ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ผู้วิจัย นางหทัยรัตน์ วิวาสุขุ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน โรงเรียนพรานวิบูลวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการเรียนการสอนแบบร่มมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ การเรียนการสอนแบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนจริง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในประเด็น 3.1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ ประสิทธิภาพ 75/75 3.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3 .3) เปรียบเทียบทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนจริง การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพรานวิบูลวิทยา ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 77 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสังเคราะห์โครงร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 5 คน เพื่อปรับปรุงโครงร่างของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สร้างเครื่องมือและทดลองใช้เครื่องมือเพื่อหาคุณภาพ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อหาประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนพรานวิบูลวิทยา ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จานวน 33 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 4 การประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (dependent sample)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. สภาพทั่วไปของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า จากผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม ในปีการศึกษา 2558 ตัวบ่งชี้ที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน อยู่ในระดับพอใช้ โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคะแนนเท่ากับ 1.07 อยู่ในระดับปรับปรุง โดยเฉพาะในสาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ นักเรียนมีคะแนนในสาระนี้ต่ำที่สุด ซึ่งรูปแบบ การเรียนการสอนที่ต้องการนำมาแก้ปัญหาดังกล่าว ครู และนักเรียน ต่างเสนอความคิดเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ ต้องการรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ร่วมกับสื่อนวัตกรรมทางการศึกษา 2. รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนจริง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นกระตุกต่อมคิด (Starting Thinking Step) (2) ขั้นเตรียมพิชิตฝัน (Preparing Step) (3) ขั้นมุ่งมั่นเรียนรู้ (Learning Step) (4) ขั้นพรั่งพรูประสบการณ์ (Sharing Experience Step) (5) ขั้นติดตามช่วยเหลือ (Following and Helping Step) 4) หลักของการปฏิสัมพันธ์ 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมด้านองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนจริง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ เรื่อง จำนวนจริง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.95/78.59 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนด
3.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนจริง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนจริง มีทักษะทางสังคม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนจริง มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51)