ชื่อเรื่องการค้นคว้า การพัฒนาแบบฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างความสามารถการแก้โจทย์ปัญหา
เรื่อง การบวก ลบ คูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวณฤภร ปัญญาศรีเลิศ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลวัดไทรใต้ สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครสวรรค์
ปีการศึกษา 2558
............................................................
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นรายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างความสามารถการแก้
โจทย์ปัญหา เรื่อง การบวก ลบ คูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีจุดมุ่งหมายของการศึกษา 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างความสามารถการแก้โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้แบบฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างความสามารถการแก้โจทย์ปัญหา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลวัดไทรใต้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลองสอน จำนวน 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย (1)แบบฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ (2) แผนการจัด
การเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.45 0.80 อำนาจจำแนกเท่ากับ 0.70 1.00 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 หลังสิ้นสุดการทดลอง
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างความสามารถการแก้
โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ผลปรากฏว่า แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อเสริมสร้างความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.11/85.22 สอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 1
2. ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลวัดไทรใต้ ปีการศึกษา 2558 เปรียบเทียบระหว่างก่อนเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างความสามารถการแก้โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กับหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างความสามารถการแก้โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบทดสอบวัดผลประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สร้างขึ้น จำนวน 30 ข้อ เปรียบเทียบโดยใช้ค่า t- test (Dependent Samples) ผลปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังใช้แบบฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับสมมติฐาน ข้อที่ 2
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาหลังจากใช้แบบฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดสร้างขึ้นมาโดยใช้แบบประเมินผลเพื่อสอบถามความพึงพอใจเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 15 ข้อ นำมาหาค่า (x̄ ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) สรุปได้ว่า ข้อคำถามทั้ง 15 รายการ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีระดับความพึงพอใจมาก 15 รายการ รวมเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก โดยเฉลี่ย (x̄ ) อยู่ที่ 4.32 และ (S.D) อยู่ที่ 0.72 สอดคล้องกับสมมติฐาน ข้อที่ 3