บทคัดย่อ
วรัญญา สวัสดิ์แวงควง. ๒๕๕๙.การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านและแบบฝึกทักษะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
สถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด สังกัดกองการศึกษา
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ที่ปรึกษางานวิจัย : นายสมเกียรติ กาญจนหงษ์
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาพัฒนา เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเครื่องมือที่ใช้ศึกษาพัฒนา รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๓๐ คน ด้วยกระบวนการ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Action) การสังเกตผล (Observation)และการสะท้อนผลการปฏิบัติการ(Reflection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี ๓ ประเภท คือ ๑) หนังสือส่งเสริมการอ่านและแบบฝึกทักษะ ๒) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ๓) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล โดย ๑) การหาประสิทธิภาพของเครื่องมือที่
ใช้ในการศึกษาพัฒนา ๒) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการทดสอบก่อนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าดัชนีประสิทธิผล ๓) วัดความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน ๑๕ ข้อ
ด้วยการหาค่าเฉลี่ย (X) ค่าร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
ผลการวิจัย พบว่า
๑. ประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรม
๑.๑ หนังสือส่งเสริมการอ่านมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานกำหนด E๑/E๒
เท่ากับ ๗๕.๒๑/๘๐ เป็นไปตามเกณฑ์
๑.๒ แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานกำหนด E๑/E๒
เท่ากับ ๗๖/๘๐ เป็นไปตามเกณฑ์
๒. การหาค่าดัชนีประสิทธิผลนักเรียนมีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
คะแนนทดสอบก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๖๐.๗๒ การทดสอบหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๘๐
๓. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาพัฒนา ค่าเฉลี่ย ๔.๗๘
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๐๘ แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจในระดับ มาก
ดังนั้นจึงเห็นว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่เรียนโดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาพัฒนานั้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น แสดงว่าเครื่องมือสื่อนวัตกรรมที่สร้างและพัฒนาขึ้นใช้มีประสิทธิภาพ ความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน อยู่ในระดับ ดีมาก