บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบบูรณาการตามแนวพุทธ เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ในด้านความประพฤติของนักเรียน (กายภาวนา (Physical Development) และศีลภาวนา (Social Development) จิตใจของนักเรียน (จิตภาวนา (Emotional Development) และปัญญาของนักเรียน (ปัญญาภาวนา (Wisdom Development) และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบบูรณาการตามแนวพุทธ
กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) โรงเรียนโคกสะอาดวิทยา อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 21 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling Technique)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบบูรณาการตามแนวพุทธ 2) แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบบูรณาการตามแนวพุทธ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านกาย (กายภาวนา) 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะทางสังคม (ศีลภาวนา) 5) แบบสังเกตพฤติกรรม การเรียนรู้ด้านจิตใจ (จิตตภาวนา) 6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ปัญญาภาวนา) 7) แบบบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน 8) แบบบันทึกการจัดการเรียนรู้ของครู และ 9) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที ( t - test ) แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบบูรณาการตามแนวพุทธ ประกอบด้วย กระบวนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างศรัทธาและเสนอปัญหาข้อสงสัย 2) ขั้นสังเกต 3) ขั้นสัมผัส 4) ขั้นสำรวจ 5) ขั้นสืบค้น 6) ขั้นสั่งสมปัญญาและ ลงข้อสรุป และ 7) ขั้นประเมินผลและประยุกต์ใช้
2. ประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบบูรณาการตามแนวพุทธ โดยภาพรวมหมาะสมมากที่สุด ( = 4.71)
3. ผลการเรียนรู้ในด้านความประพฤติ [กายภาวนา (Physical Development) และ
ศีลภาวนา (Social Development)] พัฒนาด้านจิตใจ [จิตภาวนา (Emotional Development)] และพัฒนาด้านปัญญา [ ปัญญาภาวนา (Wisdom Development)] หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้
ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบบูรณาการตามแนวพุทธ โดยภาพรวม ทั้ง 3 ครั้ง พบว่า รายการประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับดี 2 เรื่อง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก 2 เรื่อง ส่วนครั้งที่ 3 นักเรียน
มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดี 3 เรื่อง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก 1 เรื่อง รายการประเมินความเหมาะสมของขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ โดยรวมครั้งที่ 1 นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับดี 3 เรื่อง อยู่ในระดับดีมาก 4 เรื่อง ครั้งที่ 2 อยู่ในระดับดี 2 เรื่อง อยู่ในระดับดีมาก 5 เรื่อง และครั้งที่ 3 อยู่ในระดับดี 1 เรื่อง อยู่ในระดับดีมาก 6 เรื่อง และรายการประเมินผลที่นักเรียนได้รับจากการเรียนรู้โดยรวม ทุกครั้ง นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมากเหมือนกัน