ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นเพื่อ
พัฒนาทักษะการสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้ศึกษา นางอุทัยพร กาญจนาภรณ์
ปีการศึกษา 2556
โรงเรียน เทศบาลวัดมเหยงคณ์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นเพื่อพัฒนาทักษะการสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และความต้องการในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเรียนปนเล่น 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบเรียนปนเล่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3) เปรียบเทียบทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ ก่อนและหลังเรียนโดยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ จำนวน 42 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่น 2) แบบประเมินทักษะการอ่านสะกดคำ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าความตรงของเครื่องมือ โดยการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item-Objective Congruence Index: IOC) ค่าความยาก (p) ค่าอำนาจจำแนก ( r ) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยสูตร KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardsons KR-20) และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbachs Coefficient Alpha) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเรียนปนเล่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยสถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent
ผลการศึกษาพบว่า
1) ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และความต้องการในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยเรื่องการอ่านสะกดคำพบว่า นักเรียน ผู้ปกครองและผู้สอนมีความเห็นว่าปัญหาสำคัญที่สุดในการอ่านสะกดคำเป็นพื้นฐานในการเรียนภาษาไทยและวิชาอื่นๆ ต่อไป และพบว่าปัญหาที่สำคัญที่สุดคือเทคนิควิธีการสอน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชอบรูปแบบการสอนที่เรียนปนเล่น เพื่อให้เขาได้จดจำได้อย่างคงทนและสามารถนำไปใช้ในอนาคต
2) แผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นที่
สร้างขึ้น มีค่าดัชนี ความสอดคล้องในภาพรวมของแผนเฉลี่ย เท่ากับ 0.89 และสามารถพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนได้ โดยมีผลคะแนนเฉลี่ยของการประเมินทักษะการอ่านสะกดคำ เท่ากับ 14.90 คะแนน
3) ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05