ชื่อเรื่อง รายงานการใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน นางสาวอินเดีย ภู่ชัย
สถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด (กวีธรรมสาร) กองการศึกษา
เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย
ปีที่รายงาน 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด (กวีธรรมสาร ) เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ จำนวน 6 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 นิทานของหนูหนู
ชุดที่ 2 เชิดชูบุคคลสำคัญ ชุดที่ 3 แบ่งปันข่าวสารนานา ชุดที่ 4 ร่วมวงกันมาร้องเพลง ชุดที่ 5 ครื้นเครงกับบทร้อยกรอง และชุดที่ 6 ส่องดูบทความน่ารู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ
การเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ วิธีดำเนินการศึกษา คือ ทดสอบก่อนเรียน ดำเนินการสอนด้วยแบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ เมื่อดำเนินการสอนเสร็จทั้ง 6 ชุด ทำการทดสอบหลังเรียน และสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน และค่า t test ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.39/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะพัฒนา การคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก