ชื่อรายงาน การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการความรู้
บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน
ในการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ผู้ศึกษา ปราณี ภูมิพงศ์
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดควนขัน)
ปีที่ทำการศึกษา พ.ศ. 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ชีวิตที่พอเพียง ไม่เสี่ยงความยากจน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดควนขัน) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนโดยใช้เอกสารประกอบ การเรียนตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ชีวิตที่พอเพียง ไม่เสี่ยงความยากจน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนตามแนว การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ชีวิตที่พอเพียง ไม่เสี่ยงความยากจน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดควนขัน) ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการเรียนตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ชีวิตที่พอเพียง ไม่เสี่ยงความยากจน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 11 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานบ้าน) และ 4)แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนของนักเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ชีวิตที่พอเพียง ไม่เสี่ยงความยากจน แบบแผนการศึกษาที่ใช้คือ One Group Pretest Posttest Design สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบค่าที (t-test dependent)
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ชีวิตที่พอเพียง ไม่เสี่ยงความยากจน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 84.94/91.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ชีวิตที่พอเพียง ไม่เสี่ยงความยากจน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานบ้าน) สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ชีวิตที่พอเพียง ไม่เสี่ยงความยากจน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.55