การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาวินัยนักเรียน
โรงเรียนโคกสะอาดวิทยา ตามความคิดเห็นของครู 5 ด้านคือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) ด้านผลกระทบ (Impact) 2) เพื่อศึกษา
ความคิดเห็นของ ครู และนักเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาวินัยของนักเรียนด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาวินัยนักเรียนของโรงเรียนโคกสะอาดวิทยา 3) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาวินัยนักเรียนโรงเรียน
โคกสะอาดวิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นประชากรทั้งหมด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ครูผู้สอน
จำนวน 17 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 โรงเรียนโคกสะอาดวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 196 คน รวมเป็น 213 คน ที่เป็นประชากรทั้งหมดโดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้
ได้แก่ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการศึกษา สรุป ได้ดังนี้
1. การประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาวินัยนักเรียนโรงเรียนโคกสะอาดวิทยา
ความคิดเห็นของครู 5 ด้าน พบว่า
1.1 ด้านบริบท (Context) หลักการ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการพัฒนาวินัยนักเรียน มีความเหมาะสมในระดับมาก
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) บุคลากรวัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณ มีความเพียงพออยู่ในระดับมาก
1.3 ด้านกระบวนการ (Process) กระบวนการดำเนินงาน การจัดกิจกรรม การพัฒนาบุคลากร และการติดตามประเมินผล มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก
1.4 ด้านผลผลิต (Product) ความคิดเห็นของครูต่อการพัฒนาวินัยของนักเรียนอยู่ในระดับมาก
1.5 ด้านผลกระทบ (Impact) ครูมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาวินัยของนักเรียนอยู่ในระดับมาก
2. ความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาวินัยของนักเรียนด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาวินัยนักเรียนของโรงเรียนโคกสะอาดวิทยา 7 ด้าน พบว่า ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อโครงการพัฒนาวินัยนักเรียนโรงเรียนโนนสะอาดวิทยาโดยภาพรวม และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก
3. การนำเสนอแนวทางในการพัฒนาวินัยนักเรียนของโรงเรียนโคกสะอาดวิทยาของที่ประชุม
ฝ่ายบริหาร พบว่า การดำเนินการ ด้านกระบวนการยังอยู่ในระดับมาก แต่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่า ด้านอื่นๆ
ซึ่งเป็นผลที่ยังไม่น่าพอใจควรพัฒนาในด้านกระบวนการให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อศึกษา ในรายละเอียด พบว่า
ด้านกระบวนการในเรื่องของการวางแผนภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการดำเนินการของในภาพรวม
อยู่ในระดับมาก การติดตามและประเมินผลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก อยู่ในระดับมากและการนำผล
การประเมินมาใช้ปรับปรุงพัฒนาในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ดังนั้น จากผลการประเมินควรปรับปรุง
ในด้านของการวางแผนและการนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงพัฒนาในรายละเอียดของแต่ละด้านที่
ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากแต่ยังมี ส่วนที่ควรส่งเสริมและปรับปรุง คือ การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ในการพัฒนาวินัยอย่างถูกต้องเป็นปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ได้ตลอดเวลา การกำหนดกิจกรรมในโครงการได้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพของสถานศึกษาและบุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานโครงการ ควรมีคณะกรรมการจากทุกฝ่ายทุกหน่วยงานในการกำหนดกิจกรรม เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน และการร่วมมือกับทุกฝ่าย ส่วนในด้านการนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่องในการจัดทำโครงการครั้งต่อไปควรนำผลการประเมินโครงการเดิมมาใช้พิจารณาปัญหาและหาแนวทางแก้ไขในรูปคณะกรรมการ