ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน
เรื่อง นครไทยบ้านเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ชื่อผู้วิจัย นางพรระวี จันทร์ย่อย
ปีที่ทำการวิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง นครไทยบ้านเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้ มีจุดประสงค์
1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง นครไทยบ้านเรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง นครไทยบ้านเรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง นครไทยบ้านเรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาความสามารถใน
การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 70 คน และครูผู้สอนวิชาภาษาไทยตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษและ
มีความเชี่ยวชาญในการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ความต้องการของนักเรียนเกี่ยวกับรูปแบบของหนังสือส่งเสริมส่งเสริมการอ่านและแบบสัมภาษณ์ครูเกี่ยวกับการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน วิชาภาษาไทย สถิติที่ใช้ใน คือ ค่าเฉลี่ยและ
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ผู้วิจัยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาและด้านการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย จำนวน 5 ท่าน
ตรวจความเหมาะสมของหนังสือส่งเสริมการอ่าน แล้วนำไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนศรีอินทราทิตย์พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 3 ครั้ง จำนวนนักเรียน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง นครไทยบ้านเรา จำนวน 6 เล่ม และแบบทดสอบความสามารถในการอ่าน
จับใจความ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า E1//E2
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง นครไทยบ้านเรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนศรีอินทราทิตย์พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้คือ หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง นครไทยบ้านเรา จำนวน 6 เล่ม และแบบทดสอบความสามารถในการอ่านจับใจความ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test แบบ dependent
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริม
การอ่าน เรื่อง นครไทยบ้านเรา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนศรีอินทราทิตย์พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาความสามารถในการอ่าน
จับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความต้องการหนังสือส่งเสริมการอ่าน
ที่จะช่วยเพิ่มความสนใจในการอ่านมากขึ้น ควรมีภาพประกอบที่ตรงกับเนื้อเรื่อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับชุมชน ท้องถิ่น ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มเล็ก 2-3 คน ควรมีลักษณะและรูปแบบที่ให้นักเรียนได้อ่านอย่างหลากหลาย เป็นหนังสือในแนวประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยว
การพัฒนาอาชีพ ประวัติบุคคลสำคัญ และครูผู้สอนมีความคิดเห็นว่าเป็นเรื่องที่ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันประสงค์ต่าง ๆ แก่นักเรียนและอาจมีการจัดให้นักเรียนได้ไปทัศนศึกษานอกสถานที่เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ตลอดจนควรมีการวัดและประเมินตามสภาพจริง
2. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง นครไทยบ้านเรา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า แบบเดี่ยวได้ประสิทธิภาพ เท่ากับ 64.44/63.33 แบบกลุ่ม ได้ประสิทธิภาพ เท่ากับ 72.31/71.85 และภาคสนามได้ค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.17/82.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง นครไทยบ้านเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่อง นครไทยบ้านเรา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.08/83.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน
จับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่อง นครไทยบ้านเรา พบว่าคะแนนความสามารถในการอ่านจับใจความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง นครไทยบ้านเรา ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก