บทคัดย่อ
หัวข้อการศึกษา รายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาพหุปัญญาด้วยการละเล่นพื้นบ้าน
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวสุคนธา งามชัด ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาล ๑(สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) อำเภอชุมแพ
จังหวัดขอนแก่น
สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองชุมแพ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนพัฒนา
พหุปัญญา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ด้วยการละเล่นพื้นบ้าน 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนา พหุปัญญาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ด้วยการละเล่นพื้นบ้านให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีผลการพัฒนาพหุปัญญาผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม ในการศึกษาครั้งนี้มี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาดังนี้ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติจริง ได้แก่ แผนการกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาพหุปัญญา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม แบบประเมินการตอบคำถาม แบบประเมินการทำใบงาน แบบประเมินพัฒนาการด้าน พหุปัญญา 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ จำนวน 50 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า 1) พหุปัญญาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑(สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) โดยภาพรวมทั้ง 8 ด้าน มีค่าเฉลี่ย 20.73 คิดเป็นร้อยละ 86.39 อยู่ในระดับค่อนข้างสูง แสดงให้เห็นว่าการสะท้อนผลจากการสังเกตพฤติกรรม การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการสู่พหุปัญญา สามารถพัฒนานักเรียนได้ทั้ง 8 ด้านตามทฤษฎีของโฮวาร์ด การ์ดเนอร์ เมื่อพิจารณาพหุปัญญาด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2.02 คิดเป็นร้อยละ 67.33 คือ ด้านมิติสัมพันธ์ และพหุปัญญาด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 คิดเป็นร้อยละ 100 พหุปัญญาด้านดนตรี แสดงว่านักเรียนมีความถนัดด้านดนตรี ศิลปะ และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกลุ่มเพื่อน และครู 2) วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ได้ทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 50 ข้อ พบว่า จากตารางที่ 3 พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ย 7.73 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 38.67 ของคะแนนเต็มคะแนนหลังเรียนเฉลี่ย 16.70 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 83.50 และคะแนนเฉลี่ยของพัฒนาการ 8.97 คะแนน แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพหุปัญญา ด้วยการละเล่นพื้นบ้าน
มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 โดยใช้สูตร E1/E2 จากผลการประเมินกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยของพหุปัญญาทั้ง 8 ด้าน คิดเป็นร้อยละ 86.39 และผลการทำแบบทดสอบก่อน เรียน และหลังเรียนพบว่า มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 83.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 แสดงว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพหุปัญญา มีความเหมาะสมในการนำไปใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 3) จำนวนนักเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ที่กำหนดของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ได้ทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ พบว่า จากตารางที่ 4 พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ย 7.62 คะแนน คะแนนหลังเรียนเฉลี่ย 16.38 คะแนน ซึ่งเกณฑ์กำหนดให้ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 พบว่ามีนักเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 100 แสดงว่าจากการทดสอบก่อน หลังเรียน เพื่อดูพัฒนาการของนักเรียนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น กว่า คะแนนผลการทดสอบก่อนเรียน 8.75 คะแนน และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน คิดเป็นร้อยละ 80 มากกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 70 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพหุปัญญา ด้วยการละเล่นพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ จริง