ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E–Book) วิชาภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
ผู้รายงาน นางสาวจันทนา อินทร์นิมิตร
สถานศึกษา โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E–Book) วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E–Book) วิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E–Book) เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E–Book) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 4 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 127 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 404 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E–Book) วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง ประกอบด้วยเนื้อหา จำนวน 5 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามวัดความความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E – Book) จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า (Rating scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าประสิทธิภาพของแบบฝึก (E1/E2) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที
(t–test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E – Book) วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง มีประสิทธิภาพ 81/89 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E – Book) วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E – Book) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง โดยรวมอยู่ในระดับมาก