ชื่อเรื่อง การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน นางวันเพ็ญ เจริญหลาย
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความมุ่งหมายดังนี้ 1) พัฒนาหน่วย การเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ และ3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง การเขียน เชิงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 176 คน แยกเป็น 4 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลการสำรวจความต้องการและความคิดเห็นในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ จากโรงเรียนเมืองใหม่ (ชลอราษฎร์รังสฤษฏ์) จำนวน 104 คน ประกอบด้วย ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 53 คน ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 จำนวน 8 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 43 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง (2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 24 คน ประกอบด้วย ครูโรงเรียนเมืองใหม่ (ชลอราษฎร์รังสฤษฏ์) จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 5 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 11 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประเมินหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 5 คน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย ด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการใช้ภาษา ได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง และ (4) กลุ่มนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง ใช้หน่วยการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเมืองใหม่ (ชลอราษฎร์รังสฤษฏ์) จำนวน 43 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบสอบถามความต้องการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ (2) หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ (5) แบบประเมินหน่วยการเรียนรู้ และ (6) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า 1) หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ย่อย 5 หน่วย ใช้ประกอบกับแผนการจัดการเรียนรู้ 15 แผน ใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 19 ชั่วโมง ได้รับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า หน่วยการเรียนรู้มีค่าความสอดคล้องขององค์ประกอบของหน่วยทั้งฉบับ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.72, S.D.=.06) และหน่วยการเรียนรู้มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.74, S.D.=.08) ทุกด้าน 2) หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง การเขียน เชิงสร้างสรรค์ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.71/80.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (5) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมากที่สุด
จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้หน่วยการเรียนรู้มีการบูรณาการข้ามกลุ่มสาระ ตามแนวทางของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยปรับปรุงรายละเอียดของเนื้อหาได้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของผู้เรียน และความต้องการของท้องถิ่น เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ตลอดจนส่งเสริมทักษะ สมรรถนะสำคัญและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม