การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ที่ผ่านมาในชั้นเรียนปกติทั่วไป ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากครูผู้สอนยังใช้กระบวนการสอนแบบเดิม ครูเป็นผู้อธิบาย ให้นักเรียนฟัง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มุ่งเน้นเนื้อหาและความจำ มากกว่าเน้นกระบวนการคิดและ การแก้ปัญหา ทำให้เกิดปัญหา ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การศึกษาครั้งนี้ จึงมีความมุ่งหมายเพื่อ
1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผล ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD 3) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาที่ 5 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จานวน 12 คน โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์นาอุดม สานักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ มีจานวน 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD จานวน 18 แผน ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด แบบทดสอบวัด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จานวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.79ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 และแบบวัดความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จานวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (rxy ) ตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.93 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 93.83/85.42 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีค่าเท่ากับ 0.6875 หรือคิดเป็นร้อยละ 68.75
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยรวมอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ซึ่งผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และ มีความก้าวหน้าในทางการเรียนเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถเป็นแนวทางในพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุดมุ่งหมายของจัดการเรียนรู้ต่อไป