ชื่องานวิจัย รายงานการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่อง การบวก ลบ คูณ ทศนิยม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ชื่อผู้วิจัย นางสุขใจ สุขสมพืช ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาลมาบตาพุด กองการศึกษา เทศบาลเมืองมาบตาพุด
จังหวัดระยอง
ปีที่ทำการวิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ ทศนิยม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลมาบตาพุด ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 70 และให้จำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป (3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ ทศนิยม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / 3 โรงเรียนเทศบาล
มาบตาพุด กองการศึกษา เทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียน
ที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ จำนวน 15 แผนการจัดการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผล
การปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกการสังเกตกิจกรรมการเรียน แบบบันทึกผลหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ บัตรกิจกรรม แบบทดสอบท้ายวงจร และแบบสัมภาษณ์นักเรียน 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวก ลบ คูณ ทศนิยม การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีวงจรปฏิบัติการ 3 วงจร การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสรุปเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 77.08 และจำนวนนักเรียนร้อยละ 83.33 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป
2. ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตาม
แนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ซึ่งมีในด้านโครงสร้างความรู้ ด้านการแก้ปัญหา/การใช้เหตุผล และด้านคุณลักษณะอื่นๆ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน และรายข้อ พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก