ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย นายยุทธพงษ์ วังนุราช
ปีที่วิจัย 2557
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 เทศบาลอนุสรณ์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 35 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ให้ความสำคัญกับบุคคลในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สภาพการจัดการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำ สาเหตุมาจากวิธีการสอนของครูและจากการวิเคราะห์หลักการแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จึงได้ออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทำให้ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ชื่อว่า STARS Model มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1) ศึกษาโจทย์ปัญหา ขั้นตอนที่ 2) แปลงข้อมูลในโจทย์ปัญหาเป็นสมการ ขั้นตอนที่ 3) หาคำตอบของโจทย์ปัญหา ขั้นตอนที่ 4) ทบทวนคำตอบ ขั้นตอนที่ 5) แลกเปลี่ยนแนวทางในการแก้ปัญหา
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ STARS Model พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
4. ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก