ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา สาระความปลอดภัยในชีวิต หน่วยการปฐมพยาบาล
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นายบุตษา ยางทุ่ง
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านปางแก(สภาประชานุกูล) อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน สาระความปลอดภัยในชีวิต หน่วยการปฐมพยาบาล และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปางแก(สภาประชานุกูล)
อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน สาระความปลอดภัยในชีวิต หน่วยการปฐมพยาบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพของบทเรียน E1 / E2 และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t – test for dependent sample
ผลการศึกษาพบว่า ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน หน่วยการปฐมพยาบาล ที่สร้างขึ้นได้ จำนวน 10 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่องที่ 1 บาดแผลตัด มีค่าประสิทธิภาพ 88.50 / 85.50 เรื่องที่ 2 แผลฟกช้ำ มีค่าประสิทธิภาพ 84.00 / 84.50 เรื่องที่ 3 แผลถลอก มีค่าประสิทธิภาพ 80.50 / 83.00 เรื่องที่ 4 แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก มีค่าประสิทธิภาพ 87.00 / 82.50 เรื่องที่ 5 แมลงกัดต่อย มีค่าประสิทธิภาพ 87.00 / 84.00 เรื่องที่ 6 เลือดกำเดาไหล มีค่าประสิทธิภาพ 84.50 / 85.50 เรื่องที่ 7 ข้อเคล็ด มีค่าประสิทธิภาพ 87.50 / 86.00 เรื่องที่ 8 คนเป็นลม มีค่าประสิทธิภาพ 82.00 / 83.50 เรื่องที่ 9 สุนัขบ้ากัด มีค่าประสิทธิภาพ 85.00 / 83.50 เรื่องที่ 10 บาดแผลถูกของแหลมคมทิ่มตำ มีค่าประสิทธิภาพ 88.50 / 85.50 และชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน ทั้ง 10 ชุด โดยรวมมีประสิทธิภาพ 85.45 / 84.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียน ปรากฏว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
โดยสรุป การศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบว่า ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน หน่วยการปฐมพยาบาล ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นได้มาตรฐานตามเกณฑ์และสามารถใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนได้