ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน
อาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้ศึกษา นางอัมพร เอียดวงศ์
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปี พ.ศ.2558
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทักษะ
ปฏิบัติงานประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 (2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ 3.1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนจากรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ 3.2) ศึกษาทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนจากรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติทางงานประดิษฐ์
3.3) ศึกษาความคงทนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนจากรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติทางงานประดิษฐ์ และ 3.4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ 2) แบบประเมินรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ 3) ชุดฝึกทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้เหรียญโปรยทานจากใบลาน 4) แบบประเมินชุดฝึกทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ 5) คู่มือการใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัติ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้เหรียญโปรยทานจากใบลาน 6) แบบประเมินคู่มือการใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัติ 7) แบบ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8) แบบวัดทักษะปฏิบัติ 9)แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ ในการดำเนินการวิจัยได้พัฒนารูปแบบขึ้นโดยผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ แล้วสร้างชุดฝึกทักษะปฏิบัติ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้เหรียญโปรยทานจากใบลาน ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นและนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-testdependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า (Input) 2) กระบวนการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติทางงานประดิษฐ์ (Process) 3) การควบคุม
(Control) 4) ผลผลิต (Output) 5) ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) โดยมี 13 องค์ประกอบย่อย คือ
1) กำหนดเป้าหมายในการเรียนการสอน 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การออกแบบเนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติ 4) กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน 5) การเตรียมความพร้อมด้านสภาพ แวดล้อมทางการเรียน 6) กำหนดบทบาทผู้สอน 7) การสร้างแรงจูงใจในการเรียน 8) การดำเนินการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ โดยใช้โมเดลพีซีเอเอ (PCAA Model) ประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ 8.1) ขั้นนำ (Presentation Phase) 8.2) ขั้นความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Phase) 8.3) ขั้นปฏิบัติ (Associative Phase) 8.4) ขั้นชำนาญ (Autonomous Phase) 9) กิจกรรมเสริมทักษะ 10) การตรวจสอบและควบคุมการเรียนของผู้เรียน 11) การตรวจสอบทักษะปฏิบัติระหว่างเรียน 12) ประเมินผลการเรียนการสอน และ 13) ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุง ซึ่งผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมาก
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ กลุ่มสาระการ
เรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 84.83/83.48 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
3. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีดังนี้
3.1 ผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนจากรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ กลุ่ม
สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนจากรูปแบบการเรียนการ
สอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับดี ( = 82.82)
3.3 ความคงทนของทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วย
รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์หลังการเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์เท่ากับ ร้อยละ 99.84
3.4 ความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์
อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.45 ) แสดงว่ารูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ สามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ 2 ได้เป็นอย่างดี