ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาครูด้านการเสริมสร้างศักยภาพนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ชื่อผู้วิจัย นายสมัย วงศ์ษาพาน ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
สำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ปีที่วิจัย 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการเสริมสร้างศักยภาพนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสกลนคร เพื่อพัฒนารูปแบบเพื่อเสริมสร้างศักยภาพนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสกลนครด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
เพื่อทดลองใช้รูปแบบเพื่อเสริมสร้างศักยภาพนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสกลนครด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ เพื่อประเมินความพึงพอใจการใช้รูปแบบเพื่อเสริมสร้างศักยภาพนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสกลนครด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9
คน ครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสกลนคร จำนวน 120 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 60 คน ผู้ปกครองเครือข่าย จำนวน 375 คน และนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสกลนครปีการศึกษา 2557 จำนวน 375 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามสภาพและปัญหาการเสริมสร้างศักยภาพนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสกลนคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อเสนอแนะประเด็นต่างๆ ตามหัวข้อรูปแบบ คู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบเพื่อเสริมสร้างศักยภาพนักเรียน แบบบันทึกผลการประชุม เพื่อพิจารณาผลการทดลองใช้รูปแบบเพื่อเสริมสร้างศักยภาพนักเรียน แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่า
1 ผลการพัฒนาศักยภาพครู พบว่า ครูได้รับการพัฒนาตนเองมีการพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนวิธีสอน สามารถออกแบบกิจกรรมได้หลากหลายสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของโรงเรียนและนักเรียน มีการใช้กระบวนการกลุ่ม จัดกิจกรรมใช้ความคิด อภิปราย การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ มีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังพบว่า ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้น ในส่วนของการทำวิจัยในชั้นเรียนครูมีความกระตือรือร้น สนใจ แสวงหาความรู้ และสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้ทุกคน
2. ผลการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พบว่า มีผลงานการเรียนรู้ที่หลากหลาย จากการที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง ได้คิด ได้ลงมือปฏิบัติจริง จากการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ ทำให้นักเรียนเป็นนักแสวงหาความรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ทั้งที่เป็นเอกสาร วัสดุ สถานที่ บุคคลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเพื่อน ครู วิทยากร อินเทอร์เน็ต และเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ตลอดจนเป็นผู้รับรู้ที่ดี
3. ผลการพัฒนาสื่อแหล่งเรียนรู้ พบว่า ครูมีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและนำสื่อมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น ได้ปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการต่างๆ ให้มีความสมบูรณ์ ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต ซึ่งมีทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลาย ทั้งด้านเอกสารสิ่งพิมพ์ สามารถให้บริหารได้อย่างทั่วถึง ให้บริการระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริหารการศึกษาค้นคว้าของนักเรียนให้เพียงพอด้วยระบบ Wireless LAN และมีการจัดเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับพิมพ์งานและสื่อค้นข้อมูลให้นักเรียนในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
4. ผลการส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา พบว่า ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนมากขึ้น ซึ่งทางโรงเรียนได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองภาคเรียนละ 2 ครั้ง เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ไขปัญหาของนักเรียนโดยให้ผู้ปกครองได้พบปะพูดคุยกับครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และมีการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ ในชุมชนมาใช้ในการจัดการศึกษาและเปิดโอกาสใช้ชุมชนได้มีส่วนร่วมใช้ประโยชน์จากอาคารสถานที่
วัสดุอุปกรณ์และบุคลากรของโรงเรียน โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ข้อมูลแก่ชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
5. ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางกาเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม สาระการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 และร้อยละของผลการเรียนเฉลี่ยในทุกรายวิชาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ผ่านเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด เมื่อพิจาณาเป็นรายสาระการเรียนรู้ พบว่า สาระการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ย 3.54 รองลงมาได้แก่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าเฉลี่ย 2.88 ส่วนสาระการเรียนรู้ ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 1.98
6. ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบเพื่อเสริมสร้างศักยภาพนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสกลนคร ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอนนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Title The Model to Develop Teachers on Enhancing Students Potentials at the Schools under an Authority of Sakon Nakhon Municipality, Sakon Nakhon Province
Researcher Mr. Samai Wongsaparn Position: Educational Supervisor
Level: Special Expertise, Department of Education, Sakon Nakhon Municipality, Sakon Nakhon Province
Year of Study 2014
ABSTRACT
This research aims to1) investigate the conditions and problems on enhancing students potentials at the schools under an authority of Sakon Nakhon municipality, 2) develop the model for enhancing students potentials at the schools under an authority of Sakon Nakhon municipality using participatory action research, 3) to try out the model for enhancing students potentials at the schools under an authority of Sakon Nakhon municipality using participatory action research and 4) to assess the satisfaction in implementing the model for enhancing students potentials at the schools under an authority of Sakon Nakhon municipality using participatory action research. The samples comprise 5 experts, 9 school directors, 120 teachers at the schools under an authority of Sakon Nakhon municipality, 60 committee of educational institutions, 375 students parents and 375 students at the schools under an authority of Sakon Nakhon municipality. The quantitative data were analyzed with the use of basic statistical methods, namely, percentage, mean ( ) and standard deviation (S.D.), the content as being the qualitative data was analyzed. The research instruments comprised the questionnaire investigating the conditions and problems in enhancing students potentials at the schools under an authority of Sakon Nakhon municipality, an interviewing form, recommendation report according to the model topics, the handbook in conducting the model for enhancing students potentials, the meetings report to criticize the results of implementing the model for enhancing students potentials, student achievement report, and the satisfaction assessment form for the groups of people who were involved.
The findings of the research are as follow;
1. The results of developing teachers potentials reveal that teachers gain self development by improving the lesson plans, changing teaching techniques and are able to design various activities relevant to the present conditions of school and students. The other techniques are implemented such as group work process, thinking activities, group discussion, problem solving from various situations and the learning teaching media are developed. Besides, teachers have opportunities to share knowledge and experience more. Teachers are eager to practice the classroom research, interested in acquiring knowledge and all of them could conduct the classroom action research.
2. The results of developing the learning process reveal that there are various kinds of students learning products from participating in the activities. Students have opportunities to think and practice during conducting activities that support them to search for more knowledge from both in school and the outside. They study from documents, equipments, places, internet and people who are friends, teachers and lecturers and they could be both the knowledge givers and the good receivers.
3. The results of developing the media of learning resources reveal that teachers construct and develop the instructional media and adopt those into classroom activities more. The teachers improve and develop the laboratories to be ready for conducting learning and teaching activities. The development of living library that provides various information technologies such as documentaries that could service students thoroughly. There is the sufficient speed internet using wireless LAN and also the computer lab for students to search for information and surf the net.
4. The results of enhancing cooperative work with community on education reveal that the community has more opportunities in managing education with schools. The schools hold the meeting with the basic educational institution committee and students parents 2 times in a semester that they could share knowledge and experience together. The parents have opportunities to share opinions and discuss with teachers, try to solve the students problems and set up the student care and support system. The various resources in community are mobilized in managing the education and community could take part in the use of school buildings, other school equipments and the personnel in schools. The schools update and broadcast the information to the community continuously.
5. The results of assessing the learning achievement reveal that the students learning achievements of all 8 content areas in the second semester of academic year 2014 are higher than in the first semester of academic year 2014. The percentage of the mean score of all subjects in the second semester of academic year 2014 is higher than the school criteria. In analyzing by each content areas, the content area of Health and Physical Education could gain the highest mean score (3.54). The second highest mean score is the content area of Thai Language (2.88) and the lowest mean score is the content area of Sciences (1.98).
6. The results of assessing the satisfaction from the basic education committee, teachers, students and students parents towards the model on enhancing students potentials at the schools under an authority of Sakon Nakhon municipality using the participatory action research, it reveals that the basic education committee, teachers, students and students parents are satisfied at much level.