บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการสร้างนักเรียน สร้างสังคมสู่ทักษะในศตวรรษที่ 21 : บูรณาการ หลักการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL มีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ประเมินปัจจัยการดำเนินงาน (Input Evaluation) ประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) และประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการสร้างนักเรียน สร้างสังคมสู่ทักษะในศตวรรษที่ 21 : บูรณาการ หลักการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL โรงเรียนเทศบาล 2 วัดโพธิ์ สังกัดเทศบาลตำบลบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโพธิ์ จำนวน 7 คน คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ จำนวน 10 คน ครูที่ปฏิบัติการสอนจำนวน 5 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 จำนวน 78 คน และผู้ปกครองนักเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 จำนวน 78 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 178 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อประเมินบริบท (Context) ของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมความสอดคล้องและความต้องการในการจัดทำโครงการสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ทักษะในศตวรรษที่ 21 : บูรณาการ หลักการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL โรงเรียนเทศบาล 2 วัดโพธิ์ สังกัดเทศบาลตำบลบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา (ฉบับที่ 1) แบบสอบถามเพื่อประเมินปัจจัยการดำเนินงาน (Input) เกี่ยวกับความเหมาะสมและความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ โสตทัศนูปกรณ์ในการดำเนินโครงการ (ฉบับที่ 2) แบบสอบถามเพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process) เกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL โรงเรียนเทศบาล 2 วัดโพธิ์ สังกัดเทศบาลตำบลบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา (ฉบับที่ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อโครงการสร้างนักเรียน สร้างสังคมสู่ทักษะในศตวรรษที่ 21 : บูรณาการหลักการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL (ฉบับที่ 4-6) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินโดยสรุป ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการสร้างนักเรียน สร้างสังคมสู่ทักษะในศตวรรษที่ 21 : บูรณาการ หลักการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL เกี่ยวกับความเหมาะสม ความสอดคล้องและความต้องการในการจัดทำโครงการ คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ และครูมีคิดความเห็น ด้านความเหมาะสม ความสอดคล้องและความต้องการในการจัดทำโครงการอยู่ในระดับ มากที่สุด ซึ่งมีความสอดคล้องกันกับการสนทนากลุ่มในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวกับจุดแข็งและโอกาสที่เอื้อและสนับสนุนให้การจัดการเรียนการสอน คณะครูจึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อใช้ในการดำเนินการพัฒนาในปีการศึกษา 2556 -2557 โครงการดังกล่าวคือ โครงการสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ทักษะในศตวรรษที่ 21 : บูรณาการหลักการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเกี่ยวกับความเหมาะสม และความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณสื่อ วัสดุอุปกรณ์ โสตทัศนูปกรณ์ในการดำเนินโครงการ คณะกรรมการฝ่ายวิชาการและครูมีความเห็นสอดคล้องกันด้านความเหมาะสม ความสอดคล้องและความต้องการในการจัดทำโครงการอยู่ในระดับ มากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ และการนิเทศติดตามตามขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ สรุปได้ดังนี้
3.1 การปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ คณะกรรมการฝ่ายวิชาการและครูมีความเห็นสอดคล้องกัน สรุปแล้วเห็นว่า ระดับการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ ปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน
3.2 การนิเทศติดตามตามขั้นตอนการดำเนินงานโครงการตามความคิดเห็นของคณะกรรมการฝ่ายวิชาการและครูส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับการดำเนินงานของโครงการสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ทักษะในศตวรรษที่ 21 : บูรณาการหลักการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของโครงการ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการ ปรากฏผลสรุปได้ดังนี้
4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 2 ของ
ปีการศึกษา 2556 และปีการศึกษา 2557 ผลการศึกษา พบว่า ในภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ของปีการศึกษา 2557 มีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าปีการศึกษา 2556 จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ แสดงว่าโครงการสร้างนักเรียน สร้างสังคมสู่ทักษะในศตวรรษที่ 21 : บูรณาการ หลักการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL มีส่วนทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยรวมสูงขึ้น
4.2 ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการสร้างนักเรียน สร้างสังคมสู่ทักษะในศตวรรษที่ 21 : บูรณาการหลักการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ประกอบด้วย ครูผู้สอน กรรมการฝ่ายวิชาการ นักเรียน กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 รางวัลที่นักเรียนได้รับ รางวัลระดับสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวนหลายรายการทุกปีการศึกษา