อที่ 1
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของวัสดุในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้านผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัด การเรียนรู้เรื่อง สมบัติของวัสดุในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของวัสดุในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัด การเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของวัสดุในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของวัสดุในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของวัสดุในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านประโยชน์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ รองลงมา ได้แก่ ด้านกิจกรรม การเรียนการสอน ลำดับที่ 3 คือ ด้านวัดและประเมินผล และด้านตัวครูผู้สอน เป็นลำดับสุดท้าย