บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่
คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนปากจ่าวิทยา ปีการศึกษา 2556 2557 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิตการดำเนินโครงการ โดยมีกลุ่มประชากรและกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 197 คน ปีการศึกษา 2557 จำนวน 193 คน ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2556 จำนวน 18 คน ปีการศึกษา 2557 จำนวน 18 คน ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 197 คน ปีการศึกษา 2557 จำนวน 193 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2556 และ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 9 คน ในการประเมินครั้งนี้ ผู้รายงานศึกษาจากประชากร ยกเว้น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยยกเว้น ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้แทนครู ได้กลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2556 และปีการศึกษา 2557 จำนวน 7 คน โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ และแบบบันทึกผลการประเมิน มาตรฐานคุณภาพผู้เรียน จำนวน 1 ฉบับ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) for Window Version 16 ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2556 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x̄ = 3.44, S.D. = .42) อยู่ในระดับปานกลางและปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x̄ = 3.92, S.D. = .23) อยู่ในระดับมาก ส่วนความคิดเห็นของครู ปีการศึกษา 2556 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.57, Sigma = .25) อยู่ในระดับมาก และปีการศึกษา 2557 โดยรวม
มีค่าเฉลี่ย (Mu = 4.31, Sigma = .13) อยู่ในระดับมาก กลุ่มผู้ประเมินทั้งสองกลุ่มมีความเห็นด้านสภาพแวดล้อมของโครงการโดยภาพรวม ในทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าตามความคิดเห็นของครู ปีการศึกษา 2556 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.41, Sigma = .49) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.88, Sigma = .38) อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมในทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน ปีการศึกษา 2556 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.29, Sigma = .42) อยู่ในระดับปานกลาง และปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.71, Sigma = .53) อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของครู ปีการศึกษา 2556 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.23, Sigma = .41) อยู่ในระดับปานกลาง และปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.94, Sigma = .21) อยู่ในระดับมาก ส่วนความคิดเห็นของผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2556 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.29, Sigma = .42) อยู่ในระดับปานกลาง และปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.72, Sigma = .53) อยู่ในระดับมาก กลุ่มผู้ประเมินทั้งสามกลุ่มมีความเห็นด้านกระบวนการดำเนินโครงการโดยภาพรวมในทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกเป็น
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตคุณภาพการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย ตามความคิดเห็นของนักเรียน ปีการศึกษา 2556 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.39, Sigma = .42) อยู่ในระดับปานกลาง และปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 4.13, Sigma = .40) อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของครู ปีการศึกษา 2556 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.30, Sigma = .38) อยู่ในระดับปานกลาง และปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 4.07, Sigma = .25) อยู่ในระดับมาก ส่วนความคิดเห็นของผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2556 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.38, Sigma = .43) อยู่ในระดับปานกลาง และปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 4.11, Sigma = .36) อยู่ในระดับมาก กลุ่มผู้ประเมินทั้งสามกลุ่มมีความเห็นด้านผลผลิตคุณภาพการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยภาพรวมในทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตการส่งเสริมการใช้แหล่ง เรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน/ท้องถิ่นของครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย ตามความคิดเห็นของนักเรียน ปีการศึกษา 2556 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.59, Sigma = .32) อยู่ในระดับมาก และปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 4.46, Sigma = .40) อยู่ในระดับมาก ส่วนความคิดเห็นของผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2556 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.56, Sigma = .36) อยู่ในระดับมาก และปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 4.48, Sigma = .44) อยู่ในระดับมาก กลุ่มผู้ประเมินทั้งสองกลุ่มมีความเห็นด้านผลผลิตการส่งเสริมการใช้แหล่ง เรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน/ท้องถิ่นของครูโดยภาพรวมในทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2556 โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 90.98 และปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 92.79 ผลการประเมินทั้ง 2 ปีการศึกษาอยู่ในระดับดีเยี่ยม ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ปีการศึกษา 2556 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.45, Sigma = .41) อยู่ในระดับปานกลาง และปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 4.25, Sigma = .39) อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของครู ปีการศึกษา 2556 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.59, Sigma = .34) อยู่ในระดับมาก และปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 4.26, Sigma = .34) อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2556 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 3.38, Sigma = .38) อยู่ในระดับปานกลาง และปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (Mu = 4.25, Sigma = .53) อยู่ในระดับมาก ส่วนความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2556 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x̄ = 3.56, S.D. = .17) อยู่ในระดับมาก และปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย
(x̄ = 4.30, S.D. = .31) อยู่ในระดับมาก กลุ่มผู้ประเมินทั้งสี่กลุ่มมีความความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการโดยภาพรวมในทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรชี้แจงทำความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง
2. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่นๆได้รับทราบและเผยแพร่ผลการดำเนินงานของโครงการให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินในครั้งต่อไป
1. โรงเรียนที่มีสภาพพื้นที่ สภาพปัญหา และความต้องการที่คล้ายคลึงกับโรงเรียนปากจ่าวิทยา สามารถนำแนวคิด แนวทาง ไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกๆส่วนของโครงการและกิจกรรม
2. ควรนำรูปแบบการประเมิน CIPP Model ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการอื่นๆของโรงเรียน เพื่อตรวจสอบขั้นตอนของกิจกรรมทุกขั้นตอน ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนแก้ปัญหาหรือพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน
3. ควรนำกระบวนการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน กำหนดเป็นแนวนโยบายหรือจุดเน้นที่สำคัญของโรงเรียน เพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างจริงจังในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้