ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนา ชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ทัศนศิลป์กับวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษาค้นคว้า สามล นะวะกะ
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพ ชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ทัศนศิลป์กับวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย ชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ทัศนศิลป์กับวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของ ชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ทัศนศิลป์กับวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อ ชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ทัศนศิลป์กับวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 46 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) ชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ทัศนศิลป์กับวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 ชุด 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย ชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ทัศนศิลป์กับวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อ ชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ทัศนศิลป์กับวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) และ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ จำนวน 10 แผน 18 ชั่วโมง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ทัศนศิลป์กับวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า มีประสิทธิภาพ 83.84/83.04 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 แสดงว่าชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ทัศนศิลป์กับวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ได้
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ทัศนศิลป์กับวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบของนักเรียนหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบของนักเรียนหลังเรียน สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ดัชนีประสิทธิผลของชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ทัศนศิลป์กับวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลจากการหาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ทัศนศิลป์กับวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 0.7078 ซึ่งหมายความว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.78 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 0.50 ขึ้นไป
4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ทัศนศิลป์กับวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 ค่าเฉลี่ยของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.91