วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย นางรองรัตน์ วรสาร
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มัวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้มัลติมิเดียที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ และการคิดขั้นสูงของผู้เรียน 2) ศึกษาการคิดขั้นสูงของผู้เรียนที่เรียนด้วยโมเดลการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเมื่อเรียนด้วยโมเดล การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยโมเดลการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 โรงเรียนบัวขาว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 45 คน รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Research ) โดยแบ่งการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) การพัฒนาโมเดล 2) การตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดล และ 3) การใช้โมเดล ได้เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการคิดขั้นสูงด้วยการวิเคราะห์โปรโตคอล (Protocol Analysis) รวมทั้งเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) ผลการออกแบบและพัฒนาโมเดลการสร้างความรู้ที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ และการคิด
ขั้นสูง พบว่า
ระยะที่ 1 การพัฒนาโมเดล พบว่า โมเดลมีองค์ประกอบที่สำคัญ 7 องค์ประกอบ ได้แก่
สถานการณ์ปัญหา (Problem Base) คลังปัญญาภาษาน่ารู้ (Resources) ฐานความช่วยเหลือ
(Scaffolding) การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration) คลินิกภาษาอังกฤษ (English Skill Clinic)
ห้องส่งเสริมการคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking Support Room) และห้องปฏิบัติการทางภาษา
(English Skill Laboratory)
ระยะที่ 2 การหาความตรงโมเดลฯ พบว่า โมเดลฯ มีความตรงภายในและมีความตรง
ภายนอก
ระยะที่ 3 การใช้โมเดลฯ พบว่า กระบวนการใช้โมเดลมี 4 ขั้น คือ (1) การนำเข้าสู่
บทเรียน พบว่า การเชื่อมโยงความรู้ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี (2) การจัดกลุ่มผู้เรียน พบว่า จำนวน
ผู้เรียน 3 คนต่อกลุ่มมีความเหมาะสม ระยะเวลาในการเรียนประมาณ 60 นาที ต่อสถานการณ์ปัญหา (3) การเรียนรู้ด้วยโมเดลการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน พบว่า การเรียนรู้เริ่มด้วยการอธิบายวิธีการใช้องค์ประกอบต่าง ๆ ของโมเดลฯ พร้อมทั้งสาธิตขั้นตอนการใช้ และให้ผู้เรียนเริ่มเรียนจากสถานการณ์ปัญหา (4) การร่วมกันสรุปความรู้ พบว่า การร่วมกันสรุปความรู้เป็นการสะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ดีมาก
2) ผลการศึกษาการคิดขั้นสูงของผู้เรียนที่เรียนด้วยโมเดลการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่
ส่งเสริมการสร้างความรู้และการคิดขั้นสูง พบว่า ผู้เรียนมีการคิดขั้นสูงตามกรอบแนวคิดของโลริน แอนดอร์สัน (Lorin Anderson) และเดวิด แครทโวทล์ (Devid Krathwohl) (2001) ที่มีการปรับปรุงมาจากทักษะการคิดของบลูม (Blooms Taxonomy Revised) ซึ่งประกอบด้วย วิเคราะห์ (Analyze) ประเมินค่า (Evaluating) และสร้างสรรค์ (Creating)
3) ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนด้วยโมเดลการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ที่
ส่งเสริมการสร้างความรู้และการคิดขั้นสูง พบว่า มีการออกแบบที่เหมาะสม ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการคิดขั้นสูง ทั้งในด้านเนื้อหาการเรียนรู้ ด้านสื่อ และด้านการออกแบบที่ส่งเสริมการคิด
ขั้นสูง
4) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยโมเดลการสร้างความรู้ที่
ส่งเสริมการคิดขั้นสูงสำหรับผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์
ร้อยละ 80
กิตติกรรมประกาศ
งานวิจัยฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความเมตตากรุณา และเอาใจใส่ให้คำปรึกษาจากรองศาสตราจารย์ ดร.สำเร็จ ยุรชัย อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้สละเวลาอันมีค่าในการให้ความรู้ ข้อคิด ข้อเสนอแนะ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในการทำวิจัยให้แก่ผู้วิจัย
ขอขอบพระคุณ ผศ.สิทธี วนิชาชีวะ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น ดร.ลักขณา เถาว์ทิพย์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นางสาวสมจิต หวังทรัพย์ทวี ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด และนางปิยรัตน์ เรืองวงศ์วิทยา ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนชุมชนบ้านบุ่งแก้ว จังหวัดอุดรธานี ที่ได้กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและข้อเสนอแนะอันมีประโยชน์อย่างยิ่งในการทำวิจัย
ขอขอบพระคุณคณาจารย์จากโรงเรียนบัวขาว ที่ให้ความช่วยเหลือส่งเสริม สนับสนุนและเป็นกำลังใจอย่างดีในการทำวิจัย
ขอกราบขอบพระคุณญาติ มิตรทุกท่านที่ให้การสนับสนุนในการทำวิจัยตลอดมา
คุณค่าและประโยชน์อันพึงมีของวิจัยนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นเครื่องบูชาแด่พระคุณบิดา พระคุณมารดา ผู้ให้กำเนิดและอบรมเลี้ยงดู และบูรพาจารย์ทุก ๆ ท่านที่ได้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้แก่ผู้วิจัยเสมอมา
รองรัตน์ วรสาร
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ค
สารบัญภาพ ฉ
บทที่ 1 บทนำ 1
1. ความสำคัญของปัญหาและที่มาของการวิจัย 1
2. คำถามการวิจัย 5
3. วัตถุประสงค์ 5
4. ขอบเขตของการวิจัย 5
5. นิยามศัพท์เฉพาะ 6
6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 7
บทที่ 2 วรรณกรรมและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 8
1. บริบทโรงเรียนบัวขาว
2. วิชาภาษาอังกฤษ 9
11
3. การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 14
4. ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษา 33
5. การคิดขั้นสูง 48
6. รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิด 51
7. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 63
8. กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี 69
9. กรอบแนวคิดการวิจัย 69
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 71
1. ระยะที่ 1 การพัฒนาโมเดล 71
2. ระยะที่ 2 การตรวจสอบความตรงของโมเดล 79
3. ระยะที่ 3 การใช้โมเดล 85
สารบัญ ( ต่อ )
หน้า
บทที่ 4 ผลการวิจัยและการอภิปรายผล 89
1. ผลการออกแบบและโมเดลการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
ที่ส่งเสริมการสร้างความรู้และการคิดขั้นสูง
89
2. ผลการศึกษาของการคิดขั้นสูงของนักเรียนที่เรียนด้วยโมเดลการเรียนรู้
โดยใช้สมองเป็นฐานที่ส่งเสริมการสร้างความรู้และการคิดขั้นสูง
103
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเมื่อเรียนด้วยโมเดลการเรียนรู้
โดยใช้สมองเป็นฐานที่ส่งเสริมการสร้างความรู้และการคิดขั้นสูง
104
4. ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนด้วยโมเดลการเรียนรู้
โดยใช้สมองเป็นฐานที่ส่งเสริมการสร้างความรู้และการคิดขั้นสูง
104
5. สรุป และอภิปรายผลการวิจัย 105
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ 108
1. วัตถุประสงค์การวิจัย 108
2. วิธีดำเนินการวิจัย 108
3. สรุปผลการวิจัย 120
4. ข้อเสนอแนะ 123
บรรณานุกรม 124
ภาคผนวก 130
ภาคผนวก ก ตัวอย่างโปรโตคอลการสัมภาษณ์ผู้เรียน 131
ภาคผนวก ข
- แบบประเมินโมเดลการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
สำหรับผู้เชี่ยวชาญ
- แบบประเมินโมเดลด้านเนื้อหา สำหรับผู้เชี่ยวชาญ
- แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 134
135
158
161
ภาคผนวก ค หนังสือราชการ 167
ภาคผนวก ง หลักฐานการเผยแพร่ผลงาน 173
ภาคผนวก จ ตัวอย่างผลงานนักเรียน 199
ประวัติผู้วิจัย 212
สารบัญภาพ
หน้า
ภาพที่ 1 แสดงลักษณะและส่วนประกอบของสมอง 3 ส่วน 15
ภาพที่ 2 แสดงลักษณะและส่วนประกอบของสมองที่เกี่ยวกับการคิดระดับสูง 17
ภาพที่ 3 แสดงการทำงานของสมองซีกซ้ายและขวา 18
ภาพที่ 4 แสดงส่วนประกอบของโครงสร้างของเส้นใยสมอง 19
ภาพที่ 5 แสดงการเจริญเติบโตของเส้นใยสมอง 20
ภาพที่ 6 แสดงกายภาพประมวลภาพของสมอง 22
ภาพที่ 7 แสดงแผนภาพของพหุปัญญาที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง 30
ภาพที่ 8 แสดงรูปแบบของแฟรคทัล (Fractal) ที่เกิดขึ้นในเครือข่ายเส้นใยสมอง 64