ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางบุณยนุช บุญปัญญาวัฏ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น
ปีที่พิมพ์ 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (1) เพื่อเปรียบเทียบการอ่านเชิงวิเคราะห์ระหว่าง ก่อนเรียน-หลังเรียนการเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนภาษาไทยระหว่าง ก่อนเรียน-หลังเรียน การเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จำนวน 26 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ มี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 21 แผน 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ แบบวัดเจตคติต่อการเรียนภาษาไทยและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน ดำเนินการเก็บข้อมูลทุกขั้นตอนด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
ขั้นเตรียม ครูเตรียมเนื้อหาที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
นำเข้าสู่บทเรียน
ครูแจ้งวิธีการเรียนรู้ให้ทราบว่าจะเรียนรู้จากเนื้อหาประเภทไหน แล้วนำเข้าสู่บทเรียนเรื่องนั้นๆ ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสม เช่น เพลง เกม การสนทนา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเร้าความสนใจ
ขั้นสอน ซึ่งกระทำการสอนตามรูปแบบ มี 6 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การสำรวจ (Survey: S) เป็นขั้นที่นักเรียนอ่านในใจบทอ่านอย่างคร่าวๆเพื่อสำรวจหาจุดสำคัญของเรื่อง
ขั้นที่ 2 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย (Cooperation Learning : C) เป็นขั้นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดจากการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยการมีส่วนร่วมในการเล่น การทำงาน และการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นหรือจากการทำงานกลุ่ม
ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ (Analysis : A) เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสวิเคราะห์ความรู้สึก ประสบการณ์ของตนเองขณะที่เรียนว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน และเกิดความรู้สึกอย่างไร
ขั้นที่ 4 การแสดงความคิดเห็น (Reflect: R)เป็นขั้นที่นักเรียนสะท้อนหรือแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ วิจารณ์ ต่อบทอ่าน
ขั้นที่ 5 การสรุปและสร้างองค์ความรู้ (Constructivism : C) เป็นขั้นการทำให้ผู้เรียนสรุปสิ่งที่เรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง หรือที่เรียกว่าผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จะทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายสำหรับผู้เรียนมากกว่าการเรียนรู้ด้วยการท่องจำจากตำรา หรือทำแบบฝึกหัดแต่เพียงอย่างเดียว
ขั้นที่ 6 การประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง (Application : A) เป็นขั้นการที่ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้นั้นไปประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญญาหรือกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง
ขั้นสรุปและประเมินผล ให้นักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียนจากแผนที่ความคิดโดย
มีครูเป็นผู้ดูแล นักเรียนทำแบบฝึกท้ายแผนเสร็จแล้วร่วมกันเฉลย และมีการวัดผลและประเมินผลว่าผู้เรียนบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหรือไม่จากการทำแบบทดสอบ
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00- 4.80) และความคิดเห็นของครูต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลประเมินโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 2.70, S.D. = 0.47)
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า คะแนนเต็ม 40 คะแนน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 18.30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 45.75 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 31.90 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.75 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทำให้นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า คะแนนเต็ม 40 คะแนน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 18.85 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 47.12 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 34.19 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.48 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย
2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคะแนนเจตคติต่อการเรียนภาษาไทยระหว่าง ก่อนเรียน-หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเจตคติเฉลี่ยก่อนเรียน 3.50 คะแนน
คิดเป็นร้อยละ 69.96 คะแนนเจตคติเฉลี่ยหลังเรียน 4.10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.04 คะแนนเจตคติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย
3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.47