การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน
ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเต็มรักศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 31 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยจับฉลาก 1 กลุ่ม จากจำนวน 4 ห้องเรียน ซึ่งเป็นห้องเรียนที่จัดแบบคละ เก่ง ปานกลาง อ่อน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มี 4 ชนิด ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย เนื้อหาจำนวน 5 หน่วยการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 แผน 20 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ละ 10 ข้อ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเป็นข้อสอบชุดเดียวกันแต่สลับข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (StandardoDeviation) และการทดสอบค่าที t-test แบบ Dependent
ผลการศึกษาoปรากฏดังนี้ 1) ผลรวมค่าสถิติจากแบบทดสอบระหว่างเรียน (E1) ทั้ง 5 หน่วยการเรียนรู้ พบว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละจากการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน (E1) เท่ากับ 84.72 และคะแนนเฉลี่ยร้อยละจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน (E2) เท่ากับ 85.61 มีประสิทธิภาพ 84.72/85.61 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 31 คน (กลุ่มตัวอย่าง) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ทั้ง 5 หน่วยการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ทั้ง 5 หน่วยการเรียนรู้ จำนวน 50 ข้อ 50 คะแนน (หน่วย
การเรียนรู้ละ 10 ข้อ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 31 คน (กลุ่มตัวอย่าง) พบว่า
มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7591 นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7591 หรือ คิดเป็นร้อยละ 75.91
4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 31 คน (กลุ่มตัวอย่าง)
ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจด้านออกแบบการสอนมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.43 อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านเนื้อหาบทเรียน
มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.10 อยู่ในระดับมาก และด้านคำแนะนำการใช้บทเรียน มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.08 อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ สรุปผลการประเมินคะแนนเฉลี่ย ( ) ทุกด้านเท่ากับ 4.26 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.58 ( = 4.26, S.D. = 0.58) แสดงว่านักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1/2 โรงเรียนเต็มรักศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี มีความพึงพอใจต่อการเรียน
ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในระดับมาก