ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบ โครงงาน สำหรับเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้ศึกษา จงจิตร วิเชียรรัตน์
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยการใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการวิจัยและพัฒนามี 4 ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนิยาม ความสามารถ พฤติกรรมบ่งชี้และแนวทางการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยการใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดโครงสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์ และเครื่องมือประกอบการใช้จากเอกสารละงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทำการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ จากนั้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยการใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน ก่อนนำไปทดสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยการใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างเป็นครูปฐมวัย จำนวน 6 คน และเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 90 คน ของโรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ระยะเวลาในการจัดประสบการณ์ 12 สัปดาห์ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยการใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน สำหรับเด็กปฐมวัย โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วยเครื่องมือการจัดประสบการณ์ คือ รูปรูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยการใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน สำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่แบบทดสอบความสามารถ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบแสดงผลงานความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
ผลการวิจัยพบว่า
1) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่าง
สร้างสรรค์ หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสติถิที่ระดับ .05
2) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่าง
สร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงานสำหรับเด็กปฐมวัยมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้รับการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่าง
สร้างสรรค์ โดยการใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน สำหรับเด็กปฐมวัย มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 4 ระยะ คือ ก่อนการจัดประสบการณ์ หลังการจัดประสบการณ์ครั้งที่1 หลังการจัดประสบการณ์ครั้งที่ 2 และติดตามผลการจัดประสบการณ์ มีพัฒนาการสูงขึ้นอย่างเป็นลำดับ และมีความคงทนของพฤติกรรมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยในระยะติดตามผลการจัดประสบการณ์ และพบว่า เด็กปฐมวัยเกิดจินตนาการ การคิดสร้างสรรค์ การคิดหาเหตุผลในการนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ตามระดับพัฒนาการใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
4) ครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการจัดประสบการณ์อยู่ในระดับดีมาก มี
ความสามารถในการเขียนแผน การจัดประสบการณ์ และมีความสามารถในการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัยตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ อยู่ในระดับมาก และมีความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ มีความเหมาะสม และอยู่ในระดับมาก เนื่องจากเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่แสดงแนวคิด กระบวนการจัดประสบการณ์สื่อปละการจัดสภาพแวดล้อม และการประเมินที่ชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้ตามสภาพจริง