ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน พิชนันท์ สุวรรณพงษ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนนครนนท์วิทยา 5 ทานสัมฤทธิ์
สำนักการศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
ปีที่พิมพ์ 2558
บทคัดย่อ
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการใช้แบบฝึกเป็นสื่อการเรียนหรือสื่อการเรียนการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ ที่ครูกำหนดขึ้นเพื่อใช้ทำหน้าที่ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเนื้อหา ประสบการณ์ แนวคิด ทักษะ และเจตคติระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน สำหรับให้นักเรียนฝึกปฏิบัติหรือเป็นผู้ใช้สื่อ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และทักษะจนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียนรู้ การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความ ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึก และ4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียน ทำการศึกษากับกลุ่มอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 5 ทานสัมฤทธิ์ สำนักการศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จำนวน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ จำนวน 6 ชุด ที่มีความเหมาะสมมาก ( ) 4.34 แผนการจัดการเรียนรู้แบบฝึกทักษะ จำนวน 14 แผน ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ( ) 4.76 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นปรนัยชนิดเลือกตอบแบบ 4 ตัวเลือก ที่มีค่าอำนาจจำแนก ( B ) ตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.77 จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น ( rcc) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 2.19-13.61 และความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการศึกษา ปรากฏผล ดังนี้
1. ประสิทธิภาพแบบฝึกการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.34/84.25
2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การอ่าน
จับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (E.I) เท่ากับ 0.7352 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 73.52
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นไปในทางบวกระดับมากที่สุด โดยในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด