ชื่อเรื่อง การพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการคิดและความสามารถ
ด้านเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-Books)
ผู้ศึกษา นางศิริลักษณ์ ภักดีศรี
ปีที่ศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการคิดและความสามารถด้าน
เทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการคิดและความสามารถด้านเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) 2) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) และนำไปใช้พัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการคิดและความสามารถด้านเทคโนโลยี 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการคิดและความสามารถด้านเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) ดังนี้ 4.1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเรื่องบรรยากาศ 4.2) ศึกษาระดับความสามารถในการคิด 4.3) ศึกษาพฤติกรรมความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 4.4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 33 คน โรงเรียนชัยนาคำวิทยา อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ด้าน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-Books) สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 40 ข้อ แบบทดสอบย่อยประจำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-Books) จำนวน 8 ชุด แบบทดสอบวัดการคิด ชนิดเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ แบบบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-Books) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะกระบวนการคิด และทดสอบสมมติฐานใช้ t test (Dependent Sampling ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนทั้ง 5 ด้าน ด้านที่มีปัญหามากที่สุดคือความสามารถด้านเทคโนโลยี และรองลงมาคือด้านความสามารถในการคิด 2) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-Books) สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 86.28/83.44 3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่ประเมินประสิทธิผลสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการคิดและความสามารถด้านเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) ดังนี้ 4.1) ดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-Books) เรื่องบรรยากาศ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่วิเคราะห์จากคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเท่ากับ 0.6441 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้า ในการเรียน ร้อยละ 64.41 4.2) ดัชนีประสิทธิผลของความสามารถในการคิด มีค่าเท่ากับ 0.6535 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้า ในการเรียน ร้อยละ 65.35 4.3) นักเรียนมีพฤติกรรมและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ ในระดับมาก ร้อยละ 82.36 4.4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 86.60
โดยสรุป การจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) สามารถนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการคิดและความสามารถด้านเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นสมควรแนะนำให้ครูอาจารย์นำการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) ไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์ต่อไป
Developing Thinking and Technology Competencies of Mathayomsuksa 1 Students Using e-Books
Abstract
The present study aimed at developing thinking and technology competencies of Mathayomsuksa 1 students using e-books with the research objectives as follows: 1) to investigate baseline data regarding development of thinking and technology competencies of Mathayomsuksa 1 students using e-books, 2) to develop e-books on the science subjects for Mathayomsuksa 1 students with the efficiency level of 80/80, 3) to try out the e-books for development of thinking and technology competencies of students, and 4) to assess thinking and technology competencies of Mathayomsuksa 1 students using e-books, with the following secondary objectives: 4.1) to assess the students knowledge and understanding of the atmosphere, 4.2) to evaluate the students thinking competency, 4.3) to assess the students technology competency, and 4.4) to evaluate the students opinions toward learning through e-books.
The study sample consisted of 33 Mathayomsuksa 1 students at Chainakamwittaya School, Ban Dung District, Udornthani Province, under the Udornthani Provincial Administration Organization in the second semester of the academic year 2014. Cluster random sampling was employed to recruit the study sample. The instruments used in data collection included the problems with competencies of student questionnaire, eight e-books for the science subjects of Mathayomsuksa 1 students, the 40-item science achievement test, the eight quizzes for e-books, the 30-item multiple-choice thinking test, the students learning behavior record form, and the students satisfaction with e-books questionnaire. Data were analyzed by means of percentage, mean, standard deviation, effectiveness index of the thinking skill exercise, and dependent sampled t-test. The study findings were as follows: 1) as for the baseline data of five aspects of competencies of students, the aspect which was found to be most problematic was technology competency, followed by thinking competency; 2) the effectiveness of the science e-books for Mathayomsuksa 1 students was 86.28/83.44; 3) the students who studied the science subject with e-books had higher achievement scores with statistical significance at the 0.05 level; and 4) the evaluation of Mathayomsuksa 1 students thinking and technology competencies after studying the science subject with e-books yielded the following findings: 4.1) the effectiveness index of e-books of the atmosphere topic of Mathayomsuksa 1 students as analyzed from the achievement scores was equal to 0.6441, which indicated that the students learning progress was 64.41%; 4.2) the effectiveness index of the thinking competency was 0.6535, indicating that the students learning progress was equal to 65.35%; 4.3) 82.36% of the students had mean score of overall technology-related behavior and ability at a high level; and 4.4) 86.60% of the students had a high level of satisfaction with overall and each aspect of learning with e-books.
In summary, e-books could be effectively used to teach the science subject to Mathayomsuksa 1 students to promote their learning achievement as well as to develop their thinking and technology competencies. Therefore, teachers should be encouraged to use e-books to teach the science subjects to students in school.