บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2)เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 32 คน การจัดนักเรียนเข้าสู่ห้องเรียนใช้วิธีคละความสามารถ ซึ่งผู้วิจัยได้มาด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 4 ชนิด ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ จำนวน 6 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่า E1/ E2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) และการทดสอบค่าที (t-test dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดฝึกทักษะโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 78.85/82.58 โดยมีผลการประเมินประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) เท่ากับ 78.85 และผลการประเมินประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 82.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 75/75 แสดงว่านวัตกรรมการเรียนการสอนที่จัดทำหรือพัฒนาขึ้นนั้น เมื่อนำไปใช้จริงจะเกิดประโยชน์สามารถแก้ปัญหา สามารถปรับปรุงพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิผล คุ้มค่า ตรงตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ต้องการ
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.5110 แสดงว่าการจัดการเรียนการสอนด้วย ชุดฝึกทักษะโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นี้สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 51.10
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีความคิดเห็นว่าการ จัดการเรียนการสอนด้วยชุดฝึกทักษะโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ได้ร่วมกิจกรรมกลุ่ม และร่วมเสนอผลงาน นักเรียนชอบทำกิจกรรมในแบบฝึกทักษะมากกว่ากิจกรรมในหนังสือแบบเรียนและมีการประเมินพฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียนตามสภาพจริง นักเรียนที่เรียนเก่งมีโอกาสช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนอ่อน นักเรียนมีความภาคภูมิใจในตนเอง หรือกลุ่มที่ช่วยกันทำงานตามที่ ได้รับมอบหมาย จนประสพผลสำเร็จ
สรุปว่าผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานที่กำหนดไว้ทุกประการ